|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาความรู้ เจตคติเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองสตรีอายุ 30-70 ปีในพื้นที่ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยโพธิ์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคมะเร็งเต้านมเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและเป็นโรคที่ พบมากเป็นอันดับสองของสตรีไทย รองจากมะเร็งปากมดลูก มีอุบัติการณ์การเกิดโรค 40.8 ต่อแสนประชากร มีอัตราการตายสูงถึง 8.4 ต่อแสนประชากร สถิติสาธารณสุขล่าสุดของสำนักนโยบายยุทธศาสตร์พบว่า ในปี พ.ศ.2554 มีสตรีป่วยเป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 34,539 ราย เสียชีวิต 2,724 ราย เฉลี่ยวันละ 7 คน เพิ่มจากปี 2549 จำนวน 711 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้หญิงไทยที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมทั้งประเทศรวม 19 ล้านคน (ประดิษฐ์ สินธวณรงค์,2556) มะเร็งเต้านมในคนไทยที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป และจะพบมากขึ้นไปอีกเมื่อมีอายุมากกว่า 55 ปี (คู่มือมะเร็งเต้านม ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี,2547: 3) แม้ว่ามะเร็งเต้านมจะเป็นโรคที่ป้องกันการเกิดได้ยากเนื่องจากไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่นอน แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้และพยากรณ์โรคค่อนข้างดีถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาตั้งแต่ในระยะแรก การตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นที่นิยมในปัจจุบันมี 3 วิธีคือ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (breast self-examination : BSE) การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ที่ได้รับการฝึกอบรม (clinical breast examination : CBE) และการตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammogrampraphy :MM) แม้ว่าในปัจจุบันมีการศึกษาจากการวิเคราะห์เมตา อนาไลสีส (meta-analysis) พบว่าการตรวจเต้านมอย่างสมํ่าเสมอไม่มีผลต่อการลดอัตราตายจากโรคมะเร็งเต้านม แต่พบว่าสตรีที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองสมํ่าเสมอมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมในระยะลุกลามตํ่าลง ดังนั้นการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ยังคงเป็นวิธีการหนึ่งที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขและตำราเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมเกือบทุกเล่มแนะนำให้ใช้เป็นวิธีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น เพราะสะดวกและปลอดภัย ไม่เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้นจะเห็นว่าการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นพฤติกรรมที่สตรีอายุมากกว่า 30 ปีควรปฏิบัติเป็นประจำทุกเดือน โดยเฉพาะประเทศไทยที่ยังมีข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ ในการให้บริการตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม ในปัจจุบันถึงแม้จะมีการรณรงค์จากสื่อต่างๆ ให้สตรีตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าสตรียังมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมน้อยจะเห็นได้จากผลการศึกษาของพาทิสเทียและคณะ (Patistea et el. , 1992 : 415) ที่ศึกษาการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองในกลุ่มสตรีที่เป็นเจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพพบว่ามีการตรวจอย่างสมํ่าเสมอเพียงร้อยละ 22.8 เท่านั้น สอดคล้องกับศึกษาของดาริน โต๊ะกานิ (2552: บทคัดย่อ) ที่ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีที่มารับบริการในคลินิกวัยทองของโรงพยาบาลศูนย์ยะลา โรงพยาบาลปัตตานี และโรงพยาบาลนราธิวาส ราชนครินทร์ จำนวน 300 คนผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยทองโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นหากไม่มีการศึกษาเพื่อหาทางแก้ไข อาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้
ในพื้นที่ตำบลห้วยโพธิ์พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ปี2557 -2559 จำนวน 12 ราย เสียชีวิตจำนวน 7 รายปี2560 (มกราคม 2560 )พบรายใหม่ (ระยะ 3 )จำนวน 1 ราย และทั้ง 12 รายไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 9 ราย ตรวจเต้านมไม่สม่ำเสมอ จำนวน 3 ราย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยโพธิ์ เป็นหน่วยงานระดับปฐมภูมิที่ให้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค การฟื้นฟูสภาพตลอดจนการสนับสนุนบริการและวิชาการแก่ประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้ดำเนินการตามกลยุทธ์และกลวิธีดำเนินงานเพื่อให้สตรีไทยมีการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธีสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ผู้วิจัยในฐานะเป็นบุคลากรสาธารณสุขซึ่งปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนมีความสนใจที่จะศึกษาความรู้และการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี โดยจะทำการศึกษาในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษาความรู้และการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป
2. เพื่อศึกษาเจตคติในการตรวจมะเร็งเต้านมตนเองของสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ใช้สูตรตารางสำเร็จรูปของเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย ( 2535 : 155 )
ตารางที่ 1 ตารางสำเร็จรูปในการคำนวณขนาดและกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง ประชากร
ไม่เกิน 100 100%
100-1,000 25%
1,000-10,000 10%
>10,000 1%
จำนวนประชากรทั้งหมด 2,879 คน
คำนวณกลุ่มตัวอย่าง 10 % =288 คน
ใช้สูตรตารางสำเร็จรูปของเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย ( 2535 : 155 )
ตารางที่ 1 ตารางสำเร็จรูปในการคำนวณขนาดและกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง ประชากร
ไม่เกิน 100 100%
100-1,000 25%
1,000-10,000 10%
>10,000 1%
จำนวนประชากรทั้งหมด 2,879 คน
คำนวณกลุ่มตัวอย่าง 10 % =288 คน
|
|
เครื่องมือ : |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive Research) ผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวคิดโดยมีเนื้อหาที่ครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม เจตคติและพฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเองของสตรีเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ใช้ถามกลุ่มตัวอย่างเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|