ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาเปรียบเทียบการใช้น้ำต้มสารสกัดเปลือกมังคุดผสมน้ำผึ้ง กับ เบตาดีน ในการรักษาแผลติดเชื้อ: กรณีศึกษาผู้มารับบริการล้างแผลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นางสาวจันธิมา นาบุดดา แพทย์แผนไทย ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) เป็นภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนชาวไทยจนกลายเป็นวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพที่หลากหลายมีการผสมผสานกับการแพทย์แบบอื่นและมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในการดูแลสุขภาพหลายมิติทั้งด้านกายจิตใจสังคมวัฒนธรรมและความเชื่อว่าสมุนไพรส่วนมากจะมีฤทธิ์อ่อนไม่ค่อยมีพิษหรือไม่เกิดฤทธิ์ข้างเคียงเฉียบพลันประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาสมุนไพรตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโดยกำหนดแนวทางในการพัฒนาสมุนไพรไว้ 3 แนวทางคือ 1) เพื่อใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน 2) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมและ 3) เพื่อส่งออกโดยเฉพาะการใช้น้ายาหรือครีมใส่แผลซึ่งสกัดจากพืชสมุนไพรเพื่อช่วยลดอันตรายจากการติดเชื้อและ/หรือช่วยส่งเสริมการหายของแผลในปัจจุบันการใช้น้ายาหรือครีมซึ่งสกัดจากพืชสมุนไพรกาลังได้รับความสนใจในวงการแพทย์มีผู้ทดลองใช้น้าผึ้งน้าเชื่อมเข้มข้น,ครีมใบบัวบก,ครีมเปลือกมังคุด,และวุ้นว่านหางจระเข้,พบว่าได้ผลดีในด้านการรักษา ในเปลือกมังคุดมีสารแซนโทนในปริมาณที่สูง โดยสารแซนโทนดังกล่าวมีสรรพคุณทางการแพทย์คือ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และสามารถสมานแผล รักษาเซลล์มะเร็งและฆ่าเชื้อก่อโรคทางเดินระบบหายใจร้ายแรง เช่น เชื้อวัณโรคชนิดดื้อยา เชื้อก่อโรคผิวหนังอักเสบ และสิว มีสมบัติในการฆ่าเชื้อไวรัส เช่น HIV H5N1 และอื่นๆ ในน้ำผึ้งก็มีสรรพคุณในการรักษาแผล ดังนั้นจึงน่าจะสามารถใช้ได้ดีในการรักษาแผลติดเชื้อ เทียบกับการใช้เบตาดีน ซึ่งมีสรรพคุณ ใช้ทาป้องกันและรักษาการติดเชื้อบริเวณผิวหนังเป็นยาใส่แผลที่ใช้ทาป้องกันและรักษาบาดแผลบริเวณผิวหนังที่มีใช้อย่างแพร่หลาย ด้วยเป็นยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด รวมไปถึงยังมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ (Yeast/เชื้อราที่เป็นเซลล์เดียว) ไวรัส เชื้อรา และ โปรโตซัว (Protozoa เชื้อโรคที่เป็นสัตว์เซลล์เดียว) ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเปรียบเทียบการใช้น้ำต้มสารสกัดเปลือกมังคุดผสมน้ำผึ้ง กับ เบตาดีน ในการรักษาแผลติดเชื้อ : กรณีศึกษาผู้มารับบริการล้างแผลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์  
วัตถุประสงค์ : 1 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้เปลือกมังคุดผสมน้ำผึ้ง กับ เบตาดีน ในการรักษาแผลติดเชื้อ 2 เพื่อลดมูลค่าในการใช้ยาแผนปัจจุบันลง 3 เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทย  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้มารับบริการล้างแผลที่มีการติดเชื้อ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20 คน  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 7.1 เลือกประชากรกลุ่มตัวอย่าง 7.2 บันทึกข้อมูลการล้างแผลผู้ป่วยแต่ละคน 7.3 แยกกลุ่มเป้าหมายออกเป็น2 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มที่ใช้น้ำต้มเปลือกมังคุดผสมน้ำผึ้ง 2 กลุ่มที่ใช้เบตาดีนบันทึกผลของการล้างแผลและบันทึกผลของการสังเกตทุกวัน 7.4 วิเคราะห์ข้อมูล  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ