|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านยาในผู้ป่วยที่ได้รับ warfarin โรงพยาบาลหนองกุงศรี |
ผู้แต่ง : |
เภสัชกรหญิงศรินยา กันซวง |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ยา warfarin เป็นยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) ที่จัดเป็นยาในกลุ่มยาเสี่ยงสูง (high alert drug) อาการข้างเคียงที่สำคัญ คือ ภาวะเลือดออก โดยมีปัจจัย หลายด้านมีผลต่อค่า INR เช่น drug interaction ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย การรับประทานอาหารเสริม การได้รับอาหารที่มีวิตามิน K การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เป็นต้น
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อให้โรงพยาบาลและสถานบริการระดับปฐมภูมิมีความรู้ ความเข้าใจระบบ Warfarin clinic
2. เพื่อให้ผู้ป่วยที่ใช้ยา Warfarin กินยาได้ถูกต้องและมีความปลอดภัยจากการใช้ยา
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับยาวาร์ฟาริน |
|
เครื่องมือ : |
1. หลังจากได้พัฒนาระบบบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยวาร์ฟาริน พบว่าผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจด้านยาและการปฏิบัติตัวรวมถึงอาการไม่พึงประสงค์จากยามากขึ้น
2. ลดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาวาร์ฟาริน
3. ลดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรง (major bleeding) น้อยกว่าร้อยละ 5
4. INR ที่อยู่ในช่วงเป้าหมาย มากกว่าร้อยละ 50
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมทีม จัดทำแผนและมีการสรุปงาน Warfarin clinic
2. ประชุมวิชาการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เจ้าหน้าที่ รพ. และ รพสต.
3. เภสัชกรให้การบริบาลผู้ป่วยเรื่องยา ในคลินิกวาร์ฟาริน 1 เดือนต่อครั้ง
4. จัดติด sticker ผู้ป่วยได้รับยา warfarin ใน OPD CARD ออกสมุดประจำตัว
ผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin และ ลงข้อมูล Pop up alert ในระบบ Hosxp ในผู้ป่วยทีมีการ
ใช้ยา warfarin
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ปีงบประมาณ ร้อยละ INR in target ร้อยละ major bleeding
2559 56.00 0.51
2560 (ถึง เมษายน) 40.97 0.00
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
หลังจากดำเนินการให้คำแนะนำปรึกษาคลินิกวาร์ฟาริน พบปัญหาจากการใช้ยาน้อยลง เภสัชกรให้คำปรึกษาเรื่องขนาดยาก่อนและหลังพบแพทย์ จึงป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาของแพทย์ ผู้ป่วยมีความรู้และตระหนักในการรับประทานยาและปฏิบัติตัวมากขึ้น พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงลดลง ในปีงบประมาณ 2560 พบว่า ร้อยละ INR in target ลดลง ส่วนมากผู้ป่วยมีค่า INR น้อยกว่า 2.0 เนื่องหลายปัจจัย เช่่น ผู้ป่วยมีโรคร่วมอย่างอื่นที่อาจมาส่งผลต่อค่า INR ร้อยละ INR in target 2-3 เท่ากับ 40.97 ซึ่งค่อนข้างน้อย แต่หากนำค่า INR คลาดเคลื่อนบวกลบ 0.2 (เฉลี่ย 15.76) มารวมจะได้ค่า ร้อยละ INR in target เท่ากับ 56.73 |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|