ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวาน หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : บัวรัตน์ ญาณสาร ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่ต้องการการดูแลและควบคุมให้อยู่ในภาวะปกติ เพื่อป้องกันและชะลอไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา การวางแผนจาหน่ายผู้ป่วยเบาหวานโดยการให้ความรู้และฝึกทักษะเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้โดยทีมสหสาขาจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ป้องกนการกลับเข้ารักษาตัวซ้ำและป้องกนภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลสหัสขันธ์ มีผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในตึกผู้ป่วยใน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ถึง เดือน กันยายน 2559 มีจํานวนทั้งสิ้น 195 ราย มีผู้ป่วยที่กลับเข้ามารักษาตัวซ้ำด้วยโรคเดิมภายใน 28 วัน จํานวน 15 ราย เมื่อพิจารณาจากสถิติแล้ว พบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ยังไม่สามารถควบคุมภาวะของโรคเบาหวานได้ทําให้ต้องกลับเข้ารักษาตัวซ้ำ และในกระบวนการวางแผนจำหน่าย พบปัญหาสําคัญของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยคือระยะเวลาในการเริ่มวางแผนจาหน่ายผู้ป่วยไม่มีรูปแบบชัดเจน บางคร้ังผู้ป่วยได้รับการวางแผนจำหน่ายในวันสุดท้ายของการรักษาทำใหํ ้ไม่สามารถเข้าใจวิธีปฏิบัติตนและไม่สามารถจดจำข้อแนะนำได้ทั้งหมด พยาบาลมีภาระงานมาก ไม่มีผู้ประสานงาน กับทีมสหสาขาวิชาชีพ ทําให้ทีมสหสาขาวิชาชีพไม่ทราบวามีผู้ป่วยเขามานอนรักษาตัว ตั้งแต่วันแรกทําใหการวางแผนจำหน่ายไม่มีประสิทธิภาพ ขั้นตอนการวางแผนจาหน่ายไม่มีการกำหนดรูปแบบที่ชัดเจน ขาดการประสานงานหลังการวางแผนจำหน่าย ถึงแม้ว่าทางทีมการพยาบาลจะได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานเป็นระยะแล้วก็ตาม ดังนั้น จึงทำใหํ ้ผู้วิจัยมีความสนใจในการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้มีรูปแบบที่ชัดเจนและง่ายต่อการปฏิบัติ เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลสหัสขันธ์ ซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติงานของพยาบาล เน้นที่การดูแลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความสามารถในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลได้  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจาหน่ายผู้ป่วยเบาหวาน หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสหัสขันธ์ 2. ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้วางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวาน หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสหัสขันธ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยเบาหวานที่รับไว้ในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสหัสขันธ์ ทุกราย ตั้งแต่ มีนาคม-มิถุนายน 2560  
เครื่องมือ : 1. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวาน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษานำร่อง  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1. พัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวาน 2. การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานที่พัฒนาขึ้น 3. การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานโดยพยาบาลประจำการและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 4. การศึกษานำร่อง (The pilot study) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวาน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ