ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแบบบูรณาการคนพิการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : รัตนศักดิ์ ยี่สารพัฒน์,นางสาวดวงรัตน์ สุประเจิด ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ ปัจจุบันวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและคุณภาพในกระบวนการจัดการศึกษาตลอดจนการทำงานและการดำรงชีพอยู่ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมทั่วไปหรือคนพิการ สำหรับคนพิการ รัฐต้องจัดให้ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา สามารถเลือกรับบริการทางการศึกษาเพื่อให้คนพิการได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พึ่งตนเองได้ มีคุณธรรม ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จำนวนคนพิการประเภทต่างๆ (คิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของประชากรโลก) แม้จะเป็นกลุ่มน้อยแต่มีความหลากหลายตามลักษณะของบริบท วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ซึ่งความพิการแต่ละประเภทจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหา และความต้องการในการได้รับการศึกษาและความต้องการด้านอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไป (คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์การศึกษาพิเศษ, ๒๕๕๕ : ๑๒) การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการซึ่งดำเนินงานโดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการขยายการให้บริการมาโดยลำดับในลักษณะต่างๆ เช่น การจัดการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ การจัดให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มโดยศูนย์การศึกษาพิเศษ การจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ การจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ ตลอดจนการจัดศูนย์การเรียนรู้ที่ดำเนินการในลักษณะเครือข่าย เพื่อให้การบริการแก่คนพิการ ผู้ปกครอง ชุมชน และสถานศึกษา ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ พัฒนาศักยภาพ การเตรียมความพร้อมให้แก่คนพิการและส่งต่อให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการต่อไป (คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์การศึกษาพิเศษ, ๒๕๕๕ : ๑๔-๑๕) เทศบาลตำบลมหาไชยมีการให้บริการคนพิการทั้งหมด ๓ ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์โฮมสุข ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ซึ่งรับผิดชอบการให้บริการในระยะแรกเริ่มของคนพิการภายในอำเภอสมเด็จ ที่มีความต้องการรับบริการในการจัดการเรียนรู้คือ ๑) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ๒) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ๓) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ๔) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว ๕) บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ ๖) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ๗) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา ๘) บุคคลออทิสติก ๙) บุคคลพิการซับซ้อน ซึ่งเป็นคนพิการที่มีกลุ่มอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ๑๘ ปี ดังนั้นเทศบาลตำบลมหาไชยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มคนพิการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์หน่วยบริการสมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : ๑. เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของคนพิการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ๒. เพื่อประเมินผลการจัดการเรียนรู้หลังจากเข้ารับการบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด กาฬสินธุ์หน่วยบริการสมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ๓. เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ ๔. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่เข้ารับบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด กาฬสินธุ์หน่วยบริการสมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : คนพิการที่เข้ารับบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์หน่วยบริการสมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๓๙ คน  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : กรองคนพิการที่มีคุณสมบัติที่ขอเข้ารับบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ๒. ประเมินเบื้องตนสำหรับผู้เข้ารับบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์หน่วยบริการ สมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแบบประเมินของกระทรวงศึกษาธิการ ๓. จัดทำแผนการเรียนรู้เฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) การศึกษาที่ จัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนเป็นเฉพาะบุคคล โดยการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ครู และสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องร่วมจัดทำแผนการศึกษา ๔. จัดทำการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) โดยวิเคราะห์งานหรือ กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการเรียงลำดับกิจกรรมที่ง่ายไปสู่กิจกรรมที่ยากขึ้น หรือกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมไปสู่กิจกรรมที่เป็นนามธรรม ให้เหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนแต่ละบุคคล โดยการประเมินพัฒนาการแบ่งออกเป็น ๒ เทอม ๔.๑ เทอมที่ ๑ ตั้งแต่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙ – ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ ๔.๒ เทอมที่ ๒ ตั้งแต่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ – ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ๕. ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพผู้พิการโดยสหวิชาชีพ ๖. ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองผู้เข้ารับบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์หน่วยบริการสมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้เกณฑ์การวัดดังนี้ ความพึงพอใจของผู้ปกครองผู้เข้าร่วมบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์หน่วยบริการสมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย ๑) ด้านการนำไปประยุกต์ใช้ ๒) เจตคติ ๓) การบริหารจัดการ โดยคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีคำตอบให้เลือกตอบ ๕ ระดับ (๕,๔,๓,๒,๑) ความพึงพอใจมากที่สุด ให้คะแนน ๕ คะแนน ความพึงพอใจมาก ให้คะแนน ๔ คะแนน ความพึงพอใจปานกลาง ให้คะแนน ๓ คะแนน ความพึงพอใจน้อย ให้คะแนน ๒ คะแนน ความพึงพอใจน้อยที่สุด ให้คะแนน ๑ คะแนน ความพึงพอใจของผู้ปกครองผู้เข้าร่วมบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์หน่วยบริการสมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมและจำแนกเป็นรายข้อ วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการแปลความหมายของค่าเฉลี่ยตามแบบมาตรวัดของลิเคิร์ท (LiKert-Type Scale) (บุญชม ศรีสะอาด, ๒๕๔๕ : ๑๐๓ ) กำหนดเกณฑ์ ดังนี้ ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ ๔.๕๑ - ๕.๐๐ หมายถึง ความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ ๓.๕๑ - ๔.๕๐ หมายถึง ความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ ๒.๕๑ - ๓.๕๐ หมายถึง ความพึงพอใจปานกลาง ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ ๑.๕๑ - ๒.๕๐ หมายถึง ความพึงพอใจน้อย ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ ๑.๐๐ - ๑.๕๐ หมายถึง ความพึงพอใจน้อยที่สุด  
     
ผลการศึกษา : จากการประเมินตามแบบประเมินความสุขและคุณภาพคนพิการ สามารถสรุปได้ดังนี้ คำนิยามความสุขในความคิดเห็นของคนพิการ หมายถึง ผู้เข้ารับบริการหรือคนพิการสวามารถช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้นได้ สามารถตอบโต้การผู้สนทนาได้ ระดับความสุขของคนพิการหลังจากได้เข้ารับบริการจากศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในระดับมากที่สุด และคุณภาพชีวิตของคนพิการวัดจากแบบประเมินมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พบว่า คุณภาพชีวิตคนพิการหลังเข้ารับบริการอยู่ในระดับ มากที่สุด ตาราง ๑ แสดงระดับความสุขและคุณภาพชีวิตคนพิการ หัวข้อในการประเมิน S.D ระดับ ๑. ความสุขของคนพิการ 4.66 0.47 มากที่สุด ๒. คุณภาพชีวิตคนพิการ 4.61 0.49 มากที่สุด เมื่อเข้ารับบริการศูนย์การศึกษาพิเศษพบว่าผู้เข้ารับบริการสามารถช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้นได้ดีขึ้น และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีอุปสรรคในการดำรงชีวิตจะต้องได้มีการช่วยเหลือในกรณีการเข้าห้องน้ำและรับประทานอาหารจะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงควรมีการดูแลและพัฒนาระบบการดูแลศูนย์การศึกษาพิเศษอย่างต่อเนื่องและมีรูปแบบในการดูแลที่ผู้เข้ารับบริการสามารถพัฒนาตนเองได้ต่อไป แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองผู้เข้ารับบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ผู้วิจัยได้ใช้สัญลักษณ์และอักษรย่อในการวิจัยดังต่อไปนี้ แทน ค่าเฉลี่ย (Mean) S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) จากการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองผู้เข้ารับบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๓๙ คนสามารถสรุปผลเป็นตารางได้ดังนี้ ตาราง ๒ ตารางแสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะทางประชากร จำนวน ร้อยละ ๑. เพศ ชาย ๑๙ ๕๐.๐๐ หญิง ๑๙ ๕๐.๐๐ รวม ๓๘ ๑๐๐.๐๐ ๒. อายุ ต่ำกว่า ๑๘ ปี ๐ ๐ ๑๘-๒๕ ปี ๒ ๕.๓๐ ๒๕-๓๕ ปี ๖ ๑๕.๘๐ ๓๕-๕๐ ปี ๒๐ ๕๒.๖๐ ๕๐ ปีขึ้นไป ๑๐ ๒๖.๓๐ รวม ๓๘ ๑๐๐.๐๐ ๓. สถานภาพ โสด ๐ ๐ สมรส ๒๙ ๗๖.๓๐ หย่า/หม้าย/แยกกันอยู่ ๙ ๒๓.๗๐ รวม ๓๘ ๑๐๐.๐๐ ๔. ระดับการศึกษา ประถมศึกษา ๖ ๑๕.๘๐ มัธยมศึกษา ๒๘ ๗๓.๗๐ อนุปริญญา ๔ ๑๐.๕๐ ปริญญาตรี ๐ ๐ ปริญญาโท ๐ ๐ รวม ๓๘ ๑๐๐.๐๐ ตาราง ๒ (ต่อ) ลักษณะทางประชากร จำนวน ร้อยละ ๕. อาชีพ รับราชการ – รัฐวิสาหกิจ ๐ ๐ พ่อบ้าน/แม่บ้าน ๖ ๑๕.๘๐ รับจ้าง/เกษตรกร ๒๙ ๗๖.๓๐ พนักงานจ้างบริษัท ๐ ๐ ธุรกิจส่วนตัว ๓ ๗.๙๐ นิสิต/นักศึกษา ๐ ๐ รวม ๓๘ ๑๐๐.๐๐ ๖. รายได้ ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ บาท ๒๑ ๕๕.๓๐ ๕,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ บาท ๙ ๒๓.๗๐ ๑๐,๐๐๑ – ๑๕,๐๐๐ บาท ๘ ๒๑.๑๐ ๑๕,๐๐๑ – ๒๐,๐๐๐ บาท ๐ ๐ มากกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท ๐ ๐ รวม ๓๘ ๑๐๐.๐๐ จากตารางที่ ๒ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายและหญิง คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ ส่วนใหญ่มีอายุ ๓๕ – ๕๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๖๐ มีสถานภาพ สมรส คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๓๐ มีระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ ๗๓.๗๐ ประกอบอาชีพ รับจ้าง/เกษตรกร คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๓๐ และมีรายได้ ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๓๐ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย จังหวัดกาฬสินธุ์ แยกเป็นรายด้านได้ดังนี้ ตาราง ๓ แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านการบริการ การให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษ S.D ระดับความพึงพอใจ ๑. ความพึงพอใจของท่านต่อความสะดวกที่ได้รับจากหน่วยงานที่ติดต่อ ๔.๖๐ ๐.๔๙ มากที่สุด ๒. ความพึงพอใจของท่านต่อประเภทของบริการที่ตรงกับความต้องการของท่าน ๔.๔๔ ๐.๕๕ มาก ๓. ความพึงพอใจต่อช่วงเวลาในการให้บริการ ๔.๖๓ ๐.๔๘ มากที่สุด ๔. ความพึงพอใจต่อความหลากหลายของประเภทบริการที่ท่านได้ ๔.๖๕ ๐.๔๘ มากที่สุด รวม ๔.๕๘ ๐.๕๐ มากที่สุด จากตารางที่ ๓ พบว่า ความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านการบริการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๕๘) โดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑. ความพึงพอใจต่อความหลากหลายของประเภทบริการที่ท่านได้ ๒.ความพึงพอใจต่อช่วงเวลาในการให้บริการ ๓.ความพึงพอใจของท่านต่อความสะดวกที่ได้รับจากหน่วยงานที่ติดต่อ ตามลำดับ ตาราง ๔ แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านสถานที่ของหน่วยงานที่ให้บริการ การให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษ S.D ระดับความพึงพอใจ ๑. ความพึงพอใจต่อความกว้างขวางของสถานที่ที่เข้ารับบริการ ๔.๓๖ ๐.๔๘ มาก ๒. ความพึงพอใจต่อความสะอาดของหน่วยงานที่ท่านติดต่อ ๔.๓๙ ๐.๔๙ มาก ๓. ความพึงพอใจต่อจำนวนที่นั่งในห้องที่ติดต่อ ๔.๕๗ ๐.๕๐ มากที่สุด ๔. ความพึงพอใจต่อความเพียงพอของจำนวนห้องน้ำในหน่วยงานที่ติดต่อ ๔.๔๒ ๐.๗๒ มาก ๕. ความพึงพอใจต่อความสะอาดของห้องน้ำในหน่วยงานที่ติดต่อ ๔.๕๐ ๐.๕๕ มาก ๖. ความพึงพอใจต่อสถานที่ตั้งของหน่วยงานที่ให้บริการ ๔.๕๒ ๐.๕๐ มากที่สุด ๗. ความพึงพอใจต่อเส้นทางเข้าออกของหน่วยงานที่มา ติดต่อ ๔.๕๐ ๐.๕๐ มาก ๘. ความพึงพอใจต่อความชัดเจนของป้ายแสดงที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน ๓.๙๗ ๐.๗๑ มาก รวม ๔.๔๐ ๐.๕๖ มาก จากตารางที่ ๔ พบว่า ความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านการบริการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๔๐) โดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑. ความพึงพอใจต่อจำนวนที่นั่งในห้องที่ติดต่อ ๒. ความพึงพอใจต่อสถานที่ตั้งของหน่วยงานที่ให้บริการ ๓. ความพึงพอใจต่อความสะอาดของห้องน้ำในหน่วยงานที่ติดต่อและความพึงพอใจต่อเส้นทางเข้าออกของหน่วยงานที่มา ติดต่อ ตามลำดับ ตาราง ๕ แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านพนักงานที่ให้บริการ การให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษ S.D ระดับความพึงพอใจ ๑. ความพึงพอใจต่อการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ ๔.๓๙ ๐.๖๓ มาก ๒. ความพึงพอใจต่อความเต็มใจต่อการให้บริการ ๔.๒๑ ๐.๗๗ มาก ๓. ความพึงพอใจต่อจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ ๔.๕๒ ๐.๕๐ มากที่สุด ๔. ความพึงพอใจต่อความรู้ความชำนาญต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ๓.๘๔ ๐.๗๕ มาก ๕. ความพึงพอใจต่อการเอาใจท่านของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ ๔.๒๘ ๐.๖๑ มาก ๖. ความพึงพอใจต่อความรวดเร็วต่อการให้บริการ ๔.๒๑ ๐.๖๖ มาก ๗. ความพึงพอใจต่อความซื่อสัตย์เชื่อถือได้ของเจ้าหน้าที่ ๔.๕๕ ๐.๕๐ มากที่สุด ๘. ความพึงพอใจต่อความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ ๔.๐๒ ๐.๘๕ มาก ๙. ความพึงพอใจต่อความสุภาพของการให้บริการ ๔.๑๕ ๐.๗๘ มาก ๑๐. ความพึงพอใจต่อความสามารถในการแก้ปัญหา ๑๑. ความพึงพอใจต่อการสื่อสารที่ใช้คำพูดเข้าใจง่าย ๓.๙๗ ๐.๗๕ มาก ๑๒. ความพึงพอใจต่อความถูกต้องต่อการให้บริการ ๔.๕๕ ๐.๕๐ มากที่สุด ๑๓. ความพึงพอใจต่อการรับฟังความคิดเห็นของท่าน ๔.๓๖ ๐.๔๘ มาก รวม ๔.๒๕ ๐.๖๕ มาก จากตารางที่ ๕ พบว่า ความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านการบริการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๒๕) โดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑. ความพึงพอใจต่อความซื่อสัตย์เชื่อถือได้ของเจ้าหน้าที่และความพึงพอใจต่อความถูกต้องต่อการให้บริการ ๒.ความพึงพอใจต่อจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ ๓.ความพึงพอใจต่อการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ ตามลำดับ ตาราง ๖ แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านขั้นตอนที่ให้บริการ การให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษ S.D ระดับความพึงพอใจ ๑. ความพึงพอใจต่อความสะดวกของขั้นตอนในการรับบริการ ๔.๔๗ ๐.๕๐ มาก ๒. ความพึงพอใจต่อความรวดเร็วต่อการให้บริการ ๔.๐๗ ๐.๗๑ มาก ๓. ความพึงพอใจต่อความถูกต้องของขั้นตอนต่อการทำงาน ๓.๙๗ ๐.๖๓ มาก ๔. ความพึงพอใจต่อความไม่ซ้ำซ้อนในขั้นตอนการทำงาน ๔.๓๙ ๐.๔๙ มาก ๕. ความพึงพอใจต่อช่วงเวลาในการให้บริการ ๔.๓๖ ๐.๔๘ มาก รวม ๔.๒๕ ๐.๕๖ มาก จากตารางที่ ๖ พบว่า ความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านการบริการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๒๕) โดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑.ความพึงพอใจต่อความสะดวกของขั้นตอนในการรับบริการ ๒.ความพึงพอใจต่อความไม่ซ้ำซ้อนในขั้นตอนการทำงาน ๓.ความพึงพอใจต่อช่วงเวลาในการให้บริการ ตามลำดับ ปัญหาที่ได้รับจากการรับบริการ เกิดปัญหาการทิ้งขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งได้แนะนำวิธีการกำจัดขยะในศูนย์การศึกษาพิเศษพบว่าปัญหาในเรื่องของขยะมูลฝอยมีการกำจัดดีขึ้น ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มคนพิการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์หน่วยบริการสมเด็จ : กรณีศึกษาที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ การคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ จากการคัดกรอง พบว่า ผู้เข้ารับบริการศูนย์การศึกษาพิเศษแบ่งความพิการที่พบได้ทั้งหมด ๖ ประเภท จากทั้งหมด ๙ ประเภท ดังนี้ ๑. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน ๕ คน เป็นชาย ๕ คน ๒. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน ๑๓ คน เป็นชาย ๘ คน หญิง ๕ คน ๓. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ จำนวน ๘ คนเป็นชาย ๘ คน ๔. บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ จำนวน ๑ คน เป็นหญิง ๑ คน ๕. บุคคลออทิสติก จำนวน ๒ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๑ คน ๖. บุคคลพิการซ้ำซ้อน จำนวน ๑๐ คน เป็นชาย ๘ คน หญิง ๒ คน แบบประเมินความสุขและคุณภาพชีวิตคนพิการ จากการประเมินตามแบบประเมินความสุขและคุณภาพคนพิการ สามารถสรุปได้ดังนี้ คำนิยามความสุขในความคิดเห็นของคนพิการ หมายถึง ผู้เข้ารับบริการหรือคนพิการสวามารถช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้นได้ สามารถตอบโต้การผู้สนทนาได้ ระดับความสุขของคนพิการหลังจากได้เข้ารับบริการจากศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในระดับมากที่สุด และคุณภาพชีวิตของคนพิการวัดจากแบบประเมินมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พบว่า คุณภาพชีวิตคนพิการหลังเข้ารับบริการอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อเข้ารับบริการศูนย์การศึกษาพิเศษพบว่าผู้เข้ารับบริการสามารถช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้นได้ดีขึ้น และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีอุปสรรคในการดำรงชีวิตจะต้องได้มีการช่วยเหลือในกรณีการเข้าห้องน้ำและรับประทานอาหารจะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงควรมีการดูแลและพัฒนาระบบการดูแลศูนย์การศึกษาพิเศษอย่างต่อเนื่องและมีรูปแบบในการดูแลที่ผู้เข้ารับบริการสามารถพัฒนาตนเองได้ต่อไป จากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการศูนย์การศึกษาพิเศษ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายและหญิง คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ ส่วนใหญ่มีอายุ ๓๕ – ๕๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๖๐ มีสถานภาพ สมรส คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๓๐ มีระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ ๗๓.๗๐ ประกอบอาชีพ รับจ้าง/เกษตรกร คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๓๐ และมีรายได้ ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๓๐ ความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านการบริการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๕๘) โดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑. ความพึงพอใจต่อความหลากหลายของประเภทบริการที่ท่านได้ ๒.ความพึงพอใจต่อช่วงเวลาในการให้บริการ ๓.ความพึงพอใจของท่านต่อความสะดวกที่ได้รับจากหน่วยงานที่ติดต่อ ตามลำดับ ความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านการบริการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๔๐) โดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑. ความพึงพอใจต่อจำนวนที่นั่งในห้องที่ติดต่อ ๒. ความพึงพอใจต่อสถานที่ตั้งของหน่วยงานที่ให้บริการ ๓. ความพึงพอใจต่อความสะอาดของห้องน้ำในหน่วยงานที่ติดต่อและความพึงพอใจต่อเส้นทางเข้าออกของหน่วยงานที่มา ติดต่อ ตามลำดับ ความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านการบริการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๒๕) โดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑. ความพึงพอใจต่อความซื่อสัตย์เชื่อถือได้ของเจ้าหน้าที่และความพึงพอใจต่อความถูกต้องต่อการให้บริการ ๒. ความพึงพอใจต่อจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ ๓. ความพึงพอใจต่อการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ ตามลำดับ ความพึงพอใจต่อการให้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยบริการสมเด็จ ที่ตั้งเทศบาลตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านการบริการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๒๕) โดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ๑.ความพึงพอใจต่อความสะดวกของขั้นตอนในการรับบริการ ๒.ความพึงพอใจต่อความไม่ซ้ำซ้อนในขั้นตอนการทำงาน ๓.ความพึงพอใจต่อช่วงเวลาในการให้บริการ ตามลำดับ ปัญหาที่ได้รับจากการรับบริการ เกิดปัญหาการทิ้งขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งได้แนะนำวิธีการกำจัดขยะในศูนย์การศึกษาพิเศษพบว่าปัญหาในเรื่องของขยะมูลฝอยมีการกำจัดดีขึ้น ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อ บรรณานุกรม คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์การศึกษาพิเศษ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๕๕. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น. ๒๕๔๕.  
ข้อเสนอแนะ : ควรมีการจัดบริการด้านสุขภาพ เช่น การตรวจร่างกาย ทันตสุขภาพ และวัคซีน ควบคู่เป็นองค์รวม  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)