|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามซี่ที่ 1 และการเกิดฟันผุ ที่ระยะเวลา 6, 18 และ30 เดือน ของเด็กนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนในเขตบริการโรงพยาบาลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560 |
ผู้แต่ง : |
วัชรากร เพิ่มขึ้น |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคฟันผุเป็นปัญหาในช่องปากสำคัญมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน โดยจากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 โดยกรมอนามัย ได้ทำการสำรวจกลุ่มเด็กวัยเรียนพบว่า มีความชุกของผู้ที่เป็นโรคฟันผุร้อยละ 52.3 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) เป็น 1.3 ซี่ต่อคน เหงือกอักเสบ ร้อยละ 50.3 ในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ที่เป็นโรคฟันผุร้อยละ 56.9 และมีค่าเฉลี่ยผุ ถอน อุด เท่ากับ 1.88 ซี่ต่อคน
การเคลือบหลุมร่องฟันมีผลในการป้องกันฟันผุ โดยเฉพาะการยับยั้งการลุกลามของฟันผุระยะเริ่มแรกเนื่องจากการเคลือบหลุมร่องฟันมีผลในการลดจำนวนแบคทีเรียในรอยผุ (Oong, Griffn, Kohn,Gooch & Caufeld, 2008) โดยป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียสัมผัสกับอาหารและน้ำทำให้แบคทีเรียตายและลดจำนวนลงจนหยุดการลุกลามของฟันผุได้ ประสิทธิผลในการป้องกันฟันผุของสารเคลือบหลุมร่องฟันแปรผันตามการยึดเกาะกับผิวฟัน ถ้ายังคงอยู่สมบูรณ์จะมีผลในการป้องกันฟันผุร้อยละ 100 (Ripa, 1993; National Institutes of Health, 1984) แต่ในขณะที่การป้องกันฟันผุของฟันที่มีการหลุดของสารเคลือบหลุมร่องฟันบางส่วนหรือหลุดหายไปทั้งหมดไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน บางการศึกษาพบว่าฟันที่มีการยึดอยู่ของสารเคลือบหลุมร่องฟันบางส่วนมีการเกิดฟันผุน้อยกว่าฟันที่มีการหลุดหมดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน (National Institutes of Health, 1984; Ismail & Gagnon, 1995)
โรงพยาบาลนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน โดยออกตรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียน และนัดนักเรียนชั้น ป. 1 ที่มีฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 ขึ้นเต็มซี่มารับการเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ โดยทันตบุคลากรที่โรงพยาบาลนาคู แต่ยังไม่มีการศึกษาประสิทธิผลของการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในโครงการดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามซี่ที่ 1 และการเกิดฟันผุ ที่ระยะเวลา 6, 18 และ30 เดือน เพื่อพัฒนาและหามาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการเคลือบหลุมร่องฟันต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษาการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามซี่ที่ 1 ของนักเรียนโรงของเด็กนักเรียนประถมศึกษา ที่ระยะเวลา 6, 18 และ30 เดือน
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามที่ 1 ของนักเรียนโรงของเด็กนักเรียนประถมศึกษากับการเกิดฟันผุ ที่ระยะเวลา 6, 18 และ30 เดือน
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
นักเรียนที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันโดยทันตบุคลากร |
|
เครื่องมือ : |
1. แบบบันทึกการตรวจช่องปาก ซึ่งปรับปรุงมาจากแบบรายงานการตรวจสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นการตรวจการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน ที่ฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 และสภาวะโรคฟันผุ
- แบบบันทึกการตรวจการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน
- แบบบันทึกการตรวจหาฟันผุ ใช้เกณฑ์ของ WHO Oral Health Survey
2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจช่องปาก เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ คือ Mouth mirror และ Explorer
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ผู้วิจัยทำหนังสือขออนุญาตในการทำวิจัยและเก็บข้อมูล พร้อมเอกสารชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัยไปยังผู้อำนวยการโรงเรียน
2. ขออนุญาตผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน เพื่อรับการตรวจช่องปาก
3. ตรวจช่องปากนักเรียนที่ได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครอง
4. นำข้อมูลมารวบรวมและ วิเคราะห์
5. สรุปผล เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนางาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|