|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การรับรู้ความเป็นพิษของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ของผู้แปรรูปขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัว |
ผู้แต่ง : |
เมธาวี ดีรักษา, ดิลก แสงกั้ง |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ขยะอิเล็กทรอนิกส์คือขยะที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น จอมอนิเตอร์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ปัจจุบันการบริโภคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ประกอบด้วยสารพิษอันตรายหลายชนิด เมื่อถูกนำไปรีไซเคิล ฝังกลบหรือเผาทำลาย ซึ่งอาจทำให้สารพิษเหล่านี้รั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์โดยตรง สารพิษอันตรายที่พบมาก คือ โลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม โครเมียม แบริลเลียม พลวง และสารอื่นๆ ที่สามารถพบได้ เช่น สารหน่วงการติดไฟกลุ่มโบรมีน โพลีไวนิลคลอไรด์ โพลีคลอริเนตไบฟีนีล ไตรฟีนิลฟอสเฟต โนนิลฟีนอล และโพลีคลอริเนทเต็ดแนฟทาลีน นอกจากนี้ยังสามารถพบไดอ๊อกซินและฟิวแรน ซึ่งจะถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม เมื่อมีการเผาทำลาย ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัว มีการแปรรูปขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในรูปแบบของโรงงานและในครัวเรือนอยู่จำนวนมาก ประชาชนในพื้นที่ยังไม่ตระหนักและไม่ทราบถึงพิษของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีการเผาและการทำลายเศษซากวัสดุที่ไม่สามารถขายได้ที่ยังไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดมลพิษละสารพิษของโลหะหนักตกค้างในธรรมชาติ ทางผู้รับผิดชอบงานอนามัยสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวจึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะศึกษา การรับรู้ความเป็นพิษของขยะอิเล็กทรอนิกส์ของผู้แปรรูปขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัว |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาการรับรู้ความเป็นพิษของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ของผู้แปรรูปขยะอิเล็กโทรนิกส์ ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัว |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชากรผู้ที่ประกอบอาชีพแปรรูปขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัว ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การเก็บและรวบรวมข้อมูล
ผู้ศึกษาดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่ออนุญาตดำเนินการศึกษา
2. สร้างเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูล
3. นำเครื่องมือที่ใช้ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
4. ทดลองใช้เครื่องมือ (Try Out)
5. ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อคำถามให้เครื่องมือ
6. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
7. รวบรวมข้อมูลที่ได้นำมาตรวจสอบความถูกต้อง แล้วทำการบันทึกข้อมูล
8. ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|