ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : เสนอโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนารูปแบบร้านชำปลอดยาอันตรายแบบชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : นายอนุชา คำไสว, กัญจน์รัตน์ มาตยวงศ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational use of medicine) หมายถึง การที่ผู้ป่วยได้รับยาเหมาะสมกับความจำ เป็นทางคลินิก ในขนาดยาตามข้อกำหนด ระยะเวลาเพียงพอ และต้นทุนน้อยที่สุดสำหรับผู้ป่วยและชุมชน (WHO, 1987) อย่างไรก็ตามมุมมองของผู้บริโภคเรื่องความสมเหตุผลในการใช้ยาอาจแตกต่างจากนิยามดังกล่าว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตีความคุณค่าในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการรับรู้ทางวัฒนธรรมและภาวะเศรษฐกิจ การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกต้องเกิดขึ้นบ่อย ผู้ป่วยไม่เข้าใจว่าทำไมต้องใช้ยาจนครบระยะเวลา ไม่เข้าใจเหตุผลที่เจ้าหน้าที่ในระบบบริการสุขภาพอธิบายให้ฟัง การซื้อยากินเองเป็นรูปแบบในการรักษาอาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในหมู่บ้าน การสำรวจสวัสดิการและอนามัยโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า อัตราการซื้อยากินเองเท่ากับ 38.3%, 37.9% ในปี พ.ศ. 2534 และ 2539 แล้วลดลงเป็น 24.2%, 21.5%, 20.9%, 25.1%ในปี พ.ศ. 2544, 2546, 2547, 2549 ตามลำดับ (สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ, 2550) และการสำรวจการกระจายยาในหมู่บ้าน โดยเก็บข้อมูลจากทุกภูมิภาคย่อย จำนวน 8 จังหวัด จังหวัดละ 24-26 แห่ง รวม 195 แห่ง พบร้านชำ775 แห่ง กองทุนยาหมู่บ้าน 96 แห่ง พบยาอันตรายในทุกหมู่บ้าน (100%) ส่วนใหญ่เป็นยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ร้านชำในชุมชนส่วนใหญ่จำหน่ายยาอันตรายทำให้ประชาชนเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดขึ้นจากยา การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล ทำให้การรักษาไม่ได้ผลเสี่ยงต่ออันตรายจากความรุนแรงของโรค การดื้อยาก็เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม ผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ประชาชนเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ (ลือชัย ศรีเงินยวง, 2543) นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ร้านชำจำหน่ายยาได้เฉพาะยาสามัญประจำบ้าน (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,2553) ซึ่งเป็นยาจำเป็นและปลอดภัยสำหรับการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยทั่วไป ดังนั้น การจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำนอกจากทำ ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังผิดกฎหมายอีกด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญสำ หรับความสำเร็จของการทำโครงการพัฒนา/แก้ไขปัญหาในชุมชนผู้วิจัยจึงพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างชุมชน องค์การบริหารส่วนตำสงเปลือย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสงหนองบัวนอก โรงพยาบาลนามน เพื่อพัฒนาและทดลองรูปแบบการพัฒนาตำบลร้านชำปลอดยาอันตราย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่  
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบร้านชำปลอดยาอันตราย โดยความร่วมมือระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานบริการสาธารณสุข ตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ และสถาบันการศึกษาในพื้นที่  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทุกหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง สมาชิกสภาเทศบาลสงเปลือย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียน และผู้ประกอบการร้านชำ  
เครื่องมือ : 1. แบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงกลุ่ม (Focus Group) 2. ข้อตกลงร่วมของชุมชนในการจัดการยาที่ไม่เหมาะสม 3. แบบสอบถามความเข้าใจในการใช้ยาอันตรายในชุมชน  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยการสร้างความมีส่วนร่วมการประชุมเพื่อชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการร้านชำปลอดยาอันตรายแบบชุมชนมีส่วนร่วม โดยมีการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพื้นที่ชุมชนเสนอตำบลที่ประสบปัญหาร้านชำจำหน่ายยาอันตราย ขั้นตอน 1. ประชุมครั้งที่ 1 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวงัว เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ทราบ 2. ตรวจประเมินร้านชำในชุมชนและประเมินความเข้าใจในการใช้ยาของประชาชนก่อนดำเนินการ 3. ประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม 4. ประชุมระดมความคิดเห็นในชุมชนจำนวน 8 หมู่บ้าน แบ่งเป็นกลุ่มละ 1 – 2 แห่ง 5. ประชุมระดมความคิดเห็นในสถานการณ์ยาและแนวทางการจัดโครงการพัฒนารูปแบบร้านชำปลอดยาอันตรายแบบชุมชนมีส่วนร่วม 6. กำหนดข้อตกลงร่วมกันเพื่อนำไปปฏิบัติ 7. ตรวจประเมินร้านชำในชุมชนและประเมินความเข้าใจในการใช้ยาของประชาชนหลังการดำเนินการ 8. วิเคราะห์และสรุปผล ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เกิดรูปแบบการแก้ไขปัญหาการจำหน่ายยาอันตรายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2. เกิดตำบลต้นแบบในการจัดการยาอันตราย  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง