|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : .แนวทางการแก้ไขภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
ฤทธิชัย สามะหาดไทย,เพ็ญพร โคสุวรรณ,ศุภลักษณ์ สุวรรณรังษี,บุญส่ง มานะงษ์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
.สืบเนื่องจาก การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่เด็กของอำเภอสมเด็จพบว่า ตำบลแซงบาดาลมีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจำนวนมากที่สุดของอำเภอ อัตราโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปีสูง ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการ และการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพโดยรวม จากการประชาคมภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพตำบล จึงกำหนดให้เป็นวาระตำบลเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ศึกษาโดยการใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในกลุ่มประชากรตัวอย่างเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะโลหิตจาง จำนวน 51 คน และ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(steak holder) ได้แก่ ผู้ดูแลเด็ก 51 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คน ผู้นำชุมชน อสม. อปท. โดยใช้กระบวนการทำงานตาม PAOR วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ 4 ตัวประกอบคือ การวางแผนเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ศึกษาบริบทและเก็บข้อมูล การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนผลเพื่อจะทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ,แบบสอบถาม ,การสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลโปรแกรมSPSS ด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดสูงสุด
ผลการวิจัยพบข้อมูล ครอบคลุม 3 ลักษณะสำคัญ คือ สภาพปัญหาความรุนแรงของปัญหาโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี ข้อมูลสาเหตุของปัญหาโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปีและข้อมูลด้านบริโภคนิสัยของเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาลเกิดจากทั้งการขาดธาตุเหล็ก และไม่ใช่การขาดธาตุเหล็ก มีการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมจนเกิดโครงการ 4 โครงการ ได้แก่ 1)โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจาง 2)โครงการหมู่บ้านต้นแบบภาวะโลหิตจาง 3) โครงการชุมชนเข็มแข็งในการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก 4) โครงการรณรงค์หมู่บ้านชุมชนตำบลปลอดภาวะโลหิตจาง แต่กระนั้น เนื่องจากตำบลแซงบาดาลเป็นชุมชนภูไทที่มีแนวการดำเนินชีวิตและความเชื่อที่สืบทอดมายาวนาน มีการเลี้ยงดูบุตรหลานตามความเชื่อแบบดั้งเดิม ทำให้ยังมีปัญหาเรื่องความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อในการดูแลบุตรหลาน จึงควรจัดแผนการเรียนรู้แก่มารดา และผู้ปกครองที่สามารถกลมกลืน วัฒนธรรมและความเชื่อ เพื่อลดปัญหาดังกล่าว นอกจากนั้นควรผลักดันให้ประเด็นปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี เป็นวาระตำบล และถูกบรรจุในแผนพัฒนาสุขภาพ และกำหนดข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมให้จัดทำแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหา และวัดผลลัพธ์ในระยะยาว
|
|
วัตถุประสงค์ : |
.ความมุ่งหมายทั่วไป
เพื่อหาแนวทางการแก้ไขภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ความมุ่งหมายเฉพาะ
1. เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาล
2. เพื่อศึกษาแนวทางทางการแก้ไขภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาล
3. เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางในการแก้ไขภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี
ในเขตตำบลแซงบาดาล
4. เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการแก้ไขภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปี
ในเขตตำบลแซงบาดาล
|
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling )
- เด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตตำบลแซงบาดาล ที่มีภาวะซีด จำนวน 51 คน
- กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(steak holder) ได้แก่ ผู้ดูแลเด็ก 51 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คน ผู้นำชุมชน อสม. อปท.
|
|
เครื่องมือ : |
แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
โดยใช้กระบวนการ PAOR
1.การวางแผน (Plan)
• ศึกษาบริบทและปัญหา
• ประชุมชี้แจ้งวัตถุประสงค์
• ประชุมวางแผนปฏิบัติการ
•
2.การปฏิบัติ (Action)
• ปฏิบัติตามแผนงานโครงการ
•
3.การสังเกต (Observes)
• สังเกตติดตาม
• ประเมินผลการดำเนิน
4.การสะท้อนผล (Reflection)
• สรุปผล
• จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
1. บริบท และปัญหา
1) เป็นชุมชนภูไทที่มีแนวทางการดำเนินชีวิตและความเชื่อที่สืบทอดมายาวนาน
2)มีการเลี้ยงดูบุตรหลานตามความเชื่อแบบดั้งเดิมทำให้ยังมีทำให้ยังมีปัญหาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และความเชื่อในการดูแลบุตรหลาน
2. ทำการสนทนากลุ่ม
- Steak holder เข้ามาร่วมรับรู้ปัญหา ร่วมคิด ร่วมวางแผนจนเกิด โครงการ 4 โครงการ ได้แก่
1)โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจาง
2)โครงการหมู่บ้านต้นแบบภาวะโลหิตจาง
3) โครงการชุมชนเข็มแข็งในการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก
4) โครงการรณรงค์หมู่บ้านชุมชนตำบลปลอดภาวะโลหิตจาง
วาระสุขภาพตำบลแซงบาดาล
1. ชุมชนเข้มแข็งเบิ่งแงงแม่และเด็ก
2. งานศพปลอดเหล้าและการพนัน 100%
3. ลดการใช้สารเคมีด้วยเกษตรอินทรีย์
3.ผลของการใช้แนวทางในการแก้ไขปัญหา
1)หลังจากจัดแผนการเรียนรู้แก่มารดา และผู้ดูแลเด็ก พบว่า มีความรู้เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 41.33 เป็นร้อยละ 77.03
2) เกิดวาระสุขภาพตำบลในการขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก ดังนี้
“ชุมชนเข้มแข็งเบิ่งแงงแม่และเด็ก”
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
เพื่อให้การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กสามารถปัญหาแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 0-5 ปีได้อย่างมีคุณภาพ ควรมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|