ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรมของผู้ปกครองเพื่อป้องกันโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : สุกัญยา อัดโดดดร ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคฟันผุเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งในเด็กก่อนวัยเรียน จากการสำรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนยังคงมีปัญหาโรคฟันผุ ซึ่งการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนโดยให้ผู้ปกครองรับรู้ว่าเด็กก่อนวัยเรียนเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ เช่น การไม่แปรงฟัน การให้เด็กกินขนมหวาน ขนมกรุปกรอบ ลูกอม น้ำหวาน น้ำอัดลมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุและความรุนแรงของโรคฟันผุ เช่น ปวดฟัน สูญเสียฟันก่อนกำหนดการเรียงตัวของฟันแท้ ฟันซ้อนเก และการเคี้ยวอาหาร บุคลิกภาพ และการพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นต้น ดังนั้นโดยเฉพาะผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีบทบาทในการป้องกันผุตั้งแต่แรกเริ่มก็จะสามารถทำให้มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีและการสูญเสียฟันลดน้อยลงเป็นการป้องกันการเกิดโรคฟันผุและทำให้เด็กมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี ตั้งแต่ยังเยาว์วัย ซึ่งปัญหาการเน้นให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถพัฒนาพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุและการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนโดยเฉพาะพฤติกรรมการแปรงฟันและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร จึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคฟันผุของเด็กก่อนให้ดี จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 พบว่า เด็กอายุ 3 - 5 ปี มีความชุก ของฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 51.8 เด็กอายุ 3 ปี ค่าเฉลี่ย (dmft) ผุ ถอน อุด ร้อยละ 2.7 นอกจากนี้การสำรวจพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ ในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน พบว่า การแปรงฟันก่อนมาโรงเรียน ร้อยละ 94.5 แปรงฟันด้วยตนเอง ร้อยละ 52.4 ผู้ปกครองแปรงฟันให้ ร้อยละ 44.2 (กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, 2555) เด็กก่อนวัยเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลฆ้องชัยพัฒนามีฟันผุ ร้อยละ 50.0 ค่าเฉลี่ย ผุ อุดถอน 1.1 ซี่/คน เหงือกอักเสบ ร้อยละ 6.7 ผู้ปกครองพาเด็กมารับการรักษาทางทันตกรรม เมื่อมีอาการแล้ว ร้อยละ75.2 ผู้ปกครองแปรงฟันให้เด็กก่อนไปโรงเรียน ร้อยละ 80.7 และผู้ปกครองแปรงฟันให้เด็กก่อนนอน ร้อยละ 68.9 (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนเขวา, 2558) จากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองยังไม่เห็นความสำคัญในการป้องกันโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียนเท่าที่ควรซึ่งผู้ปกครองมีส่วนในการดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น การแปรงฟันให้กับเด็กหรือการควบคุมการแปรงฟัน การตรวจช่องปาก การไปรับการรักษาทางทันตกรรม การเลือกอาหารให้กับเด็กรวมไปถึงพฤติกรรมการดูพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก และผู้ปกครองสามารถปลูกฝังให้เด็กรักการแปรงฟันการแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งการพัฒนาพฤติกรรมของผู้ปกครองในการป้องกันฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนนั้นผู้ปกครอง ควรมีความรู้ในการป้องกันโรคฟันผุ การรับรู้ถึงความรุนแรง การรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคฟันผุรวมไปถึง การสร้างความคาดหวังในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ผู้วิจัยได้นำทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมผู้ปกครองเพื่อป้องกันโรคฟันผุเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรมของผู้ปกครองเพื่อป้องกันโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์  
วัตถุประสงค์ : 3.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรมของผู้ปกครองเพื่อป้องกันโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 3.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ 3.2.1 เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ ภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง ดังต่อไปนี้ 1. ความรู้เรื่องโรคฟันผุ 2. การรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดโรคฟันผุ 3. การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ 4. การรับรู้ความสามารถของผู้ปกครองในป้องกันโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน 5. ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองของผู้ปกครองในการป้องกันโรค ฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน 6. การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคฟันผุ 7. ปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์  
กลุ่มเป้าหมาย : ศึกษาในผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : กิจกรรม/การดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 “รู้ทันป้องกันโรคฟันผุ” ให้ความรู้โรคฟันผุ โดยการฉายวีดีทัศน์และสไลด์ประกอบการบรรยาย แผ่นภาพโปสเตอร์ แผ่นพับความรู้โรคฟันผุ กิจกรรมที่ 2 “ฟันผุเรื่องเล็กๆไม่ควรมองข้าม” การสร้างการรับรู้ความรุนแรงต่อการเป็นโรคฟันผุ โดยการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคฟันผุ สไลด์การแสดงภาพตัวอย่างความรุนแรงของการเกิดโรคฟันผุประกอบการบรรยาย แจกแผ่นพับเรื่องโรคฟันผุน่ากลัวอย่างไร กิจกรรมที่ 3 “ฟันผุน่ากลัวอย่างไร” สร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยงเกิดโรคฟันผุ โดยการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฟันผุในเด็ก การฉายวีดีทัศน์ประกอบการบรรยาย สไลด์ประกอบการบรรยายเรื่องโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ แจกแผ่นพับอาหารที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ กิจกรรมที่ 4 “ฟันผุป้องกันได้ด้วยมือเรา”โดยการจัดกิจกรรม ดังนี้ สร้างการรับรู้ความสามารถของผู้ปกครองในป้องกันโรคฟันผุ ประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการสาธิตการแปรงฟันโดยใช้โมเดลฟัน ฝึกปฏิบัติการแปรงฟัน การตรวจฟันเบื้องต้นโดยผู้ปกครอง กิจกรรมที่ 5 “ฟันสวยด้วยมือแม่” สร้างความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองของผู้ปกครองในการป้องกันโรคฟันผุ โดยการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีของการแปรงฟัน ข้อดีของการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ สไลด์ประกอบการบรรยายการป้องกันไม่ให้เกิดโรคฟันผุ กิจกรรมที่ 6 “ฟ. ฟัน สะอาดจัง” การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคฟันผุ ประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสาธิตและการฝึกปฏิบัติในการแปรงฟันให้กับเด็กและฝึกปฏิบัติการตรวจแผ่นคราบจุลินทรีย์โดยให้ย้อมเม็ดสีฟัน สไลด์ประกอบบรรยายเรื่องอาหารที่ทำให้เกิดโรคฟันผุและการตรวจช่องปาก  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ