ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจรโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม อำเภอร่องคำจังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปี 2560
ผู้แต่ง : ณัฐธิญา บุญชัยมาตย์และคณะ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จากปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชนในแต่ละปีทั้งในระดับนานาชาติ หรือของประเทศไทยเองได้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจำนวนการเกิดอุบัติเหตุผู้เสียชีวิต บาดเจ็บสาหัส พิการ และทรัพย์สินได้รับความเสียหายจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อสังคมเศรษฐกิจโดยรวม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ ปี ค.ศ. 2011-2020 เป็นศตวรรษการปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ประกอบกับคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกำหนดให้ ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน เพื่อบูรณาการการดำเนินงานจากทุกภาคส่วน โดยให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจัดทำแผนและกำหนดทิศทางการดำ เนินงานให้การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนให้ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งนี้ แม้ว่าหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องของอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ทำการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตามแผนทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนฯ อย่างต่อเนื่อง แต่จากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเปรียบเทียบ ในช่วงปี 2556 ถึงปี 2558 กลับมีสถิติของการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น แม้จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจะลดลง ในขณะที่เปรียบเทียบสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาล สงกรานต์ และเทศกาลปีใหม่มีสถิติไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อำเภอร่องคำ เป็นอำเภอที่มีเส้นทางการจราจรเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ทำให้มีปริมาณรถนอกจากจะเป็นการสัญจรกันภายในอำเภอแล้วยังมีการสัญจรผ่านเข้ามาในพื้นที่เป็นจำนวนมากและเกิดอุบัติเหตุจราจรบ่อยครั้ง โดยพบว่ามีอัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลร่องคำในปี2556-2558 เป็นจำนวน 250 ,368 และ387 ราย ตามลำดับ อัตราการตาย ปี2556-2558 คิดเป็น 24 (4ราย) ,12(2ราย) และ24(4ราย) ต่อแสนประชากร และและพบว่าส่วนใหญ่ผู้บาดเจ็บเป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์ มีการใช้อุปกรณ์ในการป้องกันน้อยและมีการประวัติการดื่มสุรา รวมถึงเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่หรือเดินทางเข้ามาทำงาน ดังนั้นทางอำเภอร่องคำจึง จัดให้มีโครงการ “การพัฒนารูปแบบการป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจรโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม" โดยเน้นหนักในยุทธศาสตร์ 5ส. คือ 1.สารสนเทศ Information การพัฒนาและจัดการข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้จากการสอบสวน เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน โดยในระดับจังหวัด/อำเภอให้ดำเนินการสอบสวนการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนตามเกณฑ์ของระบาดวิทยา เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก 2. ส : สุดเสี่ยง (Priority) หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลแล้วเลือกปัญหา/สาเหตุที่สำคัญมีความเสี่ยงสูงมาดำเนินการก่อน 3ส: สหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary) นำปัญหาที่ได้มาร่วมกันคิดและวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยให้มีหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมา ร่วมกันทำงานจึงจะเกิดผลลัพธ์เห็นเป็นรูปธรรม 4. ส : สุดคุ้ม (Cost effective) เลือกมาตรการ/วิธีการที่ดำเนินการแล้วมีความ เป็นไปได้และคุ้มค่า 5. ส : ส่วนร่วม ช่วยให้คนในพื้นที่/ชุมชนและภาคีคนทำงาน (Community participation) มีส่วนร่วมในทุกกระบวนการทำงานของพื้นที่และภาคีเครือข่ายและควรมีการติดตาม ประเมินผลมาตรการ/วิธีการที่เลือกมาดำเนินการเพื่อนำไปปรับกระบวนการทำงานต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจรโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมอำเภอร่องคำจังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจร 3. เพื่อลดอัตราการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร 4. เพื่อลดอัตราตายจากอุบัติเหตุจราจร  
กลุ่มเป้าหมาย : 1.พื้นที่อำเภอร่องคำ 40หมู่บ้าน 2.โรงเรียนทุกแห่งในอำเภอร่องคำ  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ :  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ