ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแพทย์แผนไทยในสถานบริการและในชุมชน
ผู้แต่ง : กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การแพทย์แผนไทยเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีความสำคัญเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งมีวิวัฒนาการสืบทอดมายาวนานนับตั้งแต่สมัยอยุธยาตราบเท่าปัจจุบัน แม้บางสมัยจะถูกละเลยไปบ้าง การแพทย์แผนไทยก็มิได้ขาดหายจากสังคมไทย ยังมีกลุ่มผู้คนที่เห็นคุณค่าและสืบทอดพัฒนากันมาหลายรุ่นหลายสมัยจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการแพทย์ทางเลือกอีกทางหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรคเบื้องต้น ได้แก่ การนวด การอบ การประคบ และการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในธรรมชาติ ในการดูแลรักษาและการส่งเสริมสุขภาพ จากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่พบว่ามีผู้ป่วยบางราย ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาโรค แต่สามารถส่งเสริมสุขภาพและรักษาโรคเบื้องต้นด้วยการแพทย์แผนไทย อีกทั้งยังสามารถประหยัดงบประมาณจากการใช้ยาแผนปัจจุบันได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านไว้ให้ลูกหลานมิให้สูญหายไปจากสังคมไทย ตามกระแสของสังคมสมัยใหม่ในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ได้บัญญัติถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขที่รัฐจะต้องจัดให้กับประชาชนในรัฐ โดยมาตรา ๕๑ ได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์” ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่กล่าวกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด ทำให้เป็นที่มาของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นผลให้สุขภาพและอนามัยของประชาชนชาวไทยได้รับการดูแลและเอาใจใส่จากรัฐมากขึ้น จนทำให้เกิดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นมา โดยเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ซื้อ จัดหา ส่งเสริมบริการสุขภาพที่ดีมีคุณภาพให้แก่ประชาชนของประเทศ โดยมีภาระหน้าที่หลักในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาสุขภาพและฟื้นฟูสุขภาพแก่ประชาชนชาวไทยทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดก็ตาม และจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มารับบริการการแพทย์แผนไทย โดยผู้ช่วยแพทย์แผนไทยหลักสูตร ๓๗๒ ชั่วโมง ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ พบว่า ประชาชนร้อยละ ๙๖.๕๐ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ต่อการให้บริการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อจัดให้มีคลินิกบริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการและในชุมชน 2. เพื่อส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพรในชุมชน 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการและในชุมชน  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไป ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการทุกคน ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : 1.ทะเบียนผู้รับบริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการและในชุมชน 2.แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการและในชุมชน 3.แบบสำรวจการใช้สมุนไพรในชุมชน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น เพื่อจัดทำโครงการ ๒. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลไค้นุ่น เพื่อขออนุมัติงบประมาณ ๓. เสนอโครงการต่อนายอำเภอห้วยผึ้ง เพื่อขออนุมัติดำเนินการตามโครงการ ๔. ดำเนินงานตามโครงการ ๔.๑ จัดบริการแพทย์แผนไทยสำหรับประชาชนทั่วไป ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น โดยผู้ช่วยแพทย์แผนไทยหลักสูตร ๓๗๒ ชั่วโมง จำนวน ๑ คน สัปดาห์ละ 5 วัน ๔.๒ ออกให้บริการแพทย์แผนไทยสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ ในชุมชนพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไค้นุ่น โดยผู้ช่วยแพทย์แผนไทยหลักสูตร ๓๗๒ ชั่วโมง จำนวน ๑ คน สัปดาห์ละ ๑ วัน ๕. ส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพรในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ช่วยแพทย์แผนไทยหลักสูตร ๓๗๒ ชั่วโมง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ๖. ประเมินผลการทำงานทุก ๖ เดือน โดยคณะกรรมการติดตามประเมินผลของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลไค้นุ่น ๗. สรุปผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง