ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาการแก้ไขปัญหาบุหรี่ในชุมชน
ผู้แต่ง : อะพรรณี ธรรมะวงศ์,วุฒิศักดิ์ ภูน้ำเย็น ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ซึ่งในการสำรวจข้อมูลและรายงานผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) ประจำปี ๒๕๕๘ อำเภอหนองกุงศรี พบว่า จากการสำรวจประชากรจำนวน ๔๔,๑๑๘ คน มีประชาการที่สูบบุหรี่จำนวน ๓,๙๖๔ คน คิดเป็นอัตราร้อยละ ๙.๑๙ โดยแบ่งการสำรวจออกเป็นรายตำบลตามจำนวนประชากรที่มีการสูบบุหรี่จากมากไปหาน้อย ๑. ตำบลหนองสรวง ประชากรที่สำรวจจำนวน ๓,๗๖๙ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๖๗๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๘๓ ๒. ตำบลหนองบัว ประชากรที่สำรวจจำนวน ๕,๑๒๘ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๘๖๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๘๗ ๓. ตำบลหนองหิน ประชากรที่สำรวจจำนวน ๕,๕๐๔ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๙๐๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๕๒ ๔. ตำบลเสาเล้าประชากรที่สำรวจจำนวน ๔,๙๑๓ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๖๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๔๘ ๕. ตำบลดงมูล ประชากรที่สำรวจจำนวน ๔,๖๖๓ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๔๘๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๔๙ ๖. ตำบลโคกเครือ ประชากรที่สำรวจจำนวน ๖,๙๗๙ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๓๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๐๗ ๗. ตำบลหนองกุงศรี ประชากรที่สำรวจจำนวน ๗,๒๓๒ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๖๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๘๖ ๘. ตำบลหนองใหญ่ ประชากรที่สำรวจจำนวน ๔,๘๗๘ คน มีประชากรที่สูบบุหรี่ จำนวน ๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๐ ซึ่งโรงพยาบาลหนองกุงศรีได้มีการจัดตั้ง Easy Asthma Clinic เมื่อปี ๒๕๕๐ มีผู้มารับบริการและได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยหอบหืดทั้งหมด รวม ๕๔๘ คน ผู้ป่วยรายเก่า ๔๙๕ คน ผู้ป่วยรายใหม่ ๘๙ คน แบ่งเป็น ๑. หอบหืด ๔๑๗ คน รายเก่า ๓๔๔ คน รายใหม่ ๗๓ คน ๒.COPD ๑๓๑ คน รายเก่า ๑๑๕ คน รายใหม่ ๑๖ คน จำนวนผู้ป่วย หอบหืด ๓ ปี ย้อนหลัง ผู้ป่วย หอบหืด ปี ๒๕๕๖ ปี ๒๕๕๗ ปี ๒๕๕๘ ทั้งหมด ๒๘๕ ๓๔๔ ๔๑๗ รายใหม่ ๖๗ ๕๙ ๗๓ เสียชีวิต ๙ ๒๒ ๒๔ คงเหลือ ๒๖๗ ๓๒๒ ๓๙๓ ผู้ป่วยโรคถุงลม ฯ ปี 56 ปี 57 ปี 58 ผู้ป่วยทั้งหมด 101 105 131 ผู้ป่วยรายใหม่ 16 25 72 ผู้ป่วยเสียชีวิต 11 45 51 คงเหลือ 90 59 80 ดังนั้นคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอหนองกุงศรี (คปสอ.หนองกุงศรี) จึงได้เห็นความสำคัญในการจัดการแก้ไขปัญหาผู้ที่สูบบุหรี่ ให้มีการลด ละ เลิกบุหรี่ ให้มีบุคคลต้นแบบ ชุมชนต้นแบบในการปรับเปลี่ยนการลด ละ เลิกบุหรี่ โดยเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างกฎกติกาชุมชน เพื่อเกิดความยั่งยืนและต่อเนื่องในการทำงาน ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย  
วัตถุประสงค์ : ๑.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความตระหนัก ถึงพิษภัยของบุหรี่ ๒.เพื่อให้มีบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่ ๓.เพื่อรณรงค์สร้างกระแสให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่  
กลุ่มเป้าหมาย : ตำบลเสาเล้า จำนวน ๖ หมู่ และตำบลหนองหบัว จำนวน ๖ หมู่  
เครื่องมือ : ๑.แบบสอบถาม ๒.แบบสัมภาษณ์  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นที่ ๑ การพัฒนาศักยภาพชุมชน ๑. วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพที่เป็นปัญหา โดยใช้ฐานข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๘ ๒. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และวิเคราะห์ ๓. คืนข้อมูลจากการสำรวจให้ชุมชนเพื่อรับทราบปัญหา ๔. จัดตั้งคณะกรรมการชุมชนควบคุมยาสูบในชุมชน ๕. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการควบคุมยาสูบในชุมน ๖. ร่วมวางแผนกับกรรมการชุมชนในการจัดกิจกรรมควบคุมยาสูบ ๗. ประชุมทบทวนแนวทางการจัดทำแผนงานโครงการ - จัดทำแบบรายงานลด ละ เลิก บุหรี่ เพื่อการติดตามและประเมินผล ขั้นที่ ๒ การควบคุมยาสูบในชุมชน ๑. คัดเลือกหมู่บ้านดำเนินการจากการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ ๒. ประชาคมหมู่บ้าน ชี้แจ้งโครงการและกิจกรรมโครงการ รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการในระบบสมัครใจ - จัดเวทีประชาคมการควบคุมยาสูบในชุมชน - การแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการฯ ของผู้สูบบุหรี่ ๓. อบรม ปรับเปลี่ยนทัศนคติกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ลด ละ เลิก บุหรี่ - เชิญแกนนำ อสม. แกนนำผู้สูงอายุ บุคคลต้นแบบ และผู้ที่สูบบุหรี่เข้าร่วมอบรมด้วยกัน - จัดกิจกรรมปฏิญาณลด ละ เลิก บุหรี่ในกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการพร้อมทั้งฌาปนกิจบุหรี่ - แบ่งกลุ่มผู้สูบบุหรี่ ผู้ที่เลิกสูบ และกลุ่มแกนนำในหมู่บ้าน - ลงเชิงรุกทำกลุ่มเข้าหาคนสูบในหมู่บ้าน - ประเมินการรับรู้และการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ ก่อนและหลังการอบรม - มีมาตรการทางสังคมประกาศใช้อย่างชัดเจน ๔. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างกระแสในชุมชนและโรงเรียน เพื่อให้เกิดความตระหนึกถึงพิษภัยจากบุหรี่ - การประชาสัมพันธ์แนวกว้างในชุมชน เช่น คุ้มปลอดบุหรี่,เสียงตามสาย,ป้าย - การติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ในที่สาธารณะตามกฎหมายในชุมชน ๕. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกสูบบุหรี่ในผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม ขั้นที่ ๓ ติดตามและประเมินผล ๑. ติดตามประเมินผลผู้เข้าร่วมโครงการโดยแบ่งการติดตามออกเป็น ๒ แบบ ๑.๑ ติดตามโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. หรือ อสม. ทุกเดือนตามแบบรายงานที่สร้างขึ้น ๑.๒ ติดตามและเป็นผลโดยผู้รับผิดชอบโครงการทุกไตรมาส เพื่อประเมินความก้าวหน้าลด ละ เลิกบุหรี่ในกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ ๒. จัดเวทีเชิดชูและมอบใบประกาศให้กำลังใจผู้ที่มีความพยายามลด ละ เลิกบุหรี่ได้ ๓. สรุปบทเรียน ประเมินผลโครงการ และขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ