ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การใช้ปูนแดงตากแห้งในการควบคุมลูกน้ำยุงลายในภาชนะโอ่งน้ำมังกรใน
ผู้แต่ง : รายชื่อผู้วิจัยหลัก 1.นางดลฤดี บุญสิทธิ์ นักวิชาการสาธารณสุขำนาญการ รพ.สต.เชียงเครือ 2.นายสุวรรณ ศรีสมชัย ผอ.รพ.สต.เชียงเครือ 3.นายสุทัศน์ กุไรรัตน์ ประธาน อสม.หมู่ที่ 4 ตำบลเชียงเครือ และ อสม.หมู่ 4 ทุกคน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี เช่นเดียวกับหลายประเทศในแถบเอเชีย โดยการระบาดขยายวงกว้างยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดแบบ 1 ปี เว้น 2 ปี หรือ 3 ปี และอนาคตมีแนวโน้มว่าน่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับเนื่องจากพื้นที่มีปัจจัยสนับสนุนให้เกิดยุงลายพาหะของโรคไข้เลือดออก อีกทั้งภาวะโลกร้อนส่งผลให้พาหะของโรคไข้เลือดออกมีการเจริญเติบโตเร็วขึ้น มาตรการป้องกันควบคุมไข้เลือดออกที่ผ่านมาส่วนใหญ่มุ่งกำจัดยุงตัวเต็มวัยและลูกน้ำด้วยสารเคมีกับการให้สุขศึกษาการรป้องกันตัวเองของประชาชน แต่ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้เสนอมาตรการกำจัดพาหะด้วยวิธีผสมผสาน ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงเครือ จะเสนอนวัตกรรมอีก 1 วีธีที่จะป้องกันยุงพาหะที่แพร่โรค โดยป้องกัน ยุงลายตัวเมียและลูกน้ำยุงลายก็จะตายเป็นการตัดวงจรชีวิตของงพาหะยุงลายซึ่งขี้เถ้าจากเตาถ่านไม้/ใช้ในการหุงต้มอาหาร ยังเป็นวัสดุที่ยังหาได้ง่ายในชุมชน  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อทดลองการหว่านขี้เถ้าจากถ่านไม้ที่ใช้หุงต้มอาหารลงในร่องน้ำหรือภาชนะที่มีน้ำขังจะ ลูกน้ำยุงลายตาย และยุงลายตัวเมียไม่สามารถวางไข่ได้เนื่องจากขี้เถ้ามีภาวะเป็นด่าง 2. เพื่อทดลองนำขี้เถ้าจากการเผาถ่านไม้/ในการหุงต้มอาหาร นำมาผสมกับน้ำเปล่า คนให้ทั่วพักทิ้งไว้ให้ตกตะกอน น้ำใสส่วนบนตักไปใส่ในภาชนะเก็บน้ำจะช่วยเพิ่มฤทธิ์น้ำเป็นด่างมากขึ้นลูก น้ำยุงลายตาย และยุงลายตัวเมียไม่สามารถวางไข่ได้  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ระเบียบวิธีวิจัย การทดลองครั้งที่1. ทำการทดลองโดยนำโหลใส่น้ำพร้อมลูกน้ำ 2 ใบ ใบที่ 1 ใส่ทรายเคมี(ทรายอะเบท) 1กรัม ผลปรากฏว่าลูกน้ำตายในเวลา 4 ชั่วโมง ใบที่ 2 ใส่ปูนแดงตากแห้งขนาดเท่ากัน ผลปรากฏว่าลูกน้ำตายในเวลา 6 ชั่วโมง สรุปคือปูนแดงใช้เวลานานกว่าและฆ่าได้เฉพาะตัวอ่อนเท่านั้นแต่ข้อดีของปูนแดงคือ ไม่เหม็น น้ำยังสามารถบริโภคได้ มีค่าความเป็นกรดและด่างได้มาตรฐาน ไม่ทำให้เกิดการแพ้ ผื่นคัน การทดลองครั้งที่ 2 1 นำปูนแดงตากแห้งนำมาปั้นเป็นก้อนลูกกลม ขนาดราวหัวแม่โป้ง ใส่ปูนแดงตากแห้งลงไปในโอ่งแล้วปูนแดงจะค่อยๆละลายอย่างช้าๆ และลอยตัวขึ้นฉาบผิวน้ำ ทำให้ลูกน้ำเจาะผ่านขึ้นไปหายใจไม่ได้ ขณะที่ตัวยุงลายก้อไม่สมารถวางไข่ลงในน้ำได้ 2.2 ใช้ปูนแดงตากแห้งลงในโอ่งใส่ครั้งละ 3-4 ก้อนหากโอ่งนั้นมีฝาปิด ก็ใส่ปูนแดงตากแห้ง เพียง 1-2 ก้อนเท่านั้น ปูนรุ่นหนึ่งมีอายุประมาณ 3 เดือน พอครบก็เปลี่ยนน้ำแล้วใส่ปูนรุ่นใหม่แทน  
     
ผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่าทำให้ลูกน้ำยุงลายลดลงค่า CI HI ลดลงจากเดิมซึ่งคุณสมบัติของปูนแดงตากแห้งเมื่อละลายในน้ำและลอยตัวขึ้นมาเป็นแผ่นฝ้าบนผิวน้ำ มีลักษณะคล้ายกับการใช้มะกรูดที่คลึงให้น้ำมันออกมาเคลือบเป็นแผ่นฝ้าบนผิวน้ำทำให้ยุงลายไม่สมารถวางไข่ในน้ำได้  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)