ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชน ตำบลเหนือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560
ผู้แต่ง : รพ.สต.ต้อน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ความสำคัญของปัญหา พฤติกรรมเสี่ยงของชุมชน เป็น พฤติกรรมทางสุขภาพใดๆของบุคคลในชุมชน ที่เมื่อปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ นำไปสู่การเจ็บป่วยของตนเอง ครอบครัว ตลอดจนบุคคลอื่นๆในชุมชนโดยรวม เมื่อวิเคราะห์ถึงความสำคัญของการประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของชุมชนจะพบว่า การประเมินในเรื่องดังกล่าว เป็นสิ่งที่ทำให้ทราบถึงสถานการณ์หรือระดับของความเสี่ยงในด้านพฤติกรรมสุขภาพอนามัยของชุมชน ช่วยทำให้รู้ถึงสาเหตุและปัจจัยการเกิดปัญหาสุขภาพ ว่าเกิดมาจากสาเหตุหรือปัจจัยใดบ้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการแก้ไขได้ตรงประเด็น และตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการร่วมมือกันของประชาชนในชุมชนเพื่อกำหนดนโยบายหรือการวางแผนทางด้านสุขภาพให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ชุมชนที่มีการประเมินพฤติกรรมเสี่ยงในชุมชนของตนเองอย่างสม่ำเสมอย่อมเป็นผลดีต่อสุขภาพอนามัยของชุมชนและบุคคลที่อยู่อาศัยในชุมชน เพราะหากเกิดปัญหาสุขภาพหรือพฤติกรรมเสี่ยงใด ๆขึ้นในชุมชน ก็จะได้หาวิธีการป้องกันและแก้ไขให้ปัญหาดังกล่าวบรรเทาบางลง หรือหมดสิ้นไปได้อย่างรวดเร็ว หรืออาจปรับเปลี่ยนแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงในชุมชนให้เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ต่อสุขภาพของชุมชนโดยส่วนรวม รวมทั้งดำรงรักษาไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดีของชุมชนให้คงอยู่ต่อไป การประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพของชุมชนมีประโยชน์ในการทำนายภาวะสุขภาพของชุมชน ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับปัญหาสุขภาพว่า พฤติกรรมสุขภาพหรือพฤติกรรมเสี่ยงใดบ้างที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยขึ้น เมื่อชุมชนรู้ถึงสาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวแล้วก็เป็นการง่ายต่อการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดวิธีการปรับเปลี่ยนความเสี่ยงที่เป็นปัญหาให้เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ต่อไป นอกจากนี้ การประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพยังทำให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักและรับรู้ถึงสถานการณ์ทางสุขภาพในปัจจุบัน นำมาซึ่งความร่วมมือกันในการดูแลสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมของบุคคล ถือเป็นความเสี่ยงที่จะส่งผลทำให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสามารถแบ่งชนิดของโรคและการเจ็บป่วยตามลักษณะของพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ ดังนี้ 1) โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่สำคัญ ได้แก่ โรคอ้วน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด การบริโภคที่ถือว่าเป็นพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม การเลือกบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด ปลอดภัย และมีความพอดีกับความต้องการของร่างกาย 2)โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม เช่น การไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ ซึ่งบุคคลที่มีพฤติกรรมขาดการออกกำลังกายก็จะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคความดันเลือดสูง โรคกระดูกพรุน หรือรวมทั้งโรคมะเร็ง 3) โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านสุขภาพจิต พฤติกรรมด้านสุขภาพจิต เป็นพฤติกรรมการสร้างอารมณ์และจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใสอยู่เสมอ รวมทั้งพฤติกรรมการสร้างสัมพันธภาพให้เกิดขึ้นในครอบครัว ซึ่งหากบุคคลและครอบครัวขาดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในเรื่องการจัดการกับอารมณ์และความเครียดที่เหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้เกิดโรคและความเจ็บป่วยทางจิตใจอันเนื่องมาจากความเครียดได้ เช่น การเกิดโรคซึมเศร้า โรคจิต โรคประสาท มีอาการวิตกกังวล ซึ่งบั่นทอนสุขภาพร่างกายให้เจ็บป่วยโดยง่าย 4) โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านสารเสพติด พฤติกรรมเสี่ยงด้านสารเสพติด ที่สำคัญ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุราและสิ่งมึนเมา การเสพสารเสพติด ซึ่งหากมีพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องดังกล่าวที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อการเกิดโรคและความเจ็บป่วย ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมโดยตรง เช่น บุคคลที่มีพฤติกรรมเสพสารเสพติดย่อมเจ็บป่วยง่าย ร่างกายทรุดโทรม เกิดความเครียดในครอบครัว หรืออาจสร้างปัญหาความรุนแรงในสังคม 5) โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัย พฤติกรรมด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย การมีพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัย ทั้งภายในบ้าน อุบัติเหตุจราจร ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายบาดเจ็บหรือทุพพลภาพได้ และ 6) โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อม ในครอบครัวและชุมชน ได้แก่ การจัดการเรื่องขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การจัดบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ร่มรื่นน่าอยู่อาศัย มีความปลอดภัย ถ้าบุคคลขาดการดูแลสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเองให้ถูกสุขลักษณะแล้ว ย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค และเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู ตำบลเหนือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เป็นอีกพื้นที่ที่ประชาชนประสบปัญหาด้านสุขภาพ มีอาการเจ็บป่วยที่ต้องเข้ารับบริการที่สถานบริการในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งป่วยด้วยโรคติดต่อ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ที่สำคัญและมีแนวโน้มเป็นปัญหามากขึ้นได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง และโรคที่เกิดจากความเครียด รวมทั้งอาการบาดเจ็บทุพพลภาพจากปัญหาอุบัติเหตุจราจรด้วย ดังนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพฤติกรรมทางด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการวางแผนการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของประชาชน โดยการร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงของพฤติกรรมสุขภาพและร่วมดำเนินการลดความเสี่ยงของพฤติกรรมดังกล่าวให้น้อยลง หากสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว คาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพรวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพของพี่น้องประชาชนตำบลเหนือให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ 2. เพื่อรับทราบข้อมูลและจัดทำแนวทางการพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ ได้แก่ ประชาชนตัวแทนครัวเรือน อายุระหว่าง15-59 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่อยู่ในพื้นที่ ในช่วงเวลาปี 2560 ครัวเรือนละ 1 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ร้อยละ 30 ของครัวเรือนในพื้นที่ จำนวน 510 คน  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)