ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาผลของการดื่มชาเบญจมิ้นต่ออาการอาหารไม่ย่อย
ผู้แต่ง : นางสาววิภา ผ่องแผ้ว แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : Dyspepsia อาการที่พบบ่อยที่สุดในโรคระบบทางเดินอาหาร พบมากถึง 50 % ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการของระบบทางเดินอาหารในเวชปฏิบัติทั่วไป ประชากรประมาณ 25 % สามารถเกิดอาการ Dyspepsia ได้เป็นครั้งคราวในเวลา 1 ปี โดยอาการมักเป็น ๆ หาย ๆเรื้อรัง ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง หรือประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจไม่น้อยในแต่ละปี อาการ Dyspepsia เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งจากยา อาหารบางอย่าง โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคระบบอื่นๆ ของร่างกาย ประมาณ 40 % ของผู้ป่วย Dyspepsia สามารถตรวจพบสาเหตุของอาการ ( organic cause) ได้แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะหาสาเหตุของอาการไม่พบ ลักษณะอาการของ Dyspepsia ได้แก่ อาการปวดหรืออึดอัดไม่สบายท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือกลางท้องช่วงบนเหนือสะดือ หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ของทางเดินอาหารส่วนบน ได้แก่ แน่นท้อง อิ่มง่ายกว่าปกติ ท้องอืดท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แสบร้อนบริเวณใต้ลิ้นปี่ รพ.สต.หนองแวงใต้มีการสั่งจ่ายยารักษากลุ่มอาการ Dyspepsia เช่น Omeprazole เป็นต้น อย่างไรก็ตามยาดังกล่าวเป็นยาแผนปัจจุบันและผลการรักษาไม่ค่อยดีนัก ผู้ป่วยยังคงมารักษาด้วยอาการเดิมบ่อยๆ ซึ่งในแต่ละปี มีมูลค่าการสั่งจ่ายยาแผนปัจจุบันหลายแสนบาท เพื่อเป็นการลดการค่าใช้จ่ายยาในรพ.สต.หนองแวงใต้ และหาวิธีให้ผู้ป่วยได้รู้จักดูแลตัวเองด้วยสมุนไพรใกล้ตัว การใช้สมุนไพรที่มีประสิทธิผลในการรักษาอาการ Dyspepsia เพื่อขับลมในท้อง อันได้แก่ ชาเบญจมิ้นคือ สมุนไพรมิ้น 5 อย่าง คือ ตะไคร้ กระเพรา โหระพา สาระแหน่ ผักชีฝรั่ง โดยงานแพทย์แผนไทยรพ.สต.หนองแวงใต้ ได้จัดต้มชาเบญจมิ้นให้ผู้ป่วยคลินิกเรื้อรังที่มารับยาตามนัดในแต่ละเดือน ได้ดื่มขณะรอพบแพทย์ พบว่าหลังจากดื่มชาเบญจมิ้นแล้วทุกคนจะมีอาการเรอออกมา ทำให้ผู้ศึกษาวิจัยอยากทราบว่า จะสามารถนำชาเบญจมิ้นมาใช้เพื่อลดอาการ Dyspepsia ในงานเวชปฏิบัติได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาทางคลินิกเปรียบเทียบในการรักษาอาการ Dyspepsia ระหว่างชาเบญจมิ้น และยา Omeprazole ในการลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ผู้วิจัยต้องการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลการรักษา อาการ Dyspepsia โดยหวังผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่สนับสนุนการใช้สมุนไพรชาเบญจมิ้นให้ผู้ป่วยเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชาเบญจมิ้นเปรียบเทียบกับยา Omeprazole ในการรักษาผู้ป่วย uninvestigated dyspepsia โดยเปรียบเทียบผลต่างคะแนน Sevenrity Of Dyspepsia Assessment (SODA) ก่อนและหลังการรักษา 2. เพื่อเก็บข้อมูลผลข้างเคียงของชาเบญจมิ้นและยา Omeprazole  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกแน่นท้อง ในเขตรพ.สต.หนองแวงใต้ ต.ขมิ้น อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ สมัครใจเข้าร่วมโครงการ  
เครื่องมือ : 3.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.1 ยาที่ใช้ในการวิจัย คือ ชาเบญจมิ้น กับ ยา Omeprazole 3.2 แบบประเมิน Sevenrity Of Dyspepsia Assessment (SODA)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.เสนอโครงการวิจัยต่อคณะกรรมการพิจารณาศึกษาวิจัยในคน 2.การคัดเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.1 คัดเลือกอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ และคัดแยกอาสาสมัครออกจากโครงการ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2.2 ชี้แจงและขอความยินยอมจากอาสาสมัครในการเข้าร่วมการวิจัย 2.3 ตรวจร่างกายและซักประวัติ 2.4 สุ่มอาสาสมัครเข้ากลุ่ม 2.5 จ่ายชาเบญจมิ้นหรือยา Omeprazole 2.6 นัดติดตามผลเมื่อกินยาครบ 7 วัน และ 14 วัน 2.7 เก็บรวบรวมข้อมูล  
     
ผลการศึกษา : จากผลการดำเนินงานและประเมินความพึงพอใจพบว่า กลุ่มเสี่ยงปานกลางและกลุ่มเสี่ยงสูง ที่เข้าสู่ กิจกรรม พบว่าหลังการดำเนินการ จำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในระดับเสี่ยงปานกลางและระดับเสี่ยงสูงลดลง คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐ ซึ่งการใช้กิจกรรม “สมุนไพรแช่เท้าและดื่มชาสมุนไพรเบญจมิ้นลดอาการชาเท้าโรคเบาหวาน” ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาทางเท้ามีการไหลเวียนของเลือดส่วนปลายดีขึ้น ลดอาการปวด อาการชาปลายเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้เท้าสะอาด ลดการติดเชื้อ ดับกลิ่นเท้า รักษาแผล กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด คลายเส้น คลายกล้ามเนื้อและคลายเครียดจากกลิ่นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย ผู้ป่วยเบาหวานเกิดทักษะในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับเท้าผู้ป่วยเบาหวาน และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดูแลเท้าด้วยตนเองเพื่อไม่ให้เกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานต่อไป  
ข้อเสนอแนะ : ๑.ควรส่งเสริมให้เกิดความตระหนักถึงความสําคัญในการดูแลเท้าของตนเอง ๒.ควรมีกระบวนการแปรรูปสมุนไพรและการเก็บรักษาให้มีคุณภาพเท่าเทียมกับสมุนไพรสดที่ตัดใหม่ ๓.อยากให้มีการทํากิจกรรมต่อเนื่องตลอดทุกปี  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)