ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมาและไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีอายุ 30-60ปี ที่สมรสแล้ว: ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : รพ.สต.ห้วยโพธิ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : มะเร็งปากมดลูกจัดเป็นมะเร็งที่ร้ายแรงสำหรับสตรีจากสถิติโลกพบได้เป็นอันดับ ๒ รองจากมะเร็งเต้านม แต่สำหรับประเทศไทย พบสตรีเป็นมะเร็งชนิดนี้สูงเป็นอันดับ๑ ซึ่งในแต่ละปีพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่กว่า๖,๐๐๐ ราย และมีสตรีเสียชีวิตจากโรคนี้ถึง ๒,๖๐๐ รายต่อปี กล่าวได้ว่า ทุกๆวัน จะมีสตรีไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกถึง ๗ คน (มงคล เบญจาภิบาล , ๒๐๐๘)อัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถลดลงได้ หากสตรีมารับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ จากผลการศึกษาของ International research on cancer (IARC/WHO) พบว่าถ้าทำ Pap smear ๑ ครั้งทุกปี, ๑ ครั้งทุก ๒ ปีหรือ ๑ ครั้งทุก ๓ ปี จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ ๙๑-๙๓ ทำ Pap Smear ๑ ครั้งทุก ๕ ปี จะลดลงร้อยละ ๘๔ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , ๒๕๔๙) จากข้อมูลการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในเชิงปริมาณ (Output) และเชิงคุณภาพ (Outcome/Impact) ของสำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดมะเร็งปากมดลูก (papsmear) โดยมีผลงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่มีอายุ ๓๐-๖๐ ปี สะสม 5ปี ปี2558- 2562 ไม่น้อยกว่าร้อยละ80) เขตตรวจราชการส่วนใหญ่ มีผลการดำเนินงาน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่มีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ประจำปีงบประมาณ ๒๕60 ยังไม่ผ่าน ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมาและไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยวิธี Pap Smearในสตรีที่มีอายุ ๓๐-๖๐ ปีและสมรสแล้ว ที่อาศัยอยู่ในความรับผิดชอบของตำบลห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยโพธิ์ มีประชากรสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวน ……2,698…..คน ปี 2558-2559 ได้มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพียง …122……….. คนซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มอายุดังกล่าว เพราะความครอบคลุมนี้จะต้องมีสตรีมาตรวจคัดกรองจำนวน …2.159….คน จึงจะผ่านเกณฑ์ร้อยละ8๐ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยโพธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ , ๒๕๕9 ) เพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้ มาหาแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จในกลุ่มเป้าหมายและเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีต่อไป ผลที่ได้ยังสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในพื้นที่อื่นที่มีปัญหาคล้ายกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนางานด้านสาธารณสุขของพื้นที่ ในการลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมาและไม่มาตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก ของสตรีที่สมรสแล้วและอายุระหว่าง 30-60 ปี ตำบลห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยร่วม ปัจจัยความเชื่อส่วนบุคคล และสิ่งชักนำการกระทำสตรี ตำบลห้วยโพธิ์ที่มาและไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2.เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยร่วม ปัจจัยความเชื่อส่วนบุคคล และสิ่งชักนำการกระทำสตรี ตำบลห้วยโพธิ์ที่มาและไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 3.เพื่อค้นหาปัจจัยร่วม ปัจจัยความเชื่อส่วนบุคคล และสิ่งชักนำการกระทำสตรี ตำบลห้วยโพธิ์ ที่สามารถใช้จำแนกการมาและไม่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  
กลุ่มเป้าหมาย : สตรีที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี สมรสแล้วและอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ จำนวน 240 คน จำแนกเป็นกลุ่มที่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจำนวน 120 คน และกลุ่มที่ไม่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจำนวน 120 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบชันภูมิ (stratified random sampling)  
เครื่องมือ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descripetive research)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก ของสตรีตำบลห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ โดยทำการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน มีนาคม – พฤษภาคม 2560  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ