ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาคุณภาพรูปแบบ DOTS โดยการเสริมพลังให้ญาติผู้ดูแล
ผู้แต่ง : จันที อินทวรรณ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่สำคัญ และยังเป็นปัญหาสาธารณสุข ในปี 2536 องค์กรอนามัยโลกได้ประกาศให้วัณโรคอยู่ในภาวะฉุกเฉินสากลและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 18 ในกลุ่ม 22 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง ซึ่งสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคกลับเลวร้ายมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนทัน มีพื้นที่รับผิดชอบ 8 หมู่บ้าน จำนวน 1,022 หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด 4,934 คน ในปี 2557-2559 มีผู้ขึ้นทะเบียนรักษา วัณโรคทุกประเภทในปี 2557 7 ราย ในปี 2558 6 ราย ปี 2559 7 ราย และในปี 2559 พบผู้ป่วย MDR TB 1 ราย ส่งรักษาต่อโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ซึ่งจาการติดตามผู้ป่วยวัณโรคพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคกินยาเองที่บ้าน ไม่มีการทำ DOT ไม่มีเจ้าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงดูแลกำกับการกินยาก่อนหน้าทุกวัน ประกอบกับวัณโรคมีจำนวนมาก มีอาการข้างเคียงจากยาสูง ผู้ป่วยบางรายไม่กินยาขาดยา หรือกินยาวัณโรคไม่ครบทั้งจำนวนและชนิดของยา ส่งผลให้ผู้ป่วยวัณโรคมีโอกาสขาดยา ดื้อยา หรือตายได้ ดังนั้นการรักษาวัณโรคโดยการควบคุมการกินยา ของผู้ป่วยอย่างที่เต็มที่นั้น นอกจากหมายถึงการให้ผู้ป่วยกลืนกินยาระบบระยะสั้น ต่อหน้าผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยแล้ว ยังต้องมีพันธะสัญญาที่มั่นคง (Strong Commitment) ซึ่งจากหน่วยงานระดับประเทศ การมีบริการชันสูตรที่ครอบคลุมดี, งบประมาณในการจัดหายาที่เพียงพอ และต้องมีระบบบันทึกข้อมูลการรายงานที่ถูกต้องและสามารถประเมินผลได้ DOTS ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ที่จะทำให้ผู้ป่วย ได้รับการรักษาสม่ำเสมอครบถ้วนและป้องกันการเกิดดื้อยาของเชื้อวัณโรค  
วัตถุประสงค์ : 1. ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยระบบ DOTS คือการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบยาระยะสั้นโดยมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยาตลอดการรักษา เพื่อช่วยให้การควบคุมวัณโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2. ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่กินยาหรือรับการรักษา ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านครบ 6 เดือน 3. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการตามเกณฑ์คุณภาพ มาตรฐานที่กำหนด 4. เพื่อส่งเสริมให้ญาติมีส่วนในการช่วยเหลือ และดูแลผู้ป่วยในการทานยาให้ครบตามระบบการรักษา  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. กลุ่มผู้ป่วยวัณโรค 7 ราย 2. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค 7 ราย 3. ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.สร้างความร่วมมือการมีส่วนร่วมในการดูแล โดยภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และร่วมจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อลดปัญหาวัณโรคในพื้นที่ 2.แต่งตั้งคระทำงานป้องกันควบคุมวัณโรค ระดับตำบล ชุมชน พร้อมผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันวัณโรค 3.พัฒนา ระบบเฝ้าระวัง ส่งต่อ ติดตาม การจัดการ มาตรฐาน คู่มือการปฏิบัติ ในการแก้ไขปัญหาโรควัณโรค และการกำกับกินยา 4.อบรมแกนนำวัณโรคในชุมชนเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคโดยมีพี่เลี้ยงกำกับกินยา(DOT) ให้มีประสิทธิภาพ 5.เร่งรัดการค้นหาและวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็ว 6.พัฒนาระบบคุณภาพข้อมูล การจัดทำรายงานและการจัดเก็บการกำกับและติดตามประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ 7.สร้างชุมชุน/บุคคลต้นแบบด้านการป้องกัน ควบคุมวัณโรค 8.ให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ สร้างกระแสให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาวัณโรค 9.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ตามเกณฑ์มาตรฐาน 10.สรุปผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ