ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : นวัตกรรม Medicut หัก Amp ยา
ผู้แต่ง : ธันยกานต์ เอกสัน ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยยางดง หลังจากเปิดบริการมีการทบทวนอุบัติการณ์ในหน่วยงาน ที่ผ่านมาพบว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานถูก หลอดยาแตกใส่มือ ๑๕ ครั้ง (ในเวลา ๑ ปี) ทำให้เกิดแผลที่มือ ๔ ครั้ง ผลที่เจ้าหน้าที่เกิดแผลที่มือทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อตามมาและ หลอดยาบางหลอดก็หนา แข็งทำให้ หักยาก ต้องใช้เลื่อย เลื่อยก่อนค่อยหักได้ทำให้เสียเวลาในการทำงาน จากการทบทวนปัญหาจึงได้คิดค้นนวัตกรรม “ Medicut หัก Amp ยา ” ขึ้นเพื่อช่วยป้องกันอุบัติการณ์ และลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ดังกล่าว  
วัตถุประสงค์ : • ไม่เกิดอุบัติการณ์บุคลากรถูกหลอดยาแตกบาดมือขณะหักหลอดยา • ลดเวลาในการหักหลอดยา  
กลุ่มเป้าหมาย : • ป้องกัน Amp ยาบาดมือขณะเตรียมยาฉีด • ลดเวลาในการเตรียมยา  
เครื่องมือ : แบบบันทึกอุบัติการณ์บุคลากรถูก Amp ยาบาดมือ,Amp ยาแตก แบบประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรม  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑. ประชุมปรึกษาในคณะทำงานการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ๒. คิดรูปแบบนวัตกรรมการหัก Amp ยา ๓. จัดทำนวัตกรรม ๔. แนะนำวิธีการใช้นวัตกรรมต่อบุคลากรในหน่วยงาน ๕. ติดตามรายงานอุบัติการณ์บุคลากรหัก Amp ยาแตก และอุบัติการณ์Amp ยาบาดมือ  
     
ผลการศึกษา : ผล: จากการติดตามประเมินผลในการใช้นวัตกรรม “ Medicut หัก Amp ยา ” พบว่าไม่เกิดอุบัติการณ์บุคลากรหักหลอดยาแตก ไม่ถูกหลอดยาบาดมือ อีกจนปัจจุบัน และหักหลอดยาได้ง่ายขึ้น สรุปผล : จากการใช้นวัตกรรม “ Medicut หัก Amp ยา ” พบว่าสามารถป้องกันการเกิดอุบัติการณ์บุคลากรหักหลอดยาแตกและไม่ถูกหลอดยาบาดมือ ได้ร้อยละ ๑๐๐  
ข้อเสนอแนะ : นวัตกรรมมีข้อจำกัดคือAmp ยาที่มีขนาดใหญ่ จะไม่สามารถหักได้ ควรมีการพัฒนา/ปรับปรุง ให้ใช้ได้กับ Amp ยาทุกขนาด  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)