ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลโรคหอบหืดของโรงพยาบาลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นิตยา เพียรจิต , ภัทษณาวรรณ ปักกุนนัน ,ประพิศ แพงจันทร์ ,พรรณวดี บุญพยุง ,สิริรัตน์ นฤมิตร,เอกชัย ภูผาใจ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : โรงพยาบาลยางตลาด เริ่มก่อตั้งคลินิกโรคหืด/ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2547 โดยเปิดให้บริการทุกวันศุกร์ เวลา 8.30-16.00 น. ก่อนก่อตั้งคลินิกพบปัญหาว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน (โดยเฉพาะไม่ได้รับ Steroid inhaler) และมีผู้ป่วยที่มารับการรักษานอกเวลาฉุกเฉินมีแนวโน้มสูงขึ้น และเป็นกลุ่มที่มีรายงานการ Re-Admit สูงสุด มียอดการสั่งซื้อยาพ่นสูงมากขึ้น จากการติดตามผู้ป่วยที่มารับบริการพ่นยาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลยางตลาด พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมาจนถึง ปีพ.ศ.2547 มีผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อยต้องมาพ่นยาที่ห้องฉุกเฉินในปี พ.ศ.2545 จำนวน 1,814 ครั้ง ในปี พ.ศ.2546 มีจำนวน 4,511 ครั้ง และในปีพ.ศ.2547 มีจำนวน 5,528 ครั้ง เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการรักษาและคำแนะนำที่ไม่ได้มาตรฐาน จากการที่ต้องมาพ่นยาที่ห้องฉุกเฉินบ่อยๆ ทำให้สิ้นเปลืองเวชภัณฑ์ที่ใช้ในการรักษา และเพิ่มภาระงานห้องฉุกเฉินตลอดจนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยก็แย่ลงตามลำดับ ในช่วงที่มีการทบทวนการดูแลผู้ป่วยโรคหืดเพื่อลดปัญหาผู้ป่วยมารับบริการที่ห้องฉุกเฉินเป็นช่วงเดียวกับที่สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย และหน่วยโรคระบบทางเดินหายใจภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดให้มีการดำเนินงาน Easy Asthma Clinic ขึ้น โรงพยาบาลยางตลาดจึงได้สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย และได้ดำเนินงานคลินิกโรคหืดในปี พ.ศ.2547 และพัฒนาจนกลายเป็น Easy Asthma&COPD Clinic จากการดำเนินงานมาจนกระทั่งปีพ.ศ.2552พบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานคลินิก ได้แก่ อัตราการขาดยาเพิ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม 2552 ร้อยละ 9.6การขาดนัดเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงเฉลี่ย 80บาท/คน/1 F/U การเข้าถึงบริการลำบากเนื่องจากเขตพื้นที่กว้างอยู่ในพื้นที่ห่างไกลโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ ผู้ป่วยเกิดความเบื่อในรูปแบบของการให้บริการ จำนวนผู้ป่วยมากเกิดความคับคั่งในโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการเหนื่อยกับการให้คำแนะนำซ้ำๆ ผู้ป่วยส่วนมากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ. ผู้ป่วยส่วนใหญ่สูงอายุทำให้มีแรงน้อยในการสูดยา ส่งผลให้การควบคุมอาการเป็นไปได้ลำบาก ผู้ป่วยCOPDบางรายยังไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจในตัวโรคอย่างถ่องแท้ แม้จะได้รับการอธิบาย การแจกแผ่นพับความรู้และการปฏิบัติตัวแล้วก็ตาม โดยการสุ่มให้ทำPre-test ทั้งผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่า จำนวน 50 ราย พบผ่านเกณฑ์ เรื่องโรค 38 ราย คิดเป็น 76% เรื่องยา 22 ราย คิดเป็น 44% เรื่องการปฏิบัติตัวและแนวทางการขอความช่วยเหลือ 13 ราย คิดเป็น 26% จึงได้มีการดำเนินการพัฒนางาน Easy Asthma & COPD Clinic ปีพ.ศ.2552 โดยใช้กลยุทธ์ในการจัดการปัญหาและอุปสรรคงานคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังคือการผนวกงานคลินิกให้เข้าสู่ระบบบริการปฐมภูมิเชื่อมโยงประสานลงสู่ชุมชน เป้าหมายที่จะไปให้ถึงของบริการปฐมภูมิ ในปี พ.ศ. 2553 มีผู้ป่วยอาการหอบพ่นยาที่ห้องฉุกเฉินจำนวน 108 ครั้ง และอาการไม่ตอบสนองใน 2 ชั่วโมงจนต้อง Admit 17 ราย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากการสูดยาที่ไม่ถูกต้องส่งผลให้การรักษาไม่สมบูรณ์ ทีม PCT Asthma จึงพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติการสาธารณสุข การดูแลผู้ป่วยโรคหืดพ.ศ.2551 และพบว่าผู้ป่วยสูดยาได้ถูกต้อง 100% แต่เมื่อติดตามตัวชี้วัดในปี 2554 มีแนวโน้มเพิ่มของอัตรา ER Visit จำนวน 123 ครั้ง และ Admit 36 ราย เมื่อReview Chart Admit พบสาเหตุสำคัญคือการได้รับปัจจัยกระตุ้นจนก่อให้หลอดลมอักเสบเพิ่มขึ้นจนเป็นสาเหตุให้หอบกำเริบและไม่ตอบสนองต่อยาขยายหลอดลม ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้เท่าเดิม ทีมPCT จึงได้ทบทวนหา RCA และร่วมกันพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยAsthma ให้ได้รับการดูแลรักษาและช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวัน และหรือทำงานประจำได้เทียบเท่าคนปกติ ในปี พ.ศ. 2555-2557 ผลการดำเนินงานพบว่ายังมีจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอยางตลาดอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาเนื่องจากไม่ทราบและรักษาตามคลินิกเมื่อมีอาการหอบเท่านั้น และยังคงมีจำนวนประชาชนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคจากการสูบบุหรี่อีกจำนวนมากในชุมชน ดังนั้นโรงพยาบาลยางตลาดจึงร่วมมือกับภาคีเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังและชุมชน พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังขึ้นและดำเนินการตามกระบวนการอย่างเป็นระบบโดยมีโครงสร้างภาคีเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังในรูปแบบ คณะกรรมการระดับอำเภอ (Unity District health Team) ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา มีการพัฒนาต่อเนื่องโดยปรับปรุงจากปัญหา ความเสี่ยง ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โดยมีการร่วมคิด ร่วมทำ โดยทีมสหสาขาการดูแลโรคหอบหืดโรงพยาบาลยางตลาด ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกายภาพบำบัด และโภชนากร ทำให้เกิดระบบการดูแลโรคหอบหืดของโรงพยาบาลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปัจจุบัน  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบการดูแลโรคหอบหืดของโรงพยาบาลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยโรคหอบหืด ที่มารับบริการที่คลินิกโรคหอบหืดโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2559  
เครื่องมือ : แบบสอบถามอาการโรคหอบหืด โปรแกรม Hosxp และ โปรแกรมลงข้อมูลการรักษาโรคหอบหืด  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การพัฒนาระบบการดูแลโรคหอบหืดของโรงพยาบาลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ระยะเตรียมการ ขั้นตอนที่ 2 ระยะดำเนินการ เป็นกระบวนการการพัฒนา และขั้นตอนที่ 3 ระยะประเมินผล รายละเอียด ดังนี้ 1 ระยะเตรียมการ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา โรคหอบหืดของโรงพยาบาลยางตลาด 2 ระยะดำเนินการ เป็นกระบวนการพัฒนาระบบการดูแลโรคหอบหืดของโรงพยาบาลยางตลาด 3 ระยะประเมินผล เป็นการร่วมกันของทีมสหวิชาชีพเพื่อกำหนดข้อบ่งชี้การคัดกรองโรคหอบหืด กำหนดกระบวนการดูแลโรคหอบหืดของโรงพยาบาลยางตลาด และกำหนดกระบวนการดูแลโรคหอบหืดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล และศึกษาผลลัพธ์ของการให้บริการผู้ป่วยโรคหอบหืดตามตัวชี้วัดของงานโรคหอบหืดโรงพยาบาลยางตลาด  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : อันดับ 3 การประชุมวิชาการประจำปี ระดับ ระดับจังหวัด  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง