ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ทันตาบริบาล ผู้พิการฟันดี
ผู้แต่ง : นางสาว กมลชนก กนกหงษ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จากผลการดำเนินงานขึ้นทะเบียนคนพิการของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ. วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2557 พบมีผู้พิการทั่วประเทศ 1,505,088 คนหรือร้อยละ 2.2 ของประชากรไทย มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละกว่าแสนคน ประชากรกลุ่มนี้เป็นผู้มีความต้องการดูแลรักษาสุขภาพมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากการมีสุขภาพช่องปากไม่ดีจะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน พบว่า ในผู้พิการทางสติปัญญาการมีอนามัยในช่องปากที่ไม่ดีทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายและนำไปสู่โรคอื่นๆที่ร้ายแรง เช่น ปอดอักเสบ การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ฯลฯ ผลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งสำรวจทุก 2 ปีรายงานการใช้บริการสุขภาพช่องปากของประชาชนทั่วไปจากปี 2550 ถึงปี 2556 มีเพียงประมาณร้อยละ 9 ต่อปี ซึ่งการใช้บริการสุขภาพช่องปากของคนพิการยิ่งต่ำกว่า เนื่องจากมีปัญหาอุปสรรคหลายประการ แม้ว่าสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพช่องปากสำหรับคนพิการจะมีอยู่ในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้วก็ตาม การเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการที่ผ่านมายังไม่ได้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ การดำเนินงานเป็นไปในกลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวนไม่มากและไม่มีการสนับสนุนเชิงนโยบาย จึงมีการพัฒนาโครงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของคนพิการขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบแนวทางในการจัดบริการสุขภาพช่องปากให้คนพิการโดยมุ่งหาแนวทางการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพทั้งภายในและภายนอกหน่วยบริการสุขภาพ การสร้างเครือข่ายในการพัฒนางานสุขภาพช่องปากคนพิการที่สำคัญคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแกนนำในชุมชน พื้นที่ดำเนินงานในชุมชน โดยทีมงานร่วมกันออกแบบกระบวนการทำงานในพื้นที่ที่เหมาะสมกับบริบท ในส่วนการดำเนินงานในชุมชนมีขั้นตอนการดำเนินงานสำคัญประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการทีมสหวิชาชีพร่วมกันสำรวจประเมินความสามารถตามประเภทความพิการโดยนำเครื่องมือ ICF ขององค์การอนามัยโลก( International Classification of Functioning Disability and Health ) มาประยุกต์ใช้ ประเมินสภาวะทันตสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ วิเคราะห์ผลและคืนข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) แกนนำชุมชน เพื่อวางแผนการทำงานแก้ปัญหาร่วมกัน โดยชุมชนและท้องถิ่นเป็นหลักในการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของคนพิการ สถานพยาบาลออกแบบการจัดบริการสุขภาพช่องปากทั้งการส่งเสริมป้องกัน รักษาเร่งด่วนและฟื้นฟูในรายที่จำเป็นต้องรับบริการและสามารถพาไปรับบริการที่สถานพยาบาลได้ก็นัดหมายให้ไปรับบริการ  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานของผู้พิการในชุมชน รวมทั้งสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ ตั้งของ บ้านของผู้พิการอย่างครอบคลุม 2.เพื่อให้ผู้พิการได้รับการตรวจ รวมทั้งให้ผู้พิการ / ผู้ดูแลเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อฟัน 3.ผู้พิการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและต้องได้รับการรักษาทางทันตกรรม 4.เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้พิการใส่ใจสุขภาพช่องปากยิ่งขึ้น 5.เพื่อให้ผู้ดูแลผู้พิการสามารถดูแลสุขภาพผู้พิการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้พิการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนบัตรผู้พิการ ในพื้นที่ตำบลไผ่ จำนวน 140 คน  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)