ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเรื้องรังโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเรือข่ายตำบลศรีสมเด็จ
ผู้แต่ง : กิ่งแก้ว สาระขันธ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย โดยพบว่าประชากร 1 ใน 5 ของประเทศมีปัญหาสุขภาพจิต ทำให้เกิดความพิการและสูญเสียเป็นจำนวนมาก เพราะปัญหาสุขภาพจิตมิใช่ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเท่านั้น รวมไปถึงญาติ ผู้ดูแลและบุคคลในสังคม ยังพบว่าผู้ป่วยจิตเวช ยังขาดโอกาสและแรงสนับสนุนทางสังคม ทำให้เป็นตกเป็นเหยื่อในรูปแบบต่างๆหรือเสี่ยงต่อการก่อคดีอุกฉกรรจ์ และยังพบว่าญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาระสูงต่อการดูแล ส่งผลให้ญาติมีความท้อแท้เบื่อหน่าย หมดหวังและกำลังใจในการรักษา ประกอบกับอาการผู้ป่วยไม่คงที่ กำเริบบ่อยครั้ง เกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นและชุมชน ญาติหรือผู้ดูแลจึงต้องล่ามขังไว้และก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบตามมา นอกจากนี้ผู้ป่วยมักมีอาการกำเริบซ้ำบ่อยซึ่งมีผลกระทบต่อความรุนแรงของอาการมากขึ้นและอาการเรื้อรังไม่หายขาดส่งผลเสียต่อชีวิตของผู้ป่วยและญาติ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการรักษาและดูแลต่อเนื่องในชุมชนที่สำคัญคือการติดตามเยี่ยมในชุมชนเพื่อไม่ให้อาการทางจิตกำเริบซ้ำเมื่ออาการปกติผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป สำหรับอำเภอสมเด็จ พบว่ามีผู้ป่วยจิตเภทมารับบริการแบบผู้ป่วยนอก ในปีงบประมาณ 2557 – 2559 มีจำนวนดังนี้ 396 , 421 และ 527 รายตามลำดับ มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในปี 2559 จำนวน 590 คน ร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ 43.19 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในปี 2556 - 2559 คิดเป็น 7.44 , 2.98,6.5 และ 8.25 ตามลำดับ สถานการณ์ของตำบลศรีสมเด็จที่รับการรักษาต่อเนื่องมีผู้ป่วยจำนวน 50 ราย ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบและสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยอาการกำเริบนั้นมากจากการขาดยารับประทานยาไม่ต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่ช่วยป้องการอาการกำเริบของผู้ป่วยคือการดูแลติดตามเยี่ยมที่บ้านเพื่อประเมินและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแสงจึงได้จัดทำโครงการการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังตำบลศรีสมเด็จโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน 2. เพื่อพัฒนาระบบการดูแลและลดอาการกำเริบหรือกลับเป็นซ้ำของอาการทางจิตในชุมชน 3. เพื่อลดอัตราการขาดยาของผู้ป่วย 4. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและลดภาระของผู้ดูแลได้ 4. เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. กลุ่มผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในตำบลศรีสมเด็จ จำนวน 50 คน 2. ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและภาคีเครือข่าย จำนวน 70 คน  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.จัดทำทะเบียนผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังตำบลศรีสมเด็จ 2. จัดประชุมเครือข่าย/กำหนดบทบาทหน้าที่ในการดูแลและติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านโดยประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. อปท. อสม. ผู้นำชุมชนโดยการให้ข้อมูลและชี้แจงร่วมกันวางแผนในการดำเนินการ 3. จัดทำแนวทางในการดูแลและติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนและชี้แจงให้ภาคีเครือข่ายทราบร่วมกัน 4. จัดอบรมแกนนำและผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนที่บ้าน 5. ดำเนินการและติดตามเยี่ยม และดูแลต่อเนื่องโดยทีมหมอครอบครัวโดยการประเมินปัญหาให้ข้อมูลและความรู้แก่ผู้ดูแล 6. เฝ้าระวังอาการกำเริบและอาการกลับเป็นซ้ำโดยเริ่มจากผู้ดูแล แกนนำคนในชุมชน และเจ้าหน้าที่ในรพ.สต. 7. ส่งเสริมให้ชุมชนให้มีบทบาทผลักดันให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน 8. ส่งต่อข้อมูลกับพี่เลี้ยงและประสานการดูแลรักษาต่อหากมีอาการกำเริบหรือจำเป็นต้องได้รับการรักษาและเกินขีดความสามารถ 9. ประเมินผลการดูแลสุขภาพผู้ป่วยรายบุคลโดยสหวิชาชีพ 10. สรุปผลการดำเนินงาน และคืนข้อมูลแก่ญาติและชุมชน  
     
ผลการศึกษา : การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) ที่เกิดจากการร่วมดำเนินงานของภาคีเครือข่ายสุขภาพของตำบลศรีสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเรือข่ายตำบลศรีสมเด็จ ตารางที่ 1 ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ผลงาน บรรลุตามวัตถุประสงค์ 1. เกิดเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชนขึ้น ≥ ร้อยละ 70 ร้อยละ 80  2. พัฒนาระบบการดูแลและลดอาการกำเริบหรือกลับเป็นซ้ำของอาการทางจิตในชุมชน ลดอัตราการขาดยาของผู้ป่วย ≥ ร้อยละ 70 ร้อยละ 80  3.พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและลดภาระของผู้ดูแลได้ ≥ ร้อยละ 50 ร้อยละ 70  4. ผู้ป่วยจิตเวชสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข ≥ ร้อยละ 50 ร้อยละ 50  5. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวช ≥ ร้อยละ 100 ร้อยละ 100  6. ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชในตำบลศรีสมเด็จทุกรายได้รับการติดตามดูแลต่อเนื่องจากภาคีเครือข่าย ≥ ร้อยละ 70 ร้อยละ 100  7. ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชทุกรายได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิผู้พิการ ≥ ร้อยละ 70 ร้อยละ 100  8. การจัดสรรงบประมาณทำให้เกิดแกนนำและผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั่วถึง ≥ ร้อยละ 70 ร้อยละ 100  ประชากรในพื้นที่ ได้รับการคัดกรองโรคจิต โดย ทีมงานอสม.และเจ้าหน้าที่ จำนวน 165 คน ตารางที่ 1 ผลการดำเนินงานการคัดกรองโรคจิต ปี2560 ลำดับ ตัวชี้วัด เกณฑ์ ผลงาน หมายเหตุ 1 ร้อยละของประชากรในพื้นที่ได้รับการคัดกรองโรคจิต ร้อยละ 80 87.60 2 ร้อยละของผู้ป่วยโรคจิตได้รับการรักษาด้วยยาต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน ร้อยละ70 100.00 3 ร้อยละของผู้ป่วยโรคจิตเข้าถึงบริการสุขภาพต่อประชากรที่คาดการณ์ว่าป่วยเป็นโรคจิตในพื้นที่ ร้อยละ80 85.05 4 ร้อยละของผู้ป่วยโรคจิต 3 เดือนหลังรับการรักษามีความสามารถโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 90.10 5 ร้อยละของผู้ป่วยโรคจิต 3 เดือนหลังรับการรักษามีคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70 86.02 6 อัตราการเข้าถึงบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ร้อยละ 50 43.65 ตารางที่ 2 ผลการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชของตำบลศรีสมเด็จ ปี งบประมาณ 2559-2560 ตัวชี้วัด ปี 2559 ปี 2560 ร้อยละผู้ป่วยโรคจิตเข้าถึงบริการ 65.00 85.05 ร้อยละผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการ 40.12 43.65 อัตราฆ่าตัวตายสำเร็จต่อแสนประชากร 0.04 0.00 * ที่มาของข้อมูล รายงาน 506 DS online ตารางที่ 3 แสดงการแบ่งระดับคะแนนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเวช ก่อนและหลังรับการรักษา ระดับคุณภาพชีวิต และ ก่อนรักษา หลังรักษา ความสามารถในการดูแลตนเอง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ระดับคุณภาพชีวิต ไม่ดี 10 20.00 0 0 ปานกลาง 22 44.00 9 18.00 ดี 18 36.00 31 62.00 ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลศรีสมเด็จ ตารางที่ 4 ผลการดำเนินงานตามโครงการ ตัวชี้วัด ปี 2559 ปี 2560 ร้อยละผู้ป่วยโรคจิตเข้าถึงบริการ 65.0 85.05 ร้อยละผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการ 31.1 43.65 อัตราฆ่าตัวตายสำเร็จต่อแสนประชากร 0.04 0.0 * ที่มาของข้อมูล รายงาน 506 DS online ตารางที่ 6 ผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดของการดำเนินงานตามโครงการ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ผลการดำเนินงาน แหล่งข้อมูล/หลักฐานเชิงประจักษ์ ร้อยละของตำบลมีการพัฒนาระบบการบริการวิกฤตสุขภาพจิต ร้อยละ 50.0 ร้อยละ 50.0 ( ระดับ 3) แบบประเมินผลมาตรฐานการดำเนินงานสุขภาพจิตในรพ.สต. อำเภอผ่านคุณลักษณะอำเภอป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายที่เข้มแข็ง ระดับ 5 ประเมินเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2561 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จไม่เกิน 6.5 ต่อแสนประชากร ไม่เกิน 6.5 ต่อแสนประชากร ร้อยละ 5.0 ต่อแสนประชากร โปรแกรม 506 DS HDCจังหวัดกาฬสินธุ์ การติดตามดูแลผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ร้อยละ 100.0 โปรแกรม 506 DS HDCจังหวัดกาฬสินธุ์ 5. สรุป ปัจจัยความสำเร็จผู้บริหารในหน่วยงานให้ความสำคัญชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชนระบบการนิเทศติดตามการดำเนินงาน ทำให้ระบบการทำงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องการทำงานเป็นทีม ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเรือข่ายตำบลศรีสมเด็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์ มากที่สุด คือภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวช ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชในตำบลศรีสมเด็จทุกรายได้รับการติดตามดูแลต่อเนื่องจากภาคีเครือข่าย ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชทุกรายได้รับการขึ้นทะเบียนสิทธิผู้พิการ และ การจัดสรรงบประมาณทำให้เกิดแกนนำและผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั่วถึง ร้อยละ 100 ลองลงมา คือ เกิดเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชนขึ้น และ พัฒนาระบบการดูแลและลดอาการกำเริบหรือกลับเป็นซ้ำของอาการทางจิตในชุมชน ลดอัตราการขาดยาของผู้ป่วย ร้อยละ 80  
ข้อเสนอแนะ : ปัจจัยความสำเร็จ 1. ผู้บริหารในหน่วยงานให้ความสำคัญ 2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชน 3. ระบบการนิเทศติดตามการดำเนินงาน ทำให้ระบบการทำงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 4. การทำงานเป็นทีม จากการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายแบบบูรณาการ ของอำเภอสมเด็จ สามารถตอบสนองการพัฒนาคุณภาพด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชนแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมได้มากขึ้น จึงควร ควรเผยแพร่รูปแบบการดำเนินงาน DHS ด้านสุขภาพจิตและจิตเวชตามแนวทางการดำเนินงานของอำเภอสมเด็จให้กว้างขวาง และขยายผลการดำเนินงานด้วยกลไก DHS ในการแก้ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ต่อไป 5. แผนพัฒนาต่อเนื่อง 1. จัดกระบวนการให้ความรู้ เพื่อแก้ไขความเชื่อ และทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันกับผู้ป่วยแก่ประชาชน และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยให้มากขึ้น เพื่อลดข้อจัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในชมชน 2. พัฒนาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)