ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความสุของค์กรเครือข่ายสุขภาพอำเภอสหัสขันธ์
ผู้แต่ง : นัยนา กล้าขยัน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โลกในยุคไร้พรมแดน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบไปในวงกว้างไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพแวดล้อม การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวองค์กรธุรกิจหรือแม้แต่องค์กรภาครัฐต้องเตรียมพร้อมเพื่อความอยู่รอด การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ การกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ในการบริหารงานล้วนเป็นปัจจัยสำหรับรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพสูง สามารถรับมือและแข่งขันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ เพราะ คน คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กรที่นำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ การบริหารจัดการองค์กรยุคใหม่นอกจากการให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและการบริหารความแตกต่างของบุคลากรภายในองค์กรแล้วยังมุ่งส่งเสริมและจัดการให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุขด้วย ดังนั้นการดำเนินงานใด ๆ ให้ประสบความสำเร็จนั้น ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ ทรัพยากรมนุษย์ ความสำเร็จของงานจึงต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของคนที่ทำงานนั้นด้วย ทั้งองค์กรและคนทำงานจึงต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน หากองค์กรสามารถพัฒนาส่งเสริมให้คนทำงานนำศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของแต่ละคนนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์กรได้ องค์กรนั้นก็จะไปสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป แต่การที่คนเราจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นคนจะต้องมีความสุขเสียก่อน จึงเกิดแนวคิดที่พยายามให้องค์กรสร้างความสุขให้แก่คนในองค์กร เมื่อคนทำงานในองค์กรมีความสุข ระดับความสุขของบุคลากรที่ทำงานในองค์กร จะเป็นปัจจัยและตัวแปรสำคัญที่จะผลักดันให้องค์กรนั้นๆ สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้หรือไม่ (พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ, 2560) และชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ (2554) ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะองค์กรรวม ภาคเอกชน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า แนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) มีแนวคิดหลัก 3 ประการ คือ 1) ทํา ให้คนทํางานมีความสุข 2) ที่ทํางานน่าอยู่ และ 3) ชุมชนสมานฉันท์ เครือข่ายสุขภาพอำเภอสหัสขันธ์ได้เล็งเห็นความสำคัญความสุขของบุคลากรซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญในการพัฒนาองค์กร และจะส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ดีขององค์กรจึงได้เห็นความสำคัญและมุ่งหวังที่จะทำการสำรวจความสุของค์กร (Happy Workplace Index) เพื่อจุดประกายแนวคิดและการขับเคลื่อนกิจกรรมสร้างเสริมความสุขกับบุคลากรในมิติต่าง ๆ ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อสำรวจความสุของค์กร (Happy Workplace Index) เครือข่ายสุขภาพสหัสขันธ์ 2. เพื่อนำผลการสำรวจความสุของค์กร (Happy Workplace Index) มาจัดกิจกรรมสร้างเสริมความสุขกับบุคลากร  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรที่ศึกษา เป็นบุคลากรเครือข่ายสุขภาพอำเภอสหัสขันธ์ทั้งสิ้น 184 คน  
เครื่องมือ : 1. แบบสำรวจความสุของค์กร (Happy Workplace Index) เครือข่ายสุขภาพสหัสขันธ์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : มีขั้นตอนการดำเนินการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทำเครื่องมือความสุของค์กร (Happy Workplace Index) 3. สำรวจความสุของค์กร (Happy Workplace Index) ในกลุ่มประชากร 4. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3. จัดทำเอกสารและสะท้อนผลการศึกษาเพื่อนำผลการสำรวจความสุของค์กร (Happy Workplace Index) มาจัดกิจกรรมสร้างเสริมความสุขกับบุคลากร  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ