ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปี ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : วันชัย เรืองวิชญกานต์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขององค์การอนามัยโลก ในกลุ่มตัวอย่างจำนวนกว่า 2,000 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 โลกโดยองค์การอนามัยโลก พบว่าประชากรไทยบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉลี่ยคนละ 6.13 ลิตรต่อปี เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และอันดับที่ 3 ของเอเชียรองจากญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นสาเหตุทำให้ประชากรโลกเสียชีวิตปีละ 2.5 ล้านคน เฉลี่ยนาทีละ 4.8 คน (WHO, 2554) สำหรับประเทศไทยมีการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน ปี 2554 โดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 53.9 ล้านคน บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึง 17 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 31.5 ภาคเหนือพบความชุกในการดื่มสูงสุด ร้อยละ 39.4 รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 37.2 (ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา, 2556) สำหรับสถานการณ์การดื่มสุราในจังหวัดกาฬสินธุ์โดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการสำรวจในพบว่า จังหวัดกาฬสินธุ์ มีอัตราความชุกของนักดื่มในประชากรวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 14.9 ความชุกของนักดื่มในประชากรอายุ 20-39 ปี ร้อยละ 42.2 ความชุกของนักดื่มในประชากรอายุ 40-59 ปี ร้อยละ 40.1 และความชุกของนักดื่มในประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 16.3 (ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา, 2556)และจากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2550 พบว่าสถานการณ์มีความสอคล้องกันกับการสำรวจในระดับประเทศกล่าวคือ ประชาชนที่มีอายุ 11 ปี ขึ้นไป มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 33.9 เพศชายมีอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่าหญิงร้อยละ 30.0 ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.1 มีระดับการศึกษาในประถมศึกษาและมีอาชีพเกษตรกรรม ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดื่มมากที่สุดคือ เบียร์ร้อยละ 33.6 รองลงมาคือ เหล้าขาว ร้อยละ 31.0 อายุที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสาเหตุที่ดื่ม พบว่า ส่วนใหญ่เริ่มดื่มเมื่ออายุ 16-20 ปี คิดเป็นร้อยละ 60.1 สาเหตุที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือกิจกรรมทางสังคม (สำนักงานสถิติจังหวัดกาฬสินธุ์, 2550) ในส่วนของสถานการณ์การดื่มสุราของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว พบว่าในการประชุมประชาคมหมู่บ้านของหมู่บ้านในพื้นที่มีการรายงานว่า ในปี 2557 ปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบในทุกมิติด้านสุขภาพ ทั้งปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคที่มีสุราเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องที่สะท้อนให้เห็นได้แก่อัตราการป่วยตายด้วยโรคมะเร็ง อัตราการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาอาชญากรรม แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงสถานการณ์การดื่ม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม ผู้วิจัยเห็นถึงความสำคัญของสถานการณ์ดังกล่าวซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ในการลดปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากการดื่มสุราในพื้นที่นอกจากนี้ยังเป็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาจังหวัดจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้แก่ ยุทธศาสตร์ กาฬสินธุ์ 3 ดี ที่ได้กำหนดให้การลดปัญหาจากการดื่มสุราเป็นกลวิธีหนึ่งในกลยุทธ์หลัก ที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงสนใจที่จะทำการศึกษาเรื่องสถานการณ์การและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวงัว ตำบล สงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ขึ้น เพื่อนำผลที่ได้ ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ไขปัญหา ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปี เขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชาชน อายุ 15-59 ปี ที่อาศัยในพื้นที่ ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน เขตพื้นที่รับผิดชอบ ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว หมู่ที่ 4, 5, 6, 7 ,8, 13, 14, 15 และ หมู่ที่ 16 ตำบลสงเปลือย รวม 9 หมู่บ้าน 816 หลังคาเรือน จำนวน 2,881 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้มาจากประชากรที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคำนวณ โดยใช้สูตรการคำนวณของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970 อ้างถึงใน จักรกฤษณ์ สำราญใจ, 2544) กำหนดให้ n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง N = ขนาดของประชากร e = ระดับความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้ (=0.05) = ค่าไคสแควร์ที่ df เท่ากับ 1 และระดับความเชื่อมั่น 95% ( =3.841) p = สัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากร (ถ้าไม่ทราบให้กำหนด p = 0.5) n = 2766.48 = 339 8.16 ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ตัวอย่างทั้งสิ้น 339 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างในกลุ่มประชาชน อายุ 15-59 ปี ที่มีชื่อและอาศัยอยู่จริงตามทะเบียนบ้าน ในพื้นที่ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน เขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพสต.บ้านหัวงัว หมู่ที่ 4,5,6,7,8,13,14,15 และ หมู่ที่ 16 ตำบลสงเปลือย รวม 9 หมู่บ้าน ทั้งชายและหญิงเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างมาจากทุกหมู่บ้านจึงคำนวณสัดส่วนจำนวนประชาชนเป้าหมาย ของแต่ละหมู่บ้าน เมื่อได้ขนาดตัวอย่างของแต่ละหมู่บ้านแล้วจะทำการสุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจักฉลากโดยการเขียนหมายเลขกำกับประชากรตัวอย่าง แต่ละรายการก่อนแล้วจึงจับฉลากขึ้นมา ไม่สุ่มประชากรที่ถูกสุ่มแล้วขึ้นมาอีก (Simple Random Sampling without Replacement) คือหยิบแล้วเอาออกได้เลยไม่ต้องใส่กลับลงไปอีก  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป อายุ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพหลัก สภาพด้านครอบครัว คำถามจำนวน 9 ข้อ ส่วนที่ 2 สิ่งกระตุ้นภายนอก ได้แก่ สิ่งกระตุ้นด้านผลิตภัณฑ์ สิ่งกระตุ้นด้านราคา สิ่งกระตุ้นด้านการจัดช่องทางการจำหน่ายและส่งเสริมการขาย คำถามรวมจำนวน 14 ข้อ ส่วนที่ 3 สิ่งกระตุ้นภายใน ได้แก่ ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางจิตวิทยา คำถามรวมจำนวน 8 ข้อ ส่วนที่ 4 พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คำถามรวมจำนวน 5 ข้อ รวมคำถามในแบบสัมภาษณ์ จำนวน 36 ข้อ ผู้ศึกษาวิจัยดำเนินการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล โดยการนำไปหาความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง ดังนี้ การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยการนำเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้ศึกษาวิจัยสร้างขึ้น ไปหาความตรงตามทฤษฎี และตรวจสอบความถูกต้อง ครอบคลุม ความเหมาะสมของเนื้อหา และภาษาที่ใช้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 3 ท่าน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขความถูกต้องด้านภาษาและเนื้อหาให้เหมาะสม ตามข้อเสนอแนะ การตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) ผู้ศึกษาวิจัย นำเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้ มาปรับปรุงแก้ไขภาษาและตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำแบบแบบสัมภาษณ์ ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการศึกษา จำนวน 30 ตัวอย่าง แล้วมาคำนวณความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของ ครอนบาค (Cronbrach’s alpha coefficient) Reliability = 0.702  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา(descriptive research) ขั้นตอนดำเนินการวิจัย ภายหลังจากการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยวางแผนการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1. เตรียมความพร้อมของผู้วิจัย เตรียมแบบสัมภาษณ์และให้คำชี้แจงผู้ช่วยวิจัยเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ประชาชน ในพื้นที่เป้าหมายเพื่อขอความร่วมมือ 3. ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 4. รวบรวมแบบสัมภาษณ์ที่จัดเก็บได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์และความถูกต้องเพื่อนำมาบันทึกข้อมูลโดยใช้โปรมแกรมคอมพิวเตอร์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาวิจัยวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และหาความสัมพันธ์ของแต่ละตัวแปรโดยด้วยสถิติไคสแควร์ (Chi – Square)  
     
ผลการศึกษา : จากการศึกษา พบว่า ผู้ให้การสัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 87.6 มีอายุระหว่าง 48-59 ปี ร้อยละ 42.2 รองลงมาคือผู้ที่มีอายุระหว่าง 37-47 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่แต่งงานแล้ว ร้อยละ 86.7 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 54.0 รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 29.5 ร้อยละ 54.3 มีอาชีพเกษตรกรรม ความสัมพันธ์ของครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ด้วยกันทุกวัน ร้อยละ 92.6 มีเพียง ร้อยละ 7.4 ที่ไม่ได้อยู่ร่วมกันทุกวัน ความรุนแรงในครอบครัวโดยประเมินจากการบ่นว่า ดุด่า กันในครอบครัว พบว่า มีการบ่นว่าดุด่ากันในครอบครัวเป็นประจำเพียง ร้อยละ 6.2 และไม่เคยมีการบ่นว่าดุด่ากันในครอบครัว ร้อยละ 4.7 การถามทุกข์สุขกันในครอบครัว ส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.1 มีการถามทุกข์สุขกันเป็นประจำ สมาชิกในครอบครัวมีการทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยปรึกษาหารือกัน ส่วนใหญ่สมาชิกในครอบครัวมีการทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยปรึกษาหารือกัน ร้อยละ 64.0 ดังรายละเอียดในตารางที่ 2 ผลการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆ กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรอบ 1 ปี จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรอบ 1 ปี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ อาชีพ สมาชิกครอบครัวอยู่ด้วยกัน การบ่นว่าดุด่ากันในครอบครัว การถามทุกข์สุขกันของคนในครอบครัว และครอบครัวมีการทำกิจกรรมร่วมกัน ดังตารางที่ 3 ปัจจัยสิ่งกระตุ้นภายนอก เกี่ยวกับสิ่งกระตุ้นด้านผลิตภัณฑ์ สิ่งกระตุ้นด้านราคา สิ่งกระตุ้นด้านการจัดช่องทางการจำหน่ายและส่งเสริมการขาย มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมด้านความถี่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปี เขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังตารางที่ 4 ผลการศึกษาปัจจัยสิ่งกระตุ้นภายใน ปัจจัยเพื่อนชักชวน และปัจจัยสถานภาพทางสังคม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยทางจิตวิทยา การจูงใจอยากรู้อยากลอง ความเชื่อ ทัศนคติ สุราสามารถแก้ปัญหาได้ การมีเวลาว่างมากเกินไป ความเครียดความกดดันต่างๆ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปี เขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ดังตารางที่ 5 ผลการศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ปัจจัยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผสมเครื่องดื่มชนิดอื่น ได้แก่ ดื่มผสมโซดา ดื่มผสมน้ำเปล่า ผสมโซดาน้ำ และปัจจัยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ ดื่มที่บ้าน/ที่พักของตนเอง ดื่มที่ทำงาน ตอนเลิกงาน มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังตารางที่ 6 12.อภิปรายผล/ข้อจำกัดในการศึกษา จากการศึกษาวิจัยพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปี เขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 339 คน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ อาชีพ การบ่นว่า ดุด่ากันในครอบครัว การถามทุกข์สุขกันของคนในครอบครัว และครอบครัวมีการทำกิจกรรมร่วมกัน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05(P-value < 0.05) อาจเป็นได้ว่าเป็นช่วงอายุในวัยทำงาน อาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งอาจมีการเลี้ยงฉลองหลังฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต สอดคล้องกับการศึกษาของ ธนกฤต ชัยถวัลย์วงศ์ และคณะ (2555) ซึ่งพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้แอลกอฮอล์ ได้แก่ อาชีพ (P-value <0.001) และสอดคล้องกับการศึกษาวิจัยของ เผ่าพงศ์ สุนทร (2556 )ได้ทำการศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของนักเรียนมัธยม ในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่า ปัจจัยครอบครัวที่อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่มีระดับการรับรู้ความสัมพันธ์ในครอบครัว บิดา มารดามีความรักใคร่กัน และการควบคุมการดื่มสุราของพ่อแม่ ปัจจัยสิ่งกระตุ้นภายนอกพบว่า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปี เขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ระดับ 0.05(P-value < 0.05) อาจมีสาเหตุมาจากการแข่งขันด้านการตลาดของผู้ผลิตและผู้จำหน่าย ซึ่งต้องนำกลยุทธ์และเทคนิคต่างๆเพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้มีความสนใจในผลิตภัณฑ์ ปัจจัยสิ่งกระตุ้นทางสังคม ในประเด็นสถานภาพทางสังคม ก็ยังเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหมายถึง สภาพสังคมในปัจจุบัน ยังพึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการเป็นสื่อกลางทางสังคม และสังคมยังให้การยอมรับอยู่ และพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แบบ ดื่มเป็นครั้งคราว ผู้ดื่มอาจเพิ่มความถี่ในการดื่มมากขึ้นจนเป็นการดื่มประจำหรือแบบต่อเนื่อง(แบบเมาหัวราน้ำ)หากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่มีมาตรการแก้ไข สำหรับพฤติกรรมการดื่มของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปีเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ส่วนใหญ่ เป็นการดื่มแบบชั่วคราว ร้อยละ 72.9 ส่วนการดื่มประจำหรือแบบต่อเนื่อง (แบบเมาหัวราน้ำ)มีเพียง 27.1 อาจเป็นเพราะว่า ภาครัฐ ได้ดำเนินการรณรงค์ ลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกรูปแบบ เช่น โครงการกาฬสินธุ์ 3 ดี งานศพ งานบุญปลอดเหล้า ทำให้การดำเนินงานการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ผลในระดับหนึ่ง สรุปและอภิปรายผลการศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรอบ 1 ปี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ อาชีพ การบ่นว่าดุด่ากันในครอบครัว การถามทุกข์สุขกันของคนในครอบครัว และครอบครัวมีการทำกิจกรรมร่วมกัน ปัจจัยสิ่งกระตุ้นภายนอก เกี่ยวกับสิ่งกระตุ้นด้านผลิตภัณฑ์ สิ่งกระตุ้นด้านราคา สิ่งกระตุ้นด้านการจัดช่องทางการจำหน่ายและส่งเสริมการขาย มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมด้านความถี่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยทางจิตวิทยา การจูงใจอยากรู้อยากลอง ความเชื่อ ทัศนคติ สุราสามารถแก้ปัญหาได้ การมีเวลาว่างมากเกินไป ความเครียดความกดดันต่าง ๆ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปี เขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้แก่ ปัจจัยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผสมเครื่องดื่มชนิดอื่น ดื่มผสมโซดา ดื่มผสมน้ำเปล่า ผสมโซดาน้ำ ปัจจัยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ต่าง ๆ บ้าน/ที่พักของตนเอง ที่ทำงาน ตอนเลิกงาน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จากการศึกษาวิจัยพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปี เขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 339 คน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ อาชีพ การบ่นว่า ดุด่ากันในครอบครัว การถามทุกข์สุขกันของคนในครอบครัว และครอบครัวมีการทำกิจกรรมร่วมกัน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05(P-value < 0.05) อาจเป็นได้ว่าเป็นช่วงอายุในวัยทำงาน อาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งอาจมีการเลี้ยงฉลองหลังฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต สอดคล้องกับการศึกษาของ ธนกฤต ชัยถวัลย์วงศ์ และคณะ (2555) ซึ่งพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้แอลกอฮอล์ ได้แก่ อาชีพ (P-value <0.001) และสอดคล้องกับการศึกษาวิจัยของ เผ่าพงศ์ สุนทร (2556 )ได้ทำการศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของนักเรียนมัธยม ในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่า ปัจจัยครอบครัวที่อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่มีระดับการรับรู้ความสัมพันธ์ในครอบครัว บิดา มารดามีความรักใคร่กัน และการควบคุมการดื่มสุราของพ่อแม่ ปัจจัยสิ่งกระตุ้นภายนอกพบว่า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปี เขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ระดับ 0.05 (P-value < 0.05) อาจมีสาเหตุมาจากการแข่งขันด้านการตลาดของผู้ผลิตและผู้จำหน่าย ซึ่งต้องนำกลยุทธ์และเทคนิคต่างๆเพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้มีความสนใจในผลิตภัณฑ์ ปัจจัยสิ่งกระตุ้นทางสังคม ในประเด็นสถานภาพทางสังคม ก็ยังเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหมายถึง สภาพสังคมในปัจจุบัน ยังพึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการเป็นสื่อกลางทางสังคม และสังคมยังให้การยอมรับอยู่ และพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แบบ ดื่มเป็นครั้งคราว ผู้ดื่มอาจเพิ่มความถี่ในการดื่มมากขึ้นจนเป็นการดื่มประจำหรือแบบต่อเนื่อง(แบบเมาหัวราน้ำ)หากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่มีมาตรการแก้ไข สำหรับพฤติกรรมการดื่มของประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปีเขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ส่วนใหญ่ เป็นการดื่มแบบชั่วคราว ร้อยละ 72.9 ส่วนการดื่มประจำหรือแบบต่อเนื่อง (แบบเมาหัวราน้ำ)มีเพียง 27.1 อาจเป็นเพราะว่า ภาครัฐ ได้ดำเนินการรณรงค์ ลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกรูปแบบ เช่น โครงการกาฬสินธุ์ 3 ดี งานศพ งานบุญปลอดเหล้า ทำให้การดำเนินงานการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ผลในระดับหนึ่ง  
ข้อเสนอแนะ : ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงขอเสนอแนะให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการรณรงค์ลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในทุกรูปแบบ และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนและปัญหาจากการดื่มแบบเมาหัวราน้ำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และสังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยในโครงการควรเน้นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม มาตรการทางกฎหมาย การควบคุมแหล่งจำหน่าย การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การสร้างสัมพันธภาพ ความอบอุ่นในครอบครัว การดำเนินงานครอบครัวเข้มแข็ง ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มดื่มแบบประจำหรือต่อเนื่อง (แบบเมาหัวราน้ำ) ซึ่งต้องดำเนินการเร่งด่วน เช่น จัดบริการตรวจสุขภาพ จัดเข้าค่ายคลินิกอดสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีการดำเนินการเฝ้าระวัง ในกลุ่มที่ดื่มแบบครั้งคราว ส่งเสริมให้ ลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กิตติกรรมประกาศ รายงานวิจัยฉบับนี้สำเร็จสมบูรณ์ลุล่วงได้ด้วยดีอันเนื่องมาจากประชาชน อายุระหว่าง 15-59 ปี เขตพื้นที่รับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่กรุณาสละเวลาในการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการทำการศึกษาครั้งนี้ ขอขอบพระคุณอาจารย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ที่ช่วยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยและให้คำปรึกษางานวิจัยจนงานสำเร็จลงได้อย่างสมบูรณ์ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาเป็นอย่างยิ่ง จึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอขอบคุณ นักวิชาการประจำสำนักงานสาธารณสุขอำเภอนามน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวงัว ที่ให้โอกาสและสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดกระบวนการศึกษาและขอขอบคุณทุกท่านที่มิได้กล่าวนามที่มีส่วนเกี่ยวข้องในความสำเร็จครั้งนี้  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)