|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : เก็บข้อมูล |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การป้องกันการตกเลือดหลังคลอด |
ผู้แต่ง : |
อุดมพร เหมือยไธสง,จงจิตตื โคตรแสง ,โสภิดา สุระวิทย์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
มารดาตกเลือดหลังคลอด เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรกในงานอนามัยแม่และเด็กของประเทศไทย โรงพยาบาลหนองกุงศรียังไม่พบมารดาตาย แต่การตกเลือดหลังคลอดก็ยังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมาก มีอัตราการเกิดดังนี้ ปี พ.ศ.2556 จำนวน 5 ราย คิดเป็น 1.43% , พ.ศ.2557 จำนวน 6 ราย คิดเป็น 1.82% ปี พ.ศ.2558 จำนวน 4 ราย คิดเป็น 1.71% และปี 2559 จำนวน 3 ราย คิดเป็น 1.44 % จากการทบทวนในปีพ.ศ.2558 พบว่าการตกเลือดมาจากสาเหตุ Uterine atony ทั้ง 4 ราย และจากการวิเคราะห์พบว่า มารดาที่ตกเลือดหลังคลอดเป็นมารดาครรภ์แรก 3 ราย รายแรกมีภาวะซีด รายที่ 2 คลอดทารกตัวโต น้ำหนักมากกว่า 3,500 กรัม รายที่ 3 เป็นมารดาวัยรุ่นมดลูกหดรัดตัวไม่ดีและได้รับยาเร่งคลอดขณะรอคลอด รายที่4เป็น มารดาครรภ์หลัง มีภาวะซีด จากการทบทวนในทีมPCT เห็นว่าโอกาสพัฒนา คือ การค้นหาความเสี่ยงให้ได้ เพื่อวางแผนการป้องกันและรักษาให้เหมาะสมต่อไป และในรายที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีการดูแลที่เหมาะสม |
|
วัตถุประสงค์ : |
ลดอัตรามารดาป่วยและตายจากการตกเลือดหลังคลอด |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
มารดาที่คลอดรพ.หนองกุงศรี |
|
เครื่องมือ : |
1.ถุงตวงเลือด
2.แนวทางการคัดกรอง เฝ้าระวัง
3.ยาและเวชภัณฑ์ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1.ประชุม ชี้แจงทีม
2.จัดทำแนวทางการคัดกรองและเฝ้าระวัง
3.จัดหายาและเวชภัณฑ์
4.เก็บข้อมูล
5.ทบทวนเมื่อเกิดอุบัติการ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จำนวนมารดาคลอดทั้งหมด 132 รายพบมารดาตกเลือดหลังคลอด 4 รายคิดเป็นร้อยละ3 แยกตามความรุนแรงดังนี้ 3 รายเสียเลือดไม่เกิน600 ml. อยู่ในระดับรุนแรงน้อย อีก1รายเสียเลือด1,400 ml...ให้เลือด1 u. แยกตามสาเหตุดังนี้
- จากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี3รายซึ่งจากการคัดกรองก่อนคลอดมารดาอยู่ในกลุ่มไม่มีความเสี่ยง
- จากรกค้างล้วงรก1ราย จากการคัดกรองมารดาก่อนคลอดมารดาอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเคยตกเลือดจากรกค้างในครรภ์ก่อน
จากการวิเคราะห์
- การใช้ถุงรองเลือดทำให้ early detect .มีความแม่นยำในการคาดคะแน ทำให้ได้รับการดูแลเร็วขึ้น
- มีแนวทางการคัดกรองและเฝ้าระวังที่ชัดเจนเป้นเครื่องมือที่ช่วยได้มาก
- การมี early Rx.ประกาศดูแลแบบ PPH. ตั้งแต่เลือดออก300 ml. ลดความรุนแรงของภาวะแทรกว้อนได้ |
|
ข้อเสนอแนะ : |
1.ควรใช้ถุงตวงเลือดทุกราย เพื่อความแม่นยำ และ early detection
2.การให้การดูแลแบบ PPH. ตั้งแต่เสียเลือด300 ml.
3.ควรซ้อมในภาวะฉุกเฉินกรณี PPH ที่รุนแรง
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|