|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุของผู้สูงอายุโรงพยาบาลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
รัตน์สุดา จิตระวัง |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ปัจจุบันการพัฒนาความก้าวหน้าทางการแพทย์สาธารณสุขอย่างต่อเนื่องของประเทศไทย ส่งผลให้สัดส่วนของประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากปี2523 มีประชากรสูงอายุร้อยละ 5.46 เพิ่มเป็นร้อยละ 9.51 ในปี 2543 และร้อยละ 10.3 ในปี 2548 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 21 ในปี2563(สถิติผู้สูงอายุ สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล, 2543) จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรและการที่มีอายุขัยเพิ่มขึ้น ทำให้ประเด็นผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่น่าสนใจและได้รับความสำคัญเรื่อยมาในสังคมไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากการมีอายุมากขึ้นย่อมมีการเสื่อมสภาพของร่างกาย น าไปสู่ปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ อาจมีสภาวะทุพพลภาพและภาวะพึ่งพาในจำนวนที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจจากการสูญเสียต่างๆ จนทำให้เกิดความรู้สึก วิตกกังวล ว้าเหว่ หมดหวังในชีวิต
ทั้งนี้จากรายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุ ปี2556 (กรมอนามัย, 2556 : 38) พบว่าผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 13.4 เป็นโรคซึมเศร้า ร้อยละ 1 หากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้จะส่งผลให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาด้านจิตใจและปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้สูงอายุจึงควรได้รับบริการการดูแลที่ตอบสนองความต้องการอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคมซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากความสูงวัย ตลอดจนเป็นการสร้างความเข้มแข็งทำให้การสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมผ่านระบบเครือข่ายหรือชมรมในชุมชน
โรงเรียนผู้สูงอายุนับเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์ของชมรมผู้สูงอายุ เพื่่อเป็นศูนย์กลางเครือข่ายด้านบริการสาธารณะแก่ผู้สูงอายุเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ชมรม และชุมชน ช่วยเพิ่มคุณค่าให้ผู้สูงอายุอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ (แสวง ขาวแก้ว, 2543) จากการศึกษาของ นวพรรษ วุฒิธรรม (2543) ถึงเหตุผลที่ผู้สูงอายุเข้ามาร่วมกิจกรรมในชมรม เพราะช่วยคลายเครียด ได้ประโยขน์ในเรื่องสุขภาพ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และจากการศึกษาของ ศุภวรินทร์ หันกิตติคุณ(2539) พบว่า การมีชมรมผู้สูงอายุ การเป็นสมาชิกชมรม การได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชมรม การได้พบปะสังสรรค์กับ
บุคคลวัยเดียวกันทำให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพดีขึ้น การเข้าร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเป็นการแสดงออกถึงความสามารถและวิธีการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ทั้งบุคคลภายในชมรมและบุคคลภายนอกชมรมจึงเป็นทักษะทางสังคมที่สำคัญและจำเป็นที่ผู้สูงอายุควรจะคงใว้ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ของผู้สูงอายุโรงพยาบาลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสนับสนุน ส่งเสริม การเข้าร่วมกิจกรรมและการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
1.เพื่อศึกษาการเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุของผู้สูงอายุโรงเรียนวัดโพธิ์ชัย-นาสีนวล
2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 214 คน |
|
เครื่องมือ : |
-แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุของผู้สูงอายุโรงพยาบาลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional DescriptiveResearch ) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุของผู้สูงอายุโรงพยาบาลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
1.การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการเลือกแบบสุ่มอย่างมีระบบ (systematic random sampling) จากทะเบียนรายชื่อสมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุ
2.สร้างเครื่องมือแบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุของผู้สูงอายุโรงพยาบาลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง
3.นำเครื่องมือ ไปเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง
4.ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลที่ได้
5.นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้คือ
5.1 สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน
5.2 สถิติเชิงวิเคราะห์ คือ การค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
6.สรุปและอภิปรายผลการศึกษา |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|