ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ กรณีศึกษา อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : จุฑามาศ วิลาศรี ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : องค์การอนามัยโลกรายงานว่าประชากรทั่วโลกมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยในช่วง ๔๕ ปีที่ผ่านมาอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๐และพยากรณ์ว่าภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓บุคคลที่จะฆ่าตัวตายจะมีจำนวนปีละ ๑.๕ล้านราย โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุของการตายอยู่ในสิบอันดับแรก ในปัจจุบันสังคมไทยยังคงเผชิญหน้ากับผลกระทบของภาวะวิกฤตทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้พฤติกรรมของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป การเจริญเติบโตทางโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี ค่านิยมแบบวัตถุนิยมล้วนส่งผลต่อความเป็นอยู่ของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตที่เกิดขึ้น ทำให้ประชากรบางส่วนไม่สามารถปรับตัวและไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตที่เข้ามาได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชากรทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นำมาซึ่งปัญหาความเครียด ภาวะซึมเศร้าเกิดปัญหาการฆ่าตัวตายซึ่งปัญหาสำคัญในอันดับต่อมา การฆ่าตัวตายในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุคคลในรอบครัว ผู้ใกล้ชิด ก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ประเทศในเชิงเศรษฐกิจอย่างมาก การพยายามฆ่าตัวตายแต่ไม่ถึงแก่ชีวิตยังได้รับความสูญเสียจากการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือพิการทุพพลภาพตลอดจนปัญหาสุขภาพจิตของคนในครอบครัวและผู้ใกล้ชิด ในระดับสังคมจัดเป็นการสูญเสียทั้งงานการผลิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จากการศึกษาของกรมสุขภาพจิต ปี พ.ศ. ๒๕๔๕พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของประชากร ทั้งประเทศเท่ากับ ๗.๐ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐รายอัตราความสูญเสียจากการฆ่าตัวตายเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจอยู่ที่ ๔,๐๐๐ล้านบาทต่อปี ภูมิภาคที่มีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายสูงที่สุดคือ ภาคเหนือ รองลงมา เป็นภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ตามลำดับ จังหวัดในภาคเหนือที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่า ๑๓.๐๐ต่อแสนประชากร มีจำนวน ๔จังหวัด ได้แก่ ลำพูน (๒๐.๕๑) เชียงราย (๑๖.๕๕) แม่ฮ่องสอน(๑๕.๖๘) น่าน (๑๓.๒๔) อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของประเทศไทยในรอบ ๕ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๓เป็นดังนี้ ๕.๗๗, ๕.๙๕,๕.๙๖, ๕.๗๒, ๕.๙๐ต่อแสนประชากร โดยจังหวัดสุโขทัย มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อแสนประชากร ในรอบ ๕ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๓เป็นดังนี้ ๗.๕๕, ๘.๐๗, ๙.๕,๖.๔๖และ ๗.๑๔ต่อแสนประชากรตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จระดับประเทศอยู่ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายของประเทศไทยดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยกรมสุขภาพจิตตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๔เป็นต้นมา ถึงแม้ในช่วง ๕ปีแรกอัตราการฆ่าตัวตายลดลง แต่ช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๐กลับมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นอีกจากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ปัญหาที่สำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายคือ การขาดข้อมูลระดับประเทศการรายงานการฆ่าตัวตายในระบบสาธารณสุขยังไม่ครบถ้วนและขาดความถูกต้อง อีกทั้งการฆ่าตัวตาย เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ยังมีอุบัติการณ์ที่ตำมาก เช่น อัตราการฆ่าตัวตายปี พ.ศ. ๒๕๕๐เป็น ๕.๙๗ต่อแสนประชากร องค์การอนามัยโลกให้ข้อเสนอแนะว่าการระบุได้ว่าผู้ใดเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายแล้วให้ความช่วยเหลือ การส่งเสริม ป้องกันและเฝ้าระวัง จะสามารถช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายได้ดีกว่า แม้จะมีการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายของคนไทยอย่างต่อเนื่อง แต่จำนวนของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ ของประเทศไทยยังคงติดอันดับ ๕๖ของโลก จังหวัดกาฬสินธุ์ อัตราการฆ่าตัวตายปี พ.ศ.๒๕๕๘ เป็น ๖.๑๙ ต่อแสนประชากร และอำเภอสามชัย มีอัตราการฆ่าตัวตายปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็น ๗.๖๙ ต่อแสนประชากร จากนโยบายของกรมสุขภาพจิต กระทรวง สาธารณสุขที่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวมา โดยตลอด ทำให้ผู้ศึกษาเกิดแนวคิดในการค้นหาปัจจัย เสี่ยงทางจิตสังคมต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จใน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์โดยการใช้กระบวนการเฉพาะด้าน ได้แก่ การสืบค้นหลังเสียชีวิต (psychological autopsy) เพื่อนำ ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยมาใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และกำหนดนโยบายในการแก้ไข ปัญหาให้ตรงจุด สอดคล้องกับบริบทของปัญหาในพื้นที่ อย่างแท้จริง  
วัตถุประสงค์ : 1.เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการตรวจรักษาโดยจิตแพทย์ อย่างน้อย ปีละ ๑ ครั้ง 2.เพื่อลดอัตราการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชเพื่อไปพบจิตแพทย์ตามนัด 3.เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและพัฒนาสภาวะของคนในชุมชนได้อย่างเหมาะสม  
กลุ่มเป้าหมาย : 1.ผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชจำนวน ๖๐ คน 2.กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตจำนวน ๑๒๐ คน  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : ขั้นตอนที่ ๑ : สำรวจชุมชน โดยสำรวจสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ กลุ่มประชากร ช่วงวัย จำนวนผู้สูงอายุ ปัญหาของคนในชุมชนทั้งปัญหาสุขภาพกาย และปัญหาสุขภาพจิต เพื่อทราบถึงลักษณะของชุมชน และปัญหาเบื้องต้น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันวิเคราะห์และวางแผนการสำรวจปัญหา ขั้นตอนที่ ๒ : ลงสำรวจชุมชน โดยให้คนในชุมชนตอบแบบสำรวจ เพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ ที่เกิดขึ้นในช่วง ๖เดือนที่ผ่านมาโดยใช้แบบสอบถามที่ร่วมกันพัฒนา ขั้นตอนที่ ๓ : ขั้นดำเนินการจัดกิจกรรม โดยแบ่งกิจกรรมเป็น ๒ส่วนคือ ๑. กิจกรรมลงชุมชน โดยแบ่งกลุ่ม อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ลงพื้นที่เพื่อตรวจสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต ตามบ้านของคนในชุมชน โดยเฉพาะบ้านที่สำรวจแล้วพบว่ามีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูง และบ้านที่ไม่สามารถออกมาร่วมกิจกรรมส่วนกลางได้ พร้อมให้คำปรึกษา และแนะนำการดูแลสุขภาพทั้งทางร่างกาย และจิตใจร่วมกันอย่างองค์รวม ๒. กิจกรรมส่วนกลางแบ่งออกเป็น ๓ฐาน ดังนี้ ฐานที่ ๑. ตรวจคัดกรองสุขภาพ และให้คำปรึกษา ฐานที่ ๒. กิจกรรมออกกำลังกายตามหลักการแพทย์แผนไทย ฐานที่ ๓. กิจกรรมผ่อนคลายความเครียด  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ