ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง
ผู้แต่ง : เทศบาลตำบลหนองกุงศรี ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ด้วยปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ประชาชน/เยาวชน ยังขาดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะจากต้นทาง ไม่ให้ความสำคัญในการการคัดแยกขยะมูลฝอยจากต้นทาง เทศบาลตำบลหนองกุงศรี มีงบประมาณไม่เพียงพอในการบริหารจัดการขยะ ขาดอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ มีพื้นที่บริหารจัดการขยะไม่เพียงพอ การเทกองเกิดปัญหาร้องเรียน เรื่องกลิ่นเหม็นและมีแมลงวันมากรบกวนจำนวนมาก ดังนั้น เทศบาลตำบลหนองกุงศรี จึงได้ดำเนินการโครงการเชิงรุกส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เนื่องจากบ่อขยะเทศบาลตำบลหนองกุงศรีมีขนาดพื้นจำกัดเพียง 5 ไร่ ซึ่งไม่เพียงพอในการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เกิดปัญหาขยะล้นบ่อ/กลิ่นเหม็น/แมลงวันรบกวนชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง ประชาชนส่วนมากยังคิดว่าเรื่องขยะเป็นหน้าที่ของเทศบาลแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ชุมชน สถานศึกษา อาคารหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลาดสด ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลหนองกุงศรี และเพื่อรณรงค์/ส่งเสริมสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน/เยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยจากต้นทาง โดยการคัดแยกและจัดการประเภทขยะมูลฝอย (ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป) ที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดภายในชุมชนของตนเอง ได้ และสามารถเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆ ภายในเขตพื้นที่อำเภอหนองกุงศรี  
วัตถุประสงค์ : 1 ให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยกับชุมชน/หมู่บ้าน ทั้ง 14 ชุมชน 2 ให้มีการคัดแยกและกระบวนการจัดการขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป เพื่อลด ปริมาณขยะในชุมชนเป้าหมาย 3 ให้มีชุมชน/กลุ่มเป้าหมายนำร่อง ในการคัดแยกขยะจากต้นทาง เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่ ชุมชนอื่นๆ ต่อไป 4 ให้ชุมชนต้นแบบสามารถลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดลงได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของปริมาณ ขยะที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มดำเนินโครงการ  
กลุ่มเป้าหมาย : ชุมชนสะอาดนาดี หมู่ที่ 5 และ 13 ตำบลหนองกุงศรี  
เครื่องมือ : 1.การทำ Focus group  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนการดำเนินงาน การดำเนินโครงการได้กำหนดแผนงานหลักและชื่อกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการประกอบด้วย 4 แผนงาน แผนงานที่ 1 การอบรมให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย แผนงานที่ 2 การคัดแยกขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป แผนงานที่ 3 การจัดการขยะแต่ละประเภท(เก็บรวบรวม บำบัด หรือกำจัด หรือนำไปใช้ประโยชน์) แผนงานที่ 4 การติดตาม ประเมินผล และถอดบทเรียน  
     
ผลการศึกษา : 1.ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการจัดการขยะและการคัดแยกขยะในครัวเรือน ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีคะแนนผ่านเกณฑ์การทดสอบ 2. ประชาชนในชุมชนมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนโดยแยกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป เพื่อลด ปริมาณขยะในชุมชนอย่างได้ผล โดยมีการรับซื้อขยะรีไซเคิล “ตลาดนัดขยะรีไซเคิล” ในชุมชนทุกวันที่ 15 ของเดือน และ ก่อตั้งเป็น กองทุนจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม(กองทุนคัดแยกขยะรีไซเคิล) - ครัวเรือนเป้าหมายในชุมชนมีการคัดแยกขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป ร้อยละ 80 ของครัวเรือนเป้าหมาย - ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดหลังจากดำเนินโครงการ ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มดำเนินโครงการ 3. ชุมชนบ้านสะอาดนาดีหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 13 สามารถเป็นต้นแบบในการเป็นชุมชนคัดแยกขยะจากต้นทางได้โดยมีชุมชนและหน่วยงานต่างเข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่และได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการจัดการขยะในชุมชน เช่นไปบรรยายที่เทศบาลตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์/สามารถเป็นชุมชนต้นแบบ/ศูนย์ถ่ายทอดความรู้ให้ชุมชน/ อปท.ในพื้นที่ใกล้เคียงเข้าศึกษาดูงานได้ 4. เกิดนวัตกรรมชุมชนเรื่องการทำปุ๋ยหมักจากขยะในชุมชน “โบกโบกวิเศษ” โดยการนำเศษอาหาร เศษผัก ใบไม้ในครัวเรือนมาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือน ผลประโยชน์ต่อประชาชนและชุมชน (1) ประชาชนมีความรู้ และทักษะ สามารถคัดแยกและจัดการขยะแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม (2) ช่วยลดปัญหาปริมาณขยะ ปัญหาไม่มีที่กำจัดขยะ และปัญหาเกี่ยวกับสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ (3) เกิดชุมชนต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดความรู้ และทักษะในการคัดแยกประเภทขยะสู่ชุมชน/อปท. ใกล้เคียงในพื้นที่อำเภอหนองกุงศรีได้ ผลประโยชน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (1) สภาพแวดล้อมในพื้นที่ชุมชนต้นแบบมีความสะอาดปราศจากขยะมูลฝอย (2) ลดการทำลายทรัพยากรดินในพื้นที่จากการกำจัดขยะด้วยวิธีการเผา (3) ลดการปนเปื้อนสิ่งสกปรกลงสู่ทรัพยากรน้ำในพื้นที่จากน้ำชะขยะที่ไม่ได้กำจัดอย่างเหมาะสม  
ข้อเสนอแนะ : ขับเคลื่อนโครงการต่อเนื่องไปยังชุมชนที่เหลืออีก จำนวน 11 ชุมชนโดยการจัดตั้งกองทุนจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ครบทั้ง 14 ชุมชน จัดตั้งธนาคารไส้เดือนเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ ทำปุ๋ยหมักขยะอินทรีย์จากบ่อซีเมนต์ทุกหลังคาเรือน เป็นสมาชิกกองทุนจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทุกครัวเรือน ทุกครัวเรือนสามารถคัดแยกขยะจากต้นทางก่อนนำไปกำจัดได้ทุกครัวเรือน โดยการคัดแยกและจัดการประเภทขยะมูลฝอย (ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ขยะทั่วไป) ที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดภายในครัวเรือนของตนเอง และสามารถเป็นชุมชนต้นแบบ/ศูนย์ถ่ายทอกความรู้ให้ อปท. ในพื้นที่ใกล้เคียงเข้าศึกษาดูงานได้  
     
รางวัลที่ได้รับ : เป็นชุมชนปลอดขยะที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ตามโครงการชุมชนปลอดขยะ ประจำปี 2560 ระดับ ระดับเขต  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ