ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาภาวะสุขภาพและความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตร กรณีศึกษาหมู่บ้านโนนแดง หมู่ 2 ตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : จุฬาลักษณ์ บุญเสนาะ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าสารกำจัดแมลงเท่ากับ 34,672,000 กิโลกรัม ปริมาณนำเข้าสารกำจัดวัชพืชเท่ากับ 112,176,000 กิโลกรัม ปริมาณนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดเท่ากับ 164,383,000 กิโลกรัม จากการคำนวณค่าเฉลี่ยพบว่าคนไทย 64.1 ล้านคน มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 2.6 กิโลกรัมต่อคนต่อการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีและทั้งสารกำจัดแมลงและสารกำจัด (กรมวิชาการเกษตร ปี พ.ศ. 2554) และประเทศไทยมีประชากรกลุ่มแรงงาน ภาคเกษตรกรรม จำนวน 15.5 ล้านคน ถือว่าเป็นกำลังแรงงานที่มีสัดส่วนสูงที่สุดของประเทศที่สำคัญ คือ อันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถเกิดอาการแสดงเฉียบพลันตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชน และผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น การนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีและทั้งสารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช (สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2555) ผลกระทบจากใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีทั้งระยะเฉียบพลัน คือ แสบตา แสบมือ ตาพร่ามัว ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ท้องเสีย แน่นหน้าอก หายใจขัด ส่วนผลระยะยาว ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังเรื้อรัง อาจรุนแรงถึงขั้นเป็นหมันหรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์,2558) จากรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจสุขภาพเกษตรกร 74 จังหวัดกว่า 5.3 แสนคนพบกว่า 1.7 แสนคนเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากสารเคมีและในแต่ละปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นจังหวัดละ 250 คนประจำปี 2555 มีคนเสี่ยงป่วยต่อสารเคมี จำนวน 209,192 คน และจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ต้นทุนที่ต้องจ่ายในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อแลกกับการกินผักเปื้อนสารเคมี ทำให้สูญเงินไปกว่า 14.5 พันล้านบาท (กรมควบคุมโรค, 2558) กรณีศึกษาหมู่บ้านโนนแดง หมู่ที่ 2 ตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ จากการสัมภาษณ์และสอบถามจากผู้นำชุมชนและอสม. ในช่วงเดือนกันยายน 2559 ประชากร 75 หลังคาเรือน ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ส่วนมากปลูกอ้อย ทำนาข้าว ปลูกมันและปลูกผักตลอดทั้งปี จึงได้มีการนำสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาใช้ในการเกษตร โดยสำรวจข้อมูลจำนวน 44 หลังคาเรือน พบว่า มีเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช คิดเป็นร้อยละ 97.7 ใช้สารเคมีกำจัดสัตว์และแมลงศัตรูพืช ร้อยละ 60.5 ครัวเรือนที่ใช้ทั้งสารกำจัดวัชพืชและสารกำจัดสัตว์และแมลงศัตรูพืช ร้อยละ 53 มีอาการแพ้พิษสารเคมีหลังจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ อาการ เวียนศีรษะ คันและผื่นคันที่ผิวหนัง ปวดแสบร้อนผิวหนังตาแดง/แสบ-คันตาแสบจมูกเจ็บคอ/คอแห้งคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องกล้ามเนื้ออ่อนล้าและอาการมือสั่นและผลจากการตรวจระดับโคลีนเอสเทอเรส ส่วนใหญ่ได้รับการตรวจล่าสุดในปี 2559 ร้อยละ 71.8 และพบว่ามีผู้ที่มีผลการตรวจเลือดระดับมีความเสี่ยงร้อยละ 41.67 และระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 54.17 ระดับปลอดภัย ร้อยละ 4.17 จากเหตุผลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า เกษตรกรในหมู่บ้านโนนแดง หมู่ที่ 2 มีผลการตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัยถึงร้อยละ 54.17 ซึ่งสูงที่สุดจากการตรวจเลือดเพื่อตรวจคัดกรองสารเคมี ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สตบ้านโนนแดง ทั้ง 4 หมู่บ้าน และอาจมีแนวโน้มในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น แต่มีพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ระมัดระวังทำให้มีการเจ็บป่วยมากขึ้น คณะผู้ศึกษาได้เล็งเห็นปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมีเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงในชุมชน ส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดังนั้น เพื่อให้ได้รับทราบถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อสุขภาพอนามัยของเกษตรกรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับใช้ในการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่เกษตรกร ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถลดผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ จนทำให้เกษตรกรลด ละและเลิกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างยั่งยืนต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในหมู่บ้านโนนแดง หมู่ที่ 2 ตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้และการป้องกันตนเองจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรหมู่บ้านโนนแดง หมู่ที่ 2 ตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้และการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปัจจัยด้านการเพาะปลูก กับพฤติกรรมการใช้และการป้องกันตนเองจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรหมู่บ้านโนนแดง หมู่ที่ 2 ตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 4) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กับความเสี่ยง จากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรหมู่บ้านโนนแดง หมู่ที่ 2 ตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรที่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช อายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ชุมชนบ้านโนนแดง หมู่ที่ 2 ตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลักษณะประชากรของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์จำนวน 6 ข้อ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ข้อคำถามเป็นแบบเลือกตอบ ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยด้านการเพาะปลูกที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 9 ข้อ ได้แก่ จำนวนพื้นที่เพาะปลูก ประสบการณ์ในการเพาะปลูก ประสบการณ์ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการได้รับข่าวสาร การอบรมและความรู้เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 19 ข้อ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การอบรมเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ