|
|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาผลของการนำแนวคิดแพทย์วิถีธรรม (ยา 9 เม็ดหมอเขียว) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ตำบลโพนทอง ปี 2560 |
ผู้แต่ง : |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนทอง |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคทางระบบประสาทที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง จากการตีบตัน มีลิ่มเลือดมาอุดตัน หรือเกิดการแตกของหลอดเลือดสมอง ทำให้มีการคั่งของเลือดทำลายเนื้อสมอง(เพ็ญแข แดงสุวรรณ, 2550) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต และความพิการของประชากรทั่วโลก โดยในปี พ.ศ. 2547 โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายของประชากรโลก ร้อยละ 8.6 (WHO, 2004) และเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2551 (Grysiewicz RA, et al; 2008) ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของประชากรอายุมากกว่า 60 ปี และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 5 ของประชากรอายุ 15- 59 ปี (Ministry of Public Health, 2005) และยังเป็นสาเหตุหลักของการเกิดความพิการในระยะยาว โดยวัดจากการสูญเสียปีแห่งสุขภาวะ Disability-Adjusted Life-Year (DALYs) ถือเป็นสาเหตุที่พบบ่อยเป็นอันดับ 6 (Donnan GA, et al; 2008)
สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2546 พบอัตราตาย 29.1 และเพิ่มขึ้นเป็น 31.7 และ 36.13 ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2555 และ 2556 ซึ่งปัจจุบัน โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 รองจาก โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน (สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข, 2557) ข้อมูลระบาดวิทยา ปี พ.ศ. 2541 พบความชุกของโรคหลอดเลือดสมองในประชากรผู้สูงอายุ ประมาณ ร้อยละ 1.12 (อดุลย์ วิริยเวชกุล และคณะ, 1998) จึงประมาณว่าน่าจะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในปี พ.ศ. 2548 อย่างน้อย จำนวน 60,000 ราย ในประเทศไทย (NHSO, 2005) ปี พ.ศ. 2556 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประชากรไทย 237,039 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 366.81 ต่อแสนประชากร (สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2557)
การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองถือเป็นการควบคุมโรคทางสาธารณสุขที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง (Rundek T, et al; 2008 ) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ปรับหรือรักษาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และมีผลมากที่สุดในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร, 2553) เนื่องจาก บุคคลที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นอัมพาตแบะหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนปกติ 2-4 เท่า (กรมควบคุมโรค, 2547) การรักษาโรคความดันโลหิตสูงจะลดอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองได้ ร้อยละ 35-44 (Neal B, et al; 2000) นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากพฤติกรรมอื่นๆอีก เช่น โรคเบาหวาน ผู้ป่วยมักมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองร่วมด้วยหลายโรค ทั้งความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง การควบคุมโรคเบาหวาน และปัจจัยเสี่ยงร่วมดังกล่าว จะสามารถชะลอภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้ (Sander D & Kearney MT, 2009) ภาวะเลือดที่มีคลอเลสเตอรอลมากเกิน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง การลดระดับ LDL-C ให้ต่ำลง สามารถลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้ ร้อยละ 18 (Josan K, et al; 2008 และ Delahoy PJ, et al; 2009) และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ควรได้รับการดูแล เพื่อปรับลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ผู้ป่วยควรงดสูบบุหรี่ บำบัดรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดส่วนนอก ควรออกกำลังกายมากขึ้น (อย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน) ลดการบริโภคเกลือลง บริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้น ในรายที่มีน้ำหนักตัวเกินควรลดน้ำหนักตัวลงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร, 2553)
ตำบลโพนทอง มี10 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมด 6,329 คน การดำเนินชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ค่อนข้างเร่งรีบ การบริโภค เป็นอาหารสำเร็จรูปที่จำหน่ายตามท้องตลาดหรือตามร้านสะดวกซื้อ ที่สามารถซื้อและรับประทานได้ง่ายและสะดวก ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนทอง มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 169 คน โรคความดันโลหิตสูง 89 คน (JHCIS, 2559) ซึ่งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ถือได้ว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และปี 2559 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง มีจำนวนทั้งหมด 14 ราย พบมากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
แนวคิดแพทย์วิถีธรรม (ยา ๙ เม็ดหมอเขียว) เป็นการใช้แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้หลักความสมดุลของร่างการ ประกอบด้วย1)การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุลร้อนเย็น 2)การกัวซา 3) การดีท็อกซ์ 4) การแช่มือแช่เท้าหรือส่วนที่ไม่สบายในน้ำสมุนไพร 5)การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ เช็ด ด้วยสมุนไพร 6)การออกกำลังกาย กดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหาร ที่ถูกต้อง7)การรับประทานอาหารปรับสมดุล ตามภาวะร้อนเย็นของร่างกาย 8) ใช้ธรรมะ ละบาป บำเพ็ญบุญกุศล ทำจิตใจให้ผ่องใส คบมิตรดีสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี 9) การรู้พักรู้เพียร โดยมีการศึกษาวิจัยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายการแพทย์วิถีธรรม พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2558 จำนวนรวม 63,399 คน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 2,094 ราย ผลพบว่ามีสุขภาวะที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นประโยชน์ คือ หายจากโรคหรืออาการแสดง จำนวน 712 ราย ร้อยละ 30.74 มีการดีขึ้น จำนวน 1,382 ราย ร้อยละ 59.67 ซึ่งนับว่าผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลดีต่อสุขภาพกลุ่มเป้าหมายร้อยละร้อย ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาผลของการนำแนวคิดแพทย์วิถีธรรม (ยา ๙ เม็ดหมอเขียว) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ตำบลโพนทอง
|
|
วัตถุประสงค์ : |
1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของแนวคิดแพทย์วิถีธรรม (ยา ๙ เม็ดหมอเขียว) ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง
2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของของแนวคิดแพทย์วิถีธรรม (ยา ๙ เม็ดหมอเขียว) ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
|
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|
|