ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยทีมีผลต่อความล่าช้าของการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Streptokinase) โรงพยาบาลสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ภคมน กั้วพิจิตร ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นปัญหาสําคัญ และเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงที่สุดของประเทศไทยการวินิจฉัยที่แน่นอนและรวดเร็วจะเป็นตัวชี้วัดถึงผลสําเร็จในการรักษาแล้วการรักษาที่สําคัญ และสามารถลดอัตราตายได้ชัดเจน คือ การทําให้เส้นเลือดหัวใจที่ตีบสามารถมีเลือดไหลเวียนได้(reperfusion therapy) ในเวลาสั้นที่สุด การใช้ ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase ( SK ) เป็นการช่วยลดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ( limit infarct size) ช่วยให้ประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจดีขึ้น ( improve Left Ventricular function) และลดอัตราตายในผู้ป่วยSTEMI ที่ได้รับการรักษาสามารถลดอัตราตายลง 20-50% ประโยชน์ของการรักษาที่ได้รับมากที่สุดคือ ภายใน1-3 ชั่วโมงของ onset ของchest pain โรงพยาบาลสหัสขันธ์ ไม่มีแพทย์เฉพาะทาง แต่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือด (Streptokinase) ได้ ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โดยเริ่มให้บริการในปีงบประมาณ 2558 และพบปัญหาว่าไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงปัจจัยทีมีผลต่อความล่าช้าของการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Streptokinase) ภายในเวลา 30 นาที เพื่อเป็นการพัฒนางานต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ผู้ป่วย STEMI ได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลา 30 นาที 2. เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อน  
กลุ่มเป้าหมาย :  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสถิติพรรณนา โดยทบทวนข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนและแบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดในโรงพยาบาลสหัสขันธ์ ในช่วงระยะเวลา เดือนตุลาคม 2558 – มิถุนายน 2560  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ