ประเภทบทความ/งานวิจัย : เรื่องเล่า สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายโดยกลุ่มช่วยเหลือตนเองในอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : อมรรัตน์ เมิดไธสงค์ ปี : 2559
     
หลักการและเหตุผล : องค์การอนามัยโลก ได้รายงานกลุ่มประชากรอายุ 20 ปีขึ้นไปจำนวน 1.5 ล้านคนมีภาวะน้ำหนักเกินโดยผู้ชายมากกว่า 200 ล้านคน ผู้หญิงมากกว่า 300 ล้านคน เป็นโรคอ้วน หรือ 1 ใน 10 ของประชากรที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปเป็นโรคอ้วน และจะเสียชีวิตจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนอย่างน้อย 2 – 8 ล้านคนต่อปี และพบว่าภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของสาเหตุการตายของประชากรและเกิดโรคเรื้อรัง โดยร้อยละ 44 ของผู้ป่วยเบาหวาน และร้อยละ 7 – 41 ของผู้ป่วยมะเร็ง มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ( World Health Organization [WHO], 2011) รายงานสุขภาพคนไทย ปี พ.ศ 2557 ระบุว่า โรคอ้วนถือเป็นสาเหตุให้เจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวันอันควร จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี โรคซึมเศร้า ภาวะหายใจลำบากและหยุดหายใจขณะหลับ และโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น นอกจากนี้ ภาวะโรคอ้วนในประเทศไทย มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต จากผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายในปี พ.ศ 2552 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมากกว่า 1 ใน 3 อยู่ในภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นสองเท่าตัว เมื่อเทียบกับในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา (ปี 2534-2552) และหากเปรียบเทียบในระดับภูมิภาคพบว่า คนไทยอ้วนสูงสุดเป็นอันดับ 2 จากทั้งหมด 10 ประเทศอาเซียน รองจากมาเลเซียเท่านั้น(สำนักสถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2557) อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นผู้ที่มีบทบาทในการเป็นผู้นำการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ซึ่งเป็นกำลังหลักสำคัญของครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติทั้งในด้านแรงงาน เศรษฐกิจและสังคม จากผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากรในช่วงปี พ.ศ.2545-2558 พบว่าประชากรอายุ 15-59 ปีมีจำนวน 43 ล้านคน (สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2558) มีน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนคือปัจจัยเสี่ยง การลดน้ำหนักเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น การปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆหมายถึงการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกินเป็นสาเหตุของการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงอื่นๆในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่นโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและมีโอกาสพบมากขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง 2-6 เท่าซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะคลอเลสเตอรอลหรือระดับไขมันในเลือดผิดปกติและยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานซึ่งพบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 คือ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2554) จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้สำรวจความชุกของภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงของประชากรในปี พ.ศ. 2557- 2558 พบว่าประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในอำเภอร่องคำมีความชุกของภาวะอ้วนและอ้วนลุงพุงสูงเป็นอันดับ 1 ในจังหวัดกาฬสินธุ์ คือร้อยละ 29.43 และ 36.62 ตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, 2558) อำเภอร่องคำมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)จำนวน 303 คน จากการตรวจสุขภาพประจำปีในปี พ.ศ 2556 และปี พ.ศ 2557 พบว่า ในปี พ.ศ 2556 มีอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนลงพุงจำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 44.88 และปี พ.ศ 2557 จำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 48.84 (โรงพยาบาลร่องคำ, 2558) และจากการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพประจำปี พ.ศ. 2557- 2558 พบว่า ตำบลสามัคคีมีอัตราความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนลงพุงสูงที่สุดในอำเภอร่องคำ จำนวน 632 คน คิดเป็นร้อยละ 20.30 และจำนวน 650 คน คิดเป็นร้อยละ 31.43 ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2558 ตำบลสามัคคีมีอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 107 คน มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนลงพุง จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 50.46 จึงได้ตระหนักถึงความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นกลุ่มแกนนำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สำคัญ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาพอนามัยของประชาชน อีกทั้งอาสาสมัครสาธารณสุข เป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านการส่งเสริมสุขภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากได้รับการส่งเสริมและเพิ่มทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้องจะสามารถนำไปดูแลสุขภาพตนเองและสามารถขยายผลต่อคนในครอบครัวและคนในชุมชนต่อไปได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาในการนำแนวคิดและทฤษฎีความสามารถตนเอง (Self-Efficacy)ร่วมกับกลุ่มช่วยเหลือตนเอง(Self Help Group) มาประยุกต์ใช้ในโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายโดยกลุ่มช่วยเหลือตนเองในอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูสุขภาพ ให้สามารถควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและมีพฤติกรรมบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมและดีขึ้นในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข และเกิดการนำไปปรับใช้และปฏิบัติในชุมชนต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายโดยกลุ่มช่วยเหลือตนเองในอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน จังหวัดกาฬสินธุ์ 1.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ 3.2.1 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ในเรื่องต่อไปนี้ 1) ความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน 2) การรับรู้ความสามารถตนเองในการลดน้ำหนัก 3) ความคาดหวังต่อการเกิดผลลัพธ์ที่ดีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4) การปฏิบัติตัวในด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก 1.2.2 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยผลสุขภาพภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบในเรื่อง ต่อไปนี้ 1) ค่าดัชนีมวลกาย 2) เส้นรอบเอว 1.2.3 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ในเรื่องต่อไปนี้ 1) ความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน 2) การรับรู้ความสามารถตนเองในการลดน้ำหนัก 3) ความคาดหวังต่อการเกิดผลลัพธ์ที่ดีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4) การปฏิบัติตัวในด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก 1.2.4 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยผลสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบในเรื่อง ต่อไปนี้ 1) ค่าดัชนีมวลกาย 2) เส้นรอบเอว  
กลุ่มเป้าหมาย : การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ทำการศึกษาในอาสาสมัครสาธารณสุข อายุ 35-55 ปี ที่มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23.00 กิโลกรัม/เมตร2ขึ้นไป เพศชายมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตรและเพศหญิงมีเส้นรอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตร ที่อาศัยอยู่ในอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์  
เครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์วิจัย ใช้กับกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ทั้งก่อนและหลังการทดลอง ประกอบด้วยทั้งหมด 5 ส่วน ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูล ส่วนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินเป็นคำถามแบบ ความรู้ระดับสูง มีคะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป (12-15 คะแนน) ส่วนที่ 3 การรับรู้ความสามารถตนเองในการลด ส่วนที่ 4 ความคาดหวังต่อการเกิดผลลัพธ์ที่ดีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลัง ส่วนที่ 5 การปฏิบัติตัวในด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ