ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหตสูง บ้านอู้ หมู่ 4
ผู้แต่ง : กัญภัค ยุบลมูล,รุ่งฤดี มนสิมา, เข็มทอง ฝ่ายทอง ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกินการดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้องและการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาไชย มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเรื้อรัง บ้านอู้ หมู่ 4 ปีงบประมาณ 2560 ขึ้นโดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังในชุมชนและชุมชนรู้จักใช้สมุนไพรในครัวเรือน  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ในชุมน 2.เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม 3.เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่มีภาวะแทรกซ้อน  
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 50 คน กลุ่มเสี่ยง 20 คน  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ตรวจสภาวะสุขภาพและสมรรถนะร่างกายกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยงก่อนดำเนินงานโครงการ 2. จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลักการแพทย์วิถีธรรมหมอเขียว จำนวน 1 วัน 3. ตรวจสภาวะสุขภาพและสมรรถนะร่างกายกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยงหลังดำเนินงานโครงการ 6 เดือน 4. สำรวจพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการอบรมหลังดำเนินงานโครงการ 6 เดือน  
     
ผลการศึกษา : .1. ข้อมูลทั่วไป จากการศึกษา จำนวนประชากรกลุ่มที่ศึกษา 70คน คิดเป็นหญิงร้อยละ 88.58คิดเป็นชายร้อยละ 11.42 อายุสูงสุด 72 ปี ต่ำสุด 34 ปี อายุเฉลี่ย 46 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสมากที่สุดร้อยละ 88.57 รองลงมาหม้าย ร้อยละ 7.14 และหย่าร้างร้อยละ 4.28 ประชาชนถือศาสนาพุทธร้อยละ 100 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ ประถมศึกษา ร้อยละ 51.42 รองลงมาจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/ปวช. ร้อยละ 24.28และจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวส. ร้อยละ21.42 และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรร้อยละ 51.43 รองลงมาคือ อาชีพรับจ้างร้อยละ 40.00 และอาชีพคาขาย ร้อยละ 5.71 รายได้ของครอบครัวต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ 20,001 ถึง 30,000 ร้อยละ 45.7.1 รองลงมามีรายได้อยู่ที่ 10,001 ถึง 20,000 ร้อยละ 34.28 และรายได้ ต่ำกว่า 10000 บาท ร้อยละ 17.14 ระยะเวลาป่วยส่วนงใหญ่ 5-10 ปีร้อยละ 48.57 รองลงมา 1-5 ปีร้อยละ 37.14และ มากกว่า 10 ปีขึ้นไปร้อยละ 11.42 ตารางที่ 1จำนวนและร้อยละของกลุ่มที่ศึกษา จำแนกตามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทั่วไป จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 8 11.42 หญิง 62 88.58 อายุ (ปี) 34 – 43 14 20.00 44 – 54 39 55.71 55 ปีขึ้นไป 17 24.28 อายุสูงสุด 72 ปี ต่ำสุด 34ปี อายุเฉลี่ย 46 ปี สถานภาพ สมรส 62 88.57 หม้าย หย่าร้าง 5 3 7.14 4.28 ศาสนา พุทธ 124 100.0 คริสต์ 0 0.00 อิสลาม 0 0.00 อื่นๆ 0 0.00 ระดับการศึกษา ไม่ได้เรียน 0 0.00 ประถมศึกษา 36 51.42 มัธยมศึกษาตอนต้น/ปวช. 17 24.28 มัธยมศึกษาปลาย/ปวส. 15 21.41 อนุปริญญา/ปวส. 0 0.00 ปริญญาตรี 2 2.85 อาชีพ รับราชการ 2 2.85 รับจ้าง 28 40.00 เกษตรกร 36 51.43 ค้าขาย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำกว่า 10000 บาท 100001 – 20000 บาท 20001 –30000 บาท มากกว่า 30000 บาท ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มป่วย 1 ปี 1-5 ปี 5 -10 ปี มากกว่า 10 ปีขึ้นไป 4 12 24 32 2 รายได้เฉลี่ย 24,530 บาท 2 26 34 8 5.71 17.14 34.28 45.71 2.85 2.85 37.14 48.57 11.42 2. ผลการตรวจร่างกายและการประเมินสมรรถนะร่างกายก่อนการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากการตรวจสุขภาพและประเมินสมรรถนะร่างกาย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 125 mg/dl, 126-154 mg/dl, 155-182 mg/dl และมากกว่า 183 mg/dl คิดเป็นร้อยละ 81.42, 8.57, 4.28และ 5.71 ตามลำดับระดับความดันโลหิตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 139/89 mm/Hg ร้อยละ 8571, 140/90 - 159/99 mm/Hgร้อยละ 11.42 160/100 - 179/109 mm/Hg และ มากกว่า 180/100 mm/Hg ร้อยละ 1.42เท่ากันรอบเอวปกติ ร้อยละ 40 และเกินเกณฑ์ ร้อยละ 60 ดัชนีมวลกาย ≤ 18.5 ร้อยละ 2.85 และ ≥ 23ร้อยละ 51.42 การทดสอบสมรรถนะพบว่า ลุกยืน 30 วินาที (60 ปีขึ้นไป)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 40.00 งอศอก 30 วินาที (60 ปีขึ้นไป)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 46.67 ลุกเดิน 8 ฟุต (60 ปีขึ้นไป)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ8667 ก้าวขายกสูง 2 นาที (60 ปีขึ้นไป)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ3667เอื้อมมือแตะด้านหลัง (60 ปีขึ้นไป)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ60.00เอื้อมมือแตะปลายเท้า (60 ปีขึ้นไป)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 10.00ดันพื้น (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 59 ปี)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ10.00และนอน-ลุกนั่ง (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 59 ปี)ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 42.86 ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของการตรวจสุขภาพและการประเมินสมรรถนะร่างกาย ก่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผลการตรวจร่างกาย จำนวน ร้อยละ ระดับน้ำตาลในเลือด น้อยกว่าหรือเท่ากับ 125 mg/dl 57 81.42 126-154 mg/dl 6 8.57 155-182 mg/dl 3 4.28 มากกว่า 183 mg/dl 4 5.71 . ระดับความดันโลหิต น้อยกว่าหรือเท่ากับ 139/89 mm/Hg 60 85.71 140/90 - 159/99 mm/Hg 8 11.42 160/100 - 179/109 mm/Hg 1 1.42 มากกว่า 180/100 mm/Hg 1 1.42 ชีพจร น้อยกว่าหรือเท่ากับ 80 ครั้ง/นาที 40 57.14 มากกว่า 81 ครั้ง/นาที 30 42.85 รอบเอว ปกติ (ชาย ≤ 90 ซม. หญิง ≤80 ซม.) 28 40 เกินเกณฑ์ 42 60 ดัชนีมวลกาย ≤ 18.5 (ผอม) 2 2.85 18.5-22.9 (ปกติ) 31 44.28 ≥ 23 (อ้วน) 36 51.42 ทดสอบสมรรถภาพ 8.1 ลุกยืน 30 วินาที (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 12 40.00 ดี (ปกติ) 18 60.00 8.2 งอศอก 30 วินาที (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 14 46.67 ดี (ปกติ) 16 53.33 8.3 ลุกเดิน 8 ฟุต (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 26 86.67 ดี (ปกติ) 4 13.33 8.4 ก้าวขายกสูง 2 นาที (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 11 36.67 ดี (ปกติ) 19 63.33 8.5 เอื้อมมือแตะด้านหลัง (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 18 60.00 ดี (ปกติ) 12 40.00 8.6 เอื้อมมือแตะปลายเท้า (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 3 10.00 ดี (ปกติ) 27 90.00 8.7 ดันพื้น (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 59 ปี) ต่ำกว่าเกณฑ์ 3 10.00 ดี (ปกติ) 27 90.00 ต่ำ 3 7.14 ค่อนข้างต่ำ 2 4.76 ปานกลาง 18 42.86 ดี(ปกติ) 7 16.67 ดีมาก 12 28.57 8.8 นอน-ลุกนั่ง (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 59 ปี) ต่ำ 18 42.86 ค่อนข้างต่ำ 3 7.14 ปานกลาง 15 35.72 ดี(ปกติ) 3 7.14 ดีมาก 3 7.14 3. ผลการตรวจร่างกายและการประเมินสมรรถนะร่างกายหลังการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม4 เดือน จากการตรวจสุขภาพและประเมินสมรรถนะร่างกาย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 125 mg/dl, 126-154 mg/dl, 155-182 mg/dl และมากกว่า 183 mg/dl คิดเป็นร้อยละ 90.00, 8.57, 1.42และร้อยละ0ตามลำดับระดับความดันโลหิตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 139/89 mm/Hg , 140/90 - 159/99 mm/Hg,160/100 - 179/109 mm/Hg และ มากกว่า 180/100 mm/Hg ร้อยละ 88.57,10.00,1.42 และร้อยละ 0 รอบเอวปกติ ร้อยละ 52.58และเกินเกณฑ์ ร้อยละ 47.15ดัชนีมวลกาย ≤ 18.5 ร้อยละ 2.85 และ ≥ 23 ร้อยละ 42.85การทดสอบสมรรถนะพบว่า ลุกยืน 30 วินาที (60 ปีขึ้นไป)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 33.33งอศอก 30 วินาที (60 ปีขึ้นไป)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 43.33 ลุกเดิน 8 ฟุต (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ90.00ก้าวขายกสูง 2 นาที (60 ปีขึ้นไป)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ30.00เอื้อมมือแตะด้านหลัง (60 ปีขึ้นไป)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ60.00เอื้อมมือแตะปลายเท้า (60 ปีขึ้นไป)ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 10.00ดันพื้น (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 59 ปี) ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ4.76และนอน-ลุกนั่ง (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 59 ปี)ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 23.81 ตารางที่ 3จำนวนและร้อยละของการตรวจสุขภาพและการประเมินสมรรถนะร่างกายหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผลการตรวจร่างกาย จำนวน ร้อยละ ระดับน้ำตาลในเลือด น้อยกว่าหรือเท่ากับ 125 mg/dl 63 90 126-154 mg/dl 6 8.57 155-182 mg/dl 1 1.42 มากกว่า 183 mg/dl 0 0 . ระดับความดันโลหิต น้อยกว่าหรือเท่ากับ 139/89 mm/Hg 62 88.57 140/90 - 159/99 mm/Hg 7 10 160/100 - 179/109 mm/Hg 1 1.42 มากกว่า 180/100 mm/Hg 0 0 ชีพจร น้อยกว่าหรือเท่ากับ 80 ครั้ง/นาที 42 60 มากกว่า 81 ครั้ง/นาที 28 40 รอบเอว ปกติ (ชาย ≤ 90 ซม. หญิง ≤80 ซม.) 37 52.58 เกินเกณฑ์ 33 47.15 ดัชนีมวลกาย ≤ 18.5 (ผอม) 2 2.85 18.5-22.9 (ปกติ) 38 54.28 ≥ 23 (อ้วน) 30 42.85 ทดสอบสมรรถภาพ 8.1 ลุกยืน 30 วินาที (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 10 33.33 ดี (ปกติ) 20 66.67 8.2 งอศอก 30 วินาที (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 13 43.33 ดี (ปกติ) 17 56.67 8.3 ลุกเดิน 8 ฟุต (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 27 90.00 ดี (ปกติ) 3 10.00 8.4 ก้าวขายกสูง 2 นาที (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 9 30.00 ดี (ปกติ) 21 70.00 8.5 เอื้อมมือแตะด้านหลัง (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 18 60.00 ดี (ปกติ) 12 40.00 8.6 เอื้อมมือแตะปลายเท้า (60 ปีขึ้นไป) ต่ำกว่าเกณฑ์ 3 10.00 ดี (ปกติ) 27 90.00 8.7 ดันพื้น (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 59 ปี) ต่ำกว่าเกณฑ์ 2 4.76 ค่อนข้างต่ำ 1 2.38 ปานกลาง 17 40.48 ดี(ปกติ) 8 19.05 ดีมาก 14 33.33 8.8 นอน-ลุกนั่ง (น้อยกว่าหรือเท่ากับ 59 ปี) ต่ำ 10 23.81 ค่อนข้างต่ำ 3 7.14 ปานกลาง 19 45.24 ดี(ปกติ) 6 14.29 ดีมาก 4 9.52 4. เปรียบเทียบผลการตรวจร่างกายของกลุ่มเป้าหมายก่อน และหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากการฝึกทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลสุขภาพโดยการประยุกต์ใชั แนวทางของแพทย์วิถีธรรม และกลุ่มเป้าหมายนำทักษะที่ได้รับการฝึกไปใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองที่บ้าน มีการติดตามเยี่ยมบ้านโดยอสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 เดือนต่อเนื่องพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้ แผนภูมิที่ 1 เปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดก่อน- หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4. ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ผลงาน บรรลุตามวัตถุประสงค์ เกิดรูปแบบในการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตและบริบทชุมชม เกิดรูปแบบการดูแลสุขภาพโดยการประยุกต์ใช้แนวทางแพทย์วิถีธรรม  กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผ่านกระบวนการรับ เปลี่ยนพฤติกรรมจนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ≥ ร้อยละ80 ร้อยละ 100  ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ผลงาน บรรลุตามวัตถุประสงค์ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยมีระดับน้ำตาลปกติเมื่อเทียบผลตามปิงปองจราจร 7 สีหลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อย4 เดือน ≥ ร้อยละ20 ร้อยละ 90  กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยมีระดับความดันโลหิตปกติเมื่อเทียบผลตามปิงปองจราจร 7 สีหลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อย4 เดือน ≥ ร้อยละ20 ร้อยละ 88.57   
ข้อเสนอแนะ : ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน ปัญหาการบันทึกกิจกรรมที่บ้าน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีปัญหาด้านสายตา แนวทางแก้ไขคือทำแบบบันทึกให้เหมาะสม หรือใช้รูปภาพแทน ข้อเสนอแนะ ควรแนะนำให้กลุ่มเป้าหมายปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และขยายวงการพัฒนาไปสู่กลุ่มเสี่ยงโรคเรื่อรังอื่นๆต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)