|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของการประคบร้อนด้วยกระเป๋าสมุนไพรต่ออาการปวดในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม |
ผู้แต่ง : |
นางสาวกานต์ธิดา คำลือวงค์ ตำแหน่ง แพทย์แผนไทย สังกัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
"ผู้สูงอายุ" ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ได้ให้คำนิยามว่า "ผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป" (พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546, 2546) ปัจจุบันพบว่าประชากรกลุ่มผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมในผู้สูงอายุพบได้บ่อยมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมคิดเป็นร้อยละ 80-90 ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป ก่อให้เกิดอาการปวดเข่าขณะเคลื่อนไหว ข้อเข่าติดและพิสัยการเคลื่อนไหวข้อลดลงทำให้ส่งผลต่อการประกอบกิจวัตรประจำวัน การทำงาน รวมถึงสภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (วันทนียา วัชรีอุดมกาล และคณะ, 2557) และจากการสำรวจมาตรฐานสุขอนามัยผู้สูงอายุที่พึงประสงค์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพนในปีพ.ศ. 2559 พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในเกณฑ์มีโอกาสจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมคิดเป็นร้อยละ 40ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 10
โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่างและโครงสร้างทำให้การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ และอาจเสื่อมมากขึ้นตามลำดับสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม แบ่งเป็น 2 สาเหตุ คือ หนึ่งปฐมภูมิหรือไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนตามวัย สองทุติยภูมิคือเข่าเสื่อมที่มีสาเหตุมาก่อน เช่น มีการอักเสบของเข่า มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับข้อเข่า รวมถึงปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ อายุมากกว่า 40 ปี เพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย ภาวะอ้วน มีประวัติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับข้อเข่า หรือมีอาการอักเสบที่บริเวณข้อเข่ามาก่อน เช่น โรครูมาตอยด์ การติดเชื้อ หรือโรคเกาต์ พันธุกรรม พฤติกรรมที่ต้องงอเข่านานๆ เช่น นั่งยองๆ คุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ ออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกที่หัวเข่า เช่น การวิ่ง กระโดด ส่งผลให้แสดงอาการในระยะแรก ปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้นลงบันได นั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักร่วมกับมีอาการข้อฝืดขัดโดยเฉพาะหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน มีเสียงดังในข้อเวลาขยับ จนไปถึงอาการในระยะรุนแรง ระดับการปวดมากขึ้น อาจปวดกลางคืน คลำส่วนกระดูกงอกได้ มีอาการเสียวที่ลูกสะบ้าเวลางอเหยียดเข่า หรือมีอาการอักเสบข้อเข่าบวม แดง ร้อน หากเป็นมากๆ อาจทำให้ไม่สามารถงอหรือเหยียดสุดได้ มีข้อเข่าผิดรูป เช่น เข่าโก่ง (ภีรฉัตร โตศิริพัฒนา, 2559) ในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมประกอบด้วยการรักษาทางยา การรักษาทางเวชสาสตร์ฟื้นฟู การสอนวิธีการป้องกันข้อ สอนวิธีการใช้ข้ออย่างถูกต้อง การผ่าตัด แนวทางการรักษาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การใช้ยาแผนปัจจุบันและกายภาพบำบัด แต่พบว่า การดูแลรักษาด้วยการใช้ยาแผนปัจจุบันแม้จะได้ผลดีในแง่ของการบรรเทาอาการปวดและอักเสบ แต่มักมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การติดยาแก้ปวด หรือเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาต้านการอักเสบ แสดงให้เห็นว่าการดูแลรักษาอาการที่เกิดขึ้นให้หายขาดแล้วยังก่อให้เกิดอาการข้างเคียงและภาวะแรกซ้อนต่อผู้ป่วย (พะยอม สุวรรณ, 2542) และการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนมากเป็นการดูแลที่บ้านเพราะเป็นภาวะเรื้อรังต้องอาศัยระยะเวลาในการบำบัดยาวนานต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลเมื่ออาการรุนแรงขึ้นหรือต้องการได้รับการผ่าตัด สะท้อนให้เห็นถึงภาระการใช้จ่ายที่มากกว่าปกติ ประกอบกับการบำบัดที่ได้รับในปัจจุบันยังทำให้อาการของโรคไม่หายขาด (สุรัติ เล็กอุทัย และคณะ, 2551) ส่วนในด้านการดูแลรักษาทางการแพทย์แผนไทยเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยดูแลตนเองขณะอยู่บ้าน อีกทั้งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและยังไม่นำสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีหลากหลายวิธี จากการศึกษางานวิจัยและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า มีการนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวด เพื่อทดแทนการใช้ยาแก้ปวด เช่น การรักษาด้วยวิธีการประคบสมุนไพร ซึ่งอาศัยฤทธิ์ของไพลเป็นหลัก ในการลดอาการบวมอักเสบและอาการปวดและเกลือในการดูดความร้อน นำพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังเข้าสู้ร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ และการรักษาด้วยวิธีการพอกยาสมุนไพรพอกเข่า สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่ามาพอกในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า เข่าไม่มีกำลัง ปวดเสียวขัดในข้อเข่า คลายกล้ามเนื้อ อาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม (กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข, 2552)และจากผลสำรวจที่กล่าวถึงในข้างต้นจะพบว่าอัตราส่วนของผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในเกณฑ์มีโอกาสจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นแล้ว อีกปัญหาหนึ่งคือ ผู้สูงอายุยังมีความรู้ในการดูแลรักษา ป้องกัน หรือฟื้นฟูกับโรคข้อเข่าเสื่อมไม่เพียงพอจนทำให้อาการของโรคถึงขั้นรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาทางแผนปัจจุบันอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาผลการประคบร้อนด้วยแผ่นสมุนไพรต่ออาการปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพึ่งพาตนเองในการดูแลสุขภาพ และมุ่งเน้นให้รู้จักการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาของผู้ป่วยต่อไป
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาผลของการประคบร้อนด้วยแผ่นประคบสมุนไพรพื้นบ้านต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมที่มารับบริการทางด้านการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพน ในระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 จำนวน 30 คน |
|
เครื่องมือ : |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi - experimental research) เกี่ยวกับการประคบร้อนด้วยแผ่นประคบสมุนไพรพื้นบ้านต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมที่มารับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองโพนในช่วง 1 ธันวาคม ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 สุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 36 คน โดยใช้สูตรทาโรยามาเน่แล้วแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม โดยใช้ Pain Scale ( เครื่องมือประเมินความรุนแรงของอาการปวด โดยการให้คะแนน ) ตามความเหมาะสม ได้แก่ FLACC, Face Rating Scale, Numeric Rating Scale ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่มีอาการปวดอยู่ในระดับ 1 – 3 คะแนน ปวดเล็กน้อยพอทนได้ , นอนเฉยๆ ไม่ปวด , ขยับแล้วปวดเล็กน้อย 2) กลุ่มที่มีอาการปวดอยู่ในระดับ 4 – 6 คะแนน คือ ปวดปานกลาง ,นอนเฉยๆก็ปวด,ขยับก็ปวด 3) กลุ่มที่มีอาการปวดอยู่ในระดับ 7 – 10 คะแนน คือ ปวดมากที่สุดจนทนไม่ได้แม้นอนนิ่งๆ โดยมีการคัดเกณฑ์ตามคุณสมบัติตามเกณฑ์ของกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ โรคประจำตัว ข้อเข่าที่มีอาการปวด การได้รับอุบัติเหตุของข้อเข่าในอดีต การแพ้ยาสมุนไพร แผลบริเวณข้อเข่า ส่วนที่ 2 แบบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 12 ข้อ ส่วนที่ 3 สมุดบันทึกผลการรักษาหลังจากประคบออกแบบโดยผู้วิจัย ในด้านการทำสมุนไพรในแผ่นประคบสมุนไพรพื้นบ้านประกอบด้วย ไพล 500 กรัม ขมิ้นชัน 100 กรัม โหระพา 100 กรัม ผิวมะกรูด 200 กรัม ขิง 100 กรัม เกลือ 60 กรัม การบูร 30 กรัม พิมเสน 30 กรัม นำไพล ขมิ้น มะกรูด โหระพา และขิงล้างน้ำให้สะอาดแล้วผึ่งให้แห้ง นำสมุนไพรมาหันเป็นแว่นบางๆ ยกเว้นมะกรูดหั่นเอาเฉพาะผิวมะกรูด แล้วนำไปตากในที่ร่มจนสมุนไพรแห้งสนิทสามารถหักแบ่งได้ เมื่อแห้งแล้วนำสมุนไพรไปชั่งตามอัตราส่วนที่กำหนด เสร็จแล้วนำสมุนไพรไปตำจนละเอียดนำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันนำสมุนไพรที่ผสมแล้วบรรจุใส่แผ่นประคบที่เตรียมไว้โดยแผ่นประคบทำจากผ้าฝ้ายที่ผ้าด้ายดิบที่เย็บประกบกันแล้วเย็บเป็นช่องไว้สำหรับใส่สมุนไพร จากนั้น นำแผ่นประคบสมุนไพรพื้นบ้านให้กลุ่มตัวอย่างมาประคบบริเวณหัวเข่าที่ปวดโดยประคบวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 15 นาที ทำการบันทึกผลลงในสมุดบันทึกผลการประคบร้อนด้วยแผ่นประคบสมุนไพรพื้นบ้าน ทุกวันเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นทำการเก็บข้อมูลโดยรวบรวมสมุดบันทึกผลการประคบร้อนด้วยแผ่นประคบสมุนไพรพื้นบ้าน ใช้ระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังการประคบร้อนด้วยแผ่นประคบสมุนไพรพื้นบ้านต่ออาการปวดเข่าในผู้สูงอายุเข่าเสื่อมหลังการรักษาทั้ง 3 กลุ่มนำมาวิเคราะห์ ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมใช้สถิติในการศึกษา ใช้สถิติในการศึกษา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมุติฐานโดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|