|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลการเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยยา ๙ เม็ดที่ประยุกต์การแพทย์วิถีธรรมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
นายสุวิทย์ ทบแก้ว สัดส่วน ร้อยละ 50
นายธนบูลย์ คนหาญ สัดส่วน ร้อยละ 25
นางวิภาพร จำเริญควร สัดส่วน ร้อยละ 25
|
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากสถิติการคัดกรองประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโพน 3 ปี ย้อนหลัง ปี 2557,2558 และ 2559 พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานตามลำดับดังนี้ 138,139 และ 150 ราย และพบว่ากลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มป่วยเบาหวานรายใหม่ดังนี้ 5,6 และ 8 ราย ตามลำดับ ซึ่งจากข้อมูลพบว่าอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปีและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสันและเทคนิค 9 ข้อ(ยา ๙ เม็ด)ที่ประยุกต์การแพทย์วิถีธรรมของ หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน เพื่อศึกษา ผลการเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยยา ๙ เม็ดที่ประยุกต์การแพทย์วิถีธรรมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นการทดลองใช้รูปแบบเพื่อหาวิธีทำให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีการดูแลสุขภาพของตนเองที่ดีขึ้นและไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยยา ๙ เม็ดที่ประยุกต์การแพทย์วิถีธรรม
2. เพื่อศึกษาระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยยา ๙ เม็ดที่ประยุกต์การแพทย์วิถีธรรม
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในเขตพื้นที่ตำบลไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามคุณสมบัติที่กำหนดดังต่อไปนี้ คือ
1.เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการเจาะเลือดมีค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดอยู่ระหว่าง 100 - 125 มก./ดล.จำนวน 200 ราย จาการคัดกรองตามแบบคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปปีงบประมาณ 2560
2.มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เพศหญิงและเพศชาย อาศัยอยู่ในเขตตำบลไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ (เป็นอายุในวัยผู้ใหญ่พัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยต่างๆ มีภาวะการตัดสินใจ การปรับตัว และแก้ปัญหาชีวิตได้ดีด้วยตนเอง) (สมจิต หนุเจริญกุล,2540)
3.ไม่มีภาวะที่เป็นอุปสรรค์ต่อการเข้าร่วมการศึกษาวิจัยและการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน เช่น เป็นอัมพาต ถูกตัดแขน-ขา ความจำเสื่อมเป็นต้น
4.มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ถามตอบรู้เรื่อง ไม่มีปัญหาการได้ยิน การมองเห็น และการพูด สามารถสื่อสารได้ดี เข้าใจและสามารถพูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้
5.เป็นผู้ที่เต็มใจ และยินดีให้ความร่วมมือในการศึกษาครั้งนี้
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
กลุ่มเสี่ยงที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด > กลุ่มทดลอง 200 คน > ผู้วิจัยประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและตรวจค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
(Pretest) > ขั้นตอนที่ 1 กิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจที่ 1,2,3 สัปดาห์แรกใช้เวลา 8 ชั่วโมง > ขั้นตอนที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจที่ 4 สัปดาห์ที่ 6 ใช้เวลา 3 ชั่วโมง > ขั้นตอนที่ 3 กิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจที่ 4 สัปดาห์ที่12ใช้เวลา 3 ชั่วโมง > ผู้วิจัยประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและตรวจค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
(Postest)
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|