ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : เก็บข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระยะไม่เกิน 6 เดือน (Golden period)
ผู้แต่ง : คณาพร วงษ์สีดาแก้ว, อนุวัฒน์ เซิบรัมย์, นุชวดี จันทุดม ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคระบบประสาทที่พบได้บ่อย เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ และเป็นต้นเหตุทำให้เกิดความพิการและความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศใน ปี 2556-2558 เท่ากับ 36.13, 38.66 และ 42.62 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รอดชีวิตส่วนใหญ่มักมีความพิการหลงเหลืออยู่ ได้แก่ ความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว และการทรงตัว ในปัจจุบันนี้ผู้ป่วย/คนพิการและทุพพลภาพในความรับผิดชอบโรงพยาบาลหนองกุงศรีมีเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วย/คนพิการส่วนใหญ่มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัว ด้านประสาทรับรู้และการเรียนรู้ ด้านการสื่อความหมาย ด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ส่งผลให้ผู้ป่วย/คนพิการช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย ทำให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลและญาติ หลายคนไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมส่งผลให้เกิดภาวะความพิการของร่างกายอย่างถาวร สืบเนื่องมาจากปัญหาดังกล่าว งานกายภาพบำบัดได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับมีปณิธานสำคัญในการเข้าไปฟื้นฟูสภาพคนพิการดังกล่าวกระตุ้นให้ผู้ป่วยเล็งเห็นศักยภาพของตนเอง เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยที่รอดชีวิตมีความสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้มีความพิการเหลือน้อยที่สุด สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่นหรือช่วยให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตอยู่ได้แม้มีความพิการหลงเหลืออยู่  
วัตถุประสงค์ : 1. ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง 2. ผู้ป่วยและญาติมีทักษะในการฟื้นฟูสมรรถภาพตนเอง 3. ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติหรือใกล้เคียงปกติ 4. ลดโอกาสในการเกิดความพิการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 5. เพิ่มการเข้าถึงการให้บริการการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ระยะไม่เกิน 6 เดือน (Golden period) ในเขตอำเภอหนองกุงศรี  
เครื่องมือ : 1. แบบประเมิน ICF (International Classification of Functioning, Disability and Health) 2. แบบประเมิน Barthel index  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้าน 2. ผู้ป่วย/ญาติจะได้รับ “คู่มืออัมพาตครึ่งซีก” ที่จัดทำโดยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลหนองกุงศรี 3. ผู้ป่วย/ญาติสามารถประเมินและบันทึกความก้าวหน้าได้ด้วยตนเองในตารางบันทึกความก้าวหน้าที่บรรจุอยู่ภายใน “คู่มืออัมพาตครึ่งซีก” 4. ติดตามอาการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล 5. เครื่องมือที่ใช้วัด คือ แบบประเมิน ICF (International Classification of Functioning, Disability and Health) และ แบบประเมิน Barthel index  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ