|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การบริหารจัดการขยะใน รพ.ชุมชน |
ผู้แต่ง : |
นางจิราภรณ์ พรหมวงษ์ซ้าย 3461300380838 |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรงพยาบาลห้วยผึ้งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ให้บริการประชาชนในเขตอำเภอห้วยผึ้ง ประชากร คนและอำเภอใกล้เคียงที่มารับบริการ มีผู้ป่วยนอกมารับบริการ เฉลี่ยวันละ150-200 คน ตึกผู้ป่วยใน มีเตียงสามารถรับผู้ป่วยได้ 30 เตียง รวมห้องพิเศษและห้องแยกโรคจำนวน 3 เตียง รับผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคติดต่อ และไม่ติดต่อเช่น โรคอุจาระร่วง โรคระบบกล้ามเนื้อ โรคระบบทางเดินหายใจ วัณโรค HIV ผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา และผู้ป่วยที่มีแผลติดเชื้อ ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เป็นต้น ทำให้มีขยะที่เกิดจากการให้บริการจำนวนมาก คณะกรรมการ IC ได้จัดระบบจัดการขยะมาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการคัดแยกประเภทขยะ การจัดหาถังขยะและถุงรองรับขยะ การให้ความรู้บุคลากรและญาติผู้ป่วยในการทิ้งขยะ แต่ยังพบปัญหาทิ้งขยะไม่ถูกที่ และการปฏิบัติที่หลากหลายของบุคลากรในการขนย้ายขยะ ที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ และได้รับอันตรายจากการเก็บขยะของบุคลากร ส่งผลให้เกิดความเสี่ยง,อุบัติการณ์ต่างๆ ทำให้โรงพยาบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะสูงเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วย ญาติ บุคลากร และอาจส่งผลต่อการกระจายเชื้อไปสู่ชุมชน ดังนั้น งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำ CQI เรื่องนี้ขึ้น |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
2. เพื่อให้บุคลาการและผู้รับบริการคัดแยกและทิ้งขยะได้ถูกต้อง
3. เพื่อให้ขยะทุกประเภทได้รับการกำจัดที่ถูกต้องและไม่เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย ผู้รับบริการบุคลากร สิ่งแวดล้อมและชุมชน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1. อัตราการคัดแยกขยะถูกต้องมากกว่า 80 %
2. บุคลากรขนย้ายขยะมีแนวปฏิบัติไปในทางเดียวกัน
3. ลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
ด้านบุคลากร
1. ชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลทราบถึงสถานการณ์และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา
2. อบรมเจ้าหน้าที่เรื่องการคัดแยกขยะและชี้แจงแนวทางปฏิบัติเรื่องคัดแยก การขนย้ายและกำจัด
3. จัดทำรายงานการทิ้งขยะผิดของหน่วยงานทุกเดือนและแจ้งให้หน่วยงานทราบเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
4. จัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้เหมาะสม เพียงพอ
ผู้รับบริการ
1. ประชาสัมพันธ์ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้รับบริการให้ทราบถึงประเภทของขยะ บริเวณจุดที่ทิ้งขยะ และการทิ้งขยะให้ถูกที่ ในตอนเช้าทุกวัน และ ในรายที่รับใหม่ทุกราย
2. ถ้าพบว่าทิ้งผิดให้เจ้าหน้าที่อธิบายทันที
ด้านวิธีการ
1. จัดทำแนวทางการคัดแยก การขนย้ายขยะที่ชัดเจนเป็น 4 ประเภทคือ ขยะติดเชื้อ ขยะทั่วไป ขยะอันตรายและขยะรีไซเคิล
2. ให้ประชาสัมพันธ์แก่ผู้รับบริการทราบเรื่องการทิ้งขยะให้ถูกที่ทุกวัน
3. ติดตามตรวจสอบการคัดแยกขยะทุกเดือนโดยผู้รับผิดชอบด้าน IC
ด้านอุปกรณ์ /สถานที่
1. ปรับปรุงป้ายบ่งชี้ที่ชัดเจน ทั้งรูปภาพและตัวหนังสือ ให้เจ้าหน้าที่และผู้รับบริการเข้าใจ
2. จัดหาบริเวณที่ทิ้งขยะและจุดพักขยะให้เหมาะสมโดยมีที่ทิ้ง ขยะติดเชื้อ,ขยะทั่วไป,ขยะอันตราย,ขยะรีไซเคิล,ที่ทิ้งเข็มเป็นต้น
3. จัดหาถังขยะให้เหมาะสมกับประเภทขยะ ขยะติดเชื้อ, ขยะทั่วไป, รีไซเคิล,ขยะอันตราย
,ที่ทิ้งเข็ม เป็นต้น
4. ปรับปรุงถังขยะภายในห้องผู้ป่วยทั่วไป และห้องแยกโรค แบ่งเป็นถังขยะทั่วไป ถังขยะติดเชื้อ ไว้ด้านหลังห้องผู้ป่วย ไม่ให้มีขยะติดเชื้อภายในห้องผู้ป่วย
5. แจกถุงแดงในรายที่ต้องทิ้งขยะติดเชื้อ แล้วนำมาทิ้งด้านหลังห้องผู้ป่วย
6. .จัดหาถังขยะและถุงรองรับขยะให้เหมาสม เพียงพอ
7. จัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้เหมาะสม เพียงพอ
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|