|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : เสนอโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแนวทางการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานที่นอนโรงพยาบาลด้วยภาวะ Hypoglycemia ตึกผู้ป่วยชาย โรงพยาบาลสมเด็จ |
ผู้แต่ง : |
ศรีประไพ มานะวงศ์, ชื่นจิตร โชติช่วงนิรันดร์, จิรขจร จันทร์ศรีหา, พรนภา สารวิถี, สินีนาฎ สิงห์มหาไชย และคณะ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากสถิติ ปี พ.ศ.2557-2560 (มกราคม 2560) ของโรงพยาบาลสมเด็จ พบว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่มีผู้ป่วยมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกมากเป็นอันดับแรก พบว่าจากจำนวนประชากร 62,302 คน มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 2,687 คน และโรคเบาหวานจัดเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยมา Admitted มากเป็นลำดับที่ 2 ของตึกผู้ป่วยในชาย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการกลับมารักษาซ้ำด้วยภาวะ Hypoglycemia ภายใน 28 วัน ของโรคเบาหวานก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน ดังข้อมูลแสดงให้เห็นต่อไปนี้
ปริมาณ หน่วยนับ พ.ศ. 2557 พ.ศ.2558 พ.ศ.2559 พ.ศ.2560
จำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดที่มาAdmitted คน 366 488 478 145
โรคเบาหวานAdmitted ด้วย Hypoglycemia คน 30 41 46 18
อัตราการกลับมารักษาซ้ำ ภายใน 28 วัน
Hypoglycemia คน 15 30 6 0
จากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่า เกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี ทำให้ส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ การมีแผลเรื้อรังที่มือหรือเท้า ต้องรับการรักษาหรือต้องส่งต่อ จนมีผลทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยวะ ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่
1. การขาดความรู้ ความตระหนักในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมทั้งทางด้าน พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ภาวะแทรกซ้อนของโรค
2. มีการซ้ำซ้อนในการได้รับยา เช่น แพทย์ปรับยาแต่ผู้ป่วยมียาเดิมชนิดเดียวกันที่บ้าน ผู้ป่วยจึงรับประทานยาทั้งใหม่และเก่า ทำให้ได้รับยาเกินขนาด
3. มีความบกพร่องในการดูแลตนเอง เช่น ในผู้สูงอายุ
4. ขาดการดูแลด้านการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจและฐานะของผู้ป่วย
5. ขาดกำลังใจในการดูแลตนเอง เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง ท้อแท้
6. ขาดผู้ดูแล
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ได้นำมาวิเคราะห์การดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า การจัดทำแนวทางการวางแผนจำหน่ายยังไม่ครอบคลุมและชัดเจน ดังนั้นจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาคุณภาพแนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Hypoglycemia ในผู้ป่วย DM
2. เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้เกี่ยวกับโรค สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชายทุกรายที่มารับการรักษาที่ตึกผู้ป่วยชาย |
|
เครื่องมือ : |
CPG, แบบบันทึกการวางแผนจำหน่าย |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการใช้แนวทางปฏิบัติ
2. ปรับปรุงแบบฟอร์ม ในด้านการดูแลตนเองของผู้ป่วยจากปัญหาที่พบ และสอดคล้องกับ CPG
3. แพทย์กำหนดแนวทางการดูแลผู้ป่วย DM ที่มา Admitted ด้วยโรคอื่นโดยเจาะ DTX แรกรับและประเมินตามสภาพของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
4. ให้การดูแลผู้ป่วยตามหลักการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ ให้ครอบคลุม
- ร่วมกำหนดแบบฟอร์มเพื่อการประเมินความรู้และพฤติกรรม การรับประทานอาหาร การดูแลเท้ากับงาน OPD เพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ต่อเนื่อง
5. ประสานงานร่วมกับทีม Home health care ร่วมประเมินวางแผนในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และติดตามเยี่ยมบ้านภายใน 1 เดือน
6. มีการปรับปรุง CPG Hypoglycemia รพ.สมเด็จ
7. มีแบบประเมิน CPG ในการรักษา Hypoglycemia รพ.สมเด็จ
8. มี DM chart
9. มี Consult โภชนาการในรายที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ (ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมอาหาร
10. ประสานเภสัชกร สอน และ สาธิต การฉีดยาในรายที่ฉีดยาไม่ถูกต้อง
11. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรายที่ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น แพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด
12. จัดทำเอกสารแนะนำการปฏิบัติตัว
13. ส่งข้อมูลให้ รพ.สต.เยี่ยมบ้าน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|