|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อใน รพสต.ไค้นุ่น |
ผู้แต่ง : |
นางสาวกัลยาณี มุลทา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ต้องเน้นระบบสุขภาพทุกระดับที่ต้องทำให้ได้มาตรฐานเพื่อการดูแลที่ได้คุณภาพและปลอดภัย การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเป็นมาตรฐานหนึ่งที่สถานบริการทุกระดับต้องมีการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยทั้งด้านการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วย บุคลากรและสิ่งแวดล้อม ชุมชน สำหรับบทบาทหน้าที่หนึ่งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นรูปแบบการดูแลที่บ้านและ ในชุมชน ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยที่ถูกส่งกลับมาดูแลที่บ้านและชุมชน มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่นผู้ป่วยที่ใส่สายสวนต่างๆ ผู้ป่วยที่ต้องล้างไตทางหน้าท้อง เป็นต้นและหากผู้ป่วยมีการติดเชื้ออาจทำให้ผู้ป่วยต้องกลับเข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทำให้เกิดผลกระทบตามมามากมาย การดูแลที่บ้านเป็นบทบาทที่สำคัญของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ต้องให้คำแนะนำและดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว และมีการรายงานการได้รับอุบัติเหตุเข็มหรือของมีคมทิ่มตำในบุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวนหนึ่ง รวมทั้งมาตรฐานการให้บริการในสถานบริการที่ต้องปฏิบัติในด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น เป็นสถานที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ รักษาพยาบาล ป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งให้บริการประชาชนที่มีสุขภาพดี ผู้ที่ป่วยด้วยโรคโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ผู้ที่มีแผลสดและผู้ป่วยที่มีแผลติดเชื้อ ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เป็นต้น หลังจากการบริการผู้ป่วย มีทั้งขยะติดเชื้อและขยะทั่วไป ประมาณวันละ ๒ กิโลกรัม และยังมีขยะติดเชื้อที่เกิดจากผู้ป่วยในชุมชน เช่น ผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยที่ทำแผลเองและขยะติดเชื้อจากสุขศาลาในแต่ละหมู่บ้าน ที่ยังไม่มีการดำเนินการในการกำจัดขยะดังกล่าวที่ชัดเจน ทำให้พบว่ามีการทิ้งขยะไม่ถูกที่ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไปสู่คนและสิ่งแวดล้อม |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานมาตรฐานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
เจ้าหน้าที่ รพสต.ไค้นุ่นทุกคน จำนวน ๙ คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบประเมินมาตรฐานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประสานคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอห้วยผึ้ง(คปสอ.) แต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อ(Infection control=IC) ในระดับ คปสอ.และ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น
2. บุคคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมเรื่องแนวทางการควบคุมการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อตามมาตรฐาน IC ปีละ 1 ครั้ง ที่โรงพยาบาลห้วยผึ้ง
3.จัดทำคู่มือมาตรฐาน (CPG) การควบคุมการติดเชื้อ การแพร่กระจายเชื้อ และแนวทางการ
บริหารความเสี่ยง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น
4.การทบทวนองค์ความรู้/กระบวนการควบคุมการติดเชื้อ ระหว่างเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น ทุกเดือน
๕.พัฒนาการดำเนินงานให้ได้ตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
6. รับการนิเทศ ติดตาม กำกับ ดูแล โดย โรงพยาบาลห้วยผึ้ง ปีละ 2 ครั้ง
7. สรุปผลการดำเนินงาน ถอดบทเรียน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
อภิปรายผลและข้อสรุป
๑. บุคลากร รพสต.ไค้นุ่น เข้าใจตรงกันและปฏิบัติได้ถูกต้องในการป้องกันการติดเชื้อในสถานบริการ และปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน
๒. ได้อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ผ่านการกำจัดเชื้อได้มาตรฐานเช่นเดียวกับโรงพยาบาล
๓. ขยะติดเชื้อกำจัดที่ได้ถูกวิธี
๔. ประเมินตนเองตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น ได้ในระดับดี
๕. ผ่านการประเมินรับรองจากทีม IC ของจังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
๑. ควรมีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การแพทย์ตามมาตรฐาน IC เช่น อ่างล้างเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานให้ครอบคลุมในระดับจังหวัด โดยได้รับสนับสนุนจากส่วนกลาง เพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นแบบเดียวกัน
๒. ควรมีการพัฒนาความรูในระดับปฏิบัติ ดานการปองกันและควบคุมการติดเชื้อในสุขศาลาแกอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อทําใหงานปองกันโรคติดเชื้อมีคุณภาพ ไดมาตรฐานสุขศาลากาฬสินธุ์
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|