|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ปรางทิพย์ ภูสระทอง |
ปี : 2559 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ความสัมพันธ์ของโรคเบาหวานกับโรคปริทันต์เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์และทันตแพทย์มาเป็นเวลานาน สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้ภาวะเหงือกอักเสบเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อในช่อปาก เช่น มีภาวะปากแห้ง มีการตอบสนองต่อโรคต่ำ ติดเชื้อได้ง่าย การหายของแผลช้า จึงเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและมีโอกาสสูญเสียเนื้อเยื่อรอบฟันและกระดูกเบ้าฟันได้ง่ายโดยเฉพาะในผู้ที่ไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลให้อยู่ในระดับดีได้ สำหรับผู้เบาหวานที่สามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับดี ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูงกว่าคนปกติ จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเบาหวานขณะตรวจสุขภาพช่องปากในวันที่มารับการรักษาเบาหวาน พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ทราบว่าการเป็นเบาหวานมีความสัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากจึงไม่ได้ให้ความสำคัญที่จะดูแลสุขภาพช่องปากเท่าที่ควร การทำความสะอาดช่องปากมีการแปรงฟันในตอนเย็นและจะมาพบหมอฟันก็ต่อเมื่อปวดฟันหรือมีฟันโยกในระดับที่ต้องถอนฟันออกเท่านั้น และยังพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก คือรับประทานอาหารบ่อย กินจุบจิบ เคี้ยวหมาก โอกาสที่ฟันจะสัมผัสกับกรดที่ผลิตจากแบคทีเรียในช่องปากจึงมีมากขึ้น ดังนั้นหากผู้ป่วยเบาหวานมีการรักษาอนามัยช่องปากไม่ดี โอกาสเกิดโรคฟันผุก็จะสูงกว่าคนทั่วไป
ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษา ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
|
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการดูสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวนอก ต.ยอดแกง อ.นามน จ.กาฬสินธุ์
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนอบัวนอก ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มารับยาในเดือน มกราคม 2559 - มีนาคม 2559 จำนวน 67 คน
|
|
เครื่องมือ : |
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป จำนวน 7 ข้อ ส่วนที่ 2 แบบสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก จำนวน 16 ข้อ ส่วนที่ 3 แบบสัมภาษณ์เจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก จำนวน 17 ข้อ และ ส่วนที่ 4 การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก จำนวน 20 ข้อ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
วิธีการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Research) การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
ผลการศึกษา
1. ข้อมูลทั่วไปของผู้มารับบริการ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.2 มีสถานภาพคู่ คิดเป็นร้อยละ 62.7 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 86.6 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 62.7 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 85.1 ระยะเวลาการป่วยด้วยโรคเบาหวาน อยู่ในช่วง 1-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.3
2. ระดับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานส่วนมากอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.3 รองลงมามีความรู้อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 38.8
3. ระดับเจตคติในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า เจตคติส่วนมากในระดับปานกลาง ร้อยละ57.4 รองลงมามีเจตคติอยู่ในระดับดี ร้อยละ 30.9
4. ระดับการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า การปฏิบัติตัวส่วนมากอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 79.1 รองลงมามีการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับดีร้อยละ 20.9
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ข้อเสนอแนะ
1.ควรมีการเข้าไปให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟัน
2. ควรมีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และออกเยี่ยมติดตามการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยเครือข่ายการปฏิบัติงานในชุมชน เช่น อสม. จนท.รพ.สต. เป็นต้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
3. ควรศึกษาพฤติกรรมหรือปัจจัยด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น แรงสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม เป็นต้น
4. ศึกษาผลกระทบของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยผู้ป่วยเบาหวานในชีวิตประจำวัน
5. ควรมีการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative Data) เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาจัดโปรแกรมสุขศึกษาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|