ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการการผลิตมะม่วงปลอดภัยจากสารพิษอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : จุฑามาศ วิลาศรี ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ให้ความสำคัญของอาชีพของเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เป็นเป้าหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว คือ ให้เกษตรกรมากระบวนการผลิตให้ พอมี พอกิน ถ้ามีผลผลิตเหลือจากการผลิตก็นำมาขายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว(สำนักงานคณะกรรมการแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ2545) หลักการดังกล่าวเมื่อนำมาประยุกต์กับการผลิตทางการเกษตรของภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ และในเขตอำเภอสามชัย ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรมีปัจจัยพื้นฐานทางการผลิตที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตค่อนข้างมาก กล่าวคือพื้นที่ทางการเกษตรอำเภอสามชัย เป็นที่ราบลุ่ม มีการชลประทาน แหล่งน้ำเอื้อต่อการประกอบอาชีพเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดพื้นที่ทางการเกษตร ขาดองค์ความรู้ รวมถึงปัจจัยค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ยังพบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงมากเกษตรกรมีทุนในการผลิตต่ำ จึงไม่เพียงพอกับการผลิต และปัญหาเกษตรกรมีหนี้สิน กู้ยืมเงินมาลงทุนเพื่อการผลิตเช่น ซื้อปุ๋ย เมตรพันธุ์ ยาปราบศัตรูพืช รวมถึงการจ้างแรงงานในการผลิต เป็นต้น เมื่อเกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาไม่ดีก็เกิดปัญหาหนี้สินติดตามมา เกษตรปลอดสารพิษ เป็นแนวคิดทางการเกษตรอย่างหนึ่งที่นำหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้เพราะระบบการผลิตของการเกษตรปลอดสารพิษนั้นเป็นการผลิตที่ใช้ต้นทุนต่ำมาก กล่าวคือไม่มีการใช้ปุ๋ยและไม่ใช้สารเคมีต่างๆ ทั้งยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืชแต่อาศัยการจัดการที่อยู่ภายใต้ทรัพยากรของเกษตรกรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้การเกษตรดังกล่าวเป็นรูปแบบการผลิตที่กำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน อำเภอสามชัยเป็นอำเภอหนึ่งที่มีการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษมาเป็นเวลานาน หลายหน่วยงานไมว่าจะเป็นภาครัฐหรือองค์กรเอกชนได้ช่วยกันส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทั้งในรูปรายเดี่ยวและรายกลุ่มเกษตรกร ผลิตสินค้าเกษตรปลอดสารพิษมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ขณะเดียวกันประชาชนมีความต้องการสินค้าผักปลอดสารพิษในแต่ละวันเป็นปริมาณมาก แต่ก็ไม่สามารถผลิตให้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมมากขึ้นในแต่ละวัน ด้วยปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวหลายหน่วยงานในอำเภอสามชัยเอง ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรทำการผลิตผักปลอดสารพิษมาเป็นเวลานานแต่พบว่ายังไม่มีความยั่งยืนในเรื่องของการผลิตผักปลอดสารพิษให้ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามชัยในฐานะเป็นหน่วยงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการที่มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญในบทบาทหน้าที่ดังกล่าวจึงได้ทำการวิจัยเชิงบูรณาการขึ้นร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆการวิจัยครั้งนี้ ได้นำเอาวิธีการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเข้ามาใช้ ภายใต้โครงการวิจัยจะมีแผนการดำเนินงานอันประกอบไปด้วย 1) การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการจัดการ “การผลิตผักปลอดสารพิษ” ให้ได้คุณภาพ ยกระดับผลผลิตให้ได้มาตรฐานระดับสากล 2) การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการแปรรูปผักปลอดสารพิษ  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาระบบการผลิต “ผักปลอดสารพิษ” อำเภอสามชัย 2. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารการผลิต “ผักปลอดสารพิษ” ของอำเภอสามชัยให้ได้มาตรฐานระดับสากล 3. เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดสารพิษ อำเภอสามชัย ให้เกิดความพอเพียง และยั่งยืน  
กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักปลอดสารพิษ อำเภอสามชัย การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling)โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดเกษตรกรตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling) จากตำบลต่างๆที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 4 ตำบล ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเลือกเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง ตามวัตถุประสงค์ (Purposive sampling) โดยแยกกลุ่มออกเป็น 2 ประเภท ตามระบบการจัดการการผลิต คือ (1) เกษตรกรรายเดี่ยวที่ทำการผลิตผักปลอดสารพิษ (2) กลุ่มเกษตรกรที่ทำการผลิตผักปลอดสารพิษ  
เครื่องมือ : แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต  
ขั้นตอนการดำเนินการ : (1) ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่การสืบค้นข้อมูลของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักปลอดสารพิษ โดยการจัดบันทึก ประกอบกับวิธีการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เจาะลึก โดยมีสมาชิกของกลุ่มเป็นผู้ร่วมกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) และให้ข้อมูลตลอดระยะเวลาของการดำเนินงาน (Participatory research) (2) ส่วนข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเบื้องต้นด้านการจัดการการผลิต อันได้แก่ ข้อมูลการผลิตกระบวนการผลิต การวางแผนการผลิต เทคโนโลยีการผลิต มาตรฐานสินค้า แหล่งเงินทุน ปริมาณซื้อสินค้าและการตลาด ข้อมูลปัญหาต่างๆ ของกลุ่ม (3) ชนิดของเครื่องมือ (3.1) ใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต โดยประเด็นคำถามจะเกี่ยวข้องกับ ข้อมูลลักษณะพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร ข้อมูลสภาพทั่วไปด้านการจัดการการผลิต ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่เกษตรกรประสบและหาแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหา (3.2) การจัดเวทีชาวบ้านเพื่อระดมความคิดเห็น เพื่อหาข้อสรุปการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ (3.3) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 2 ส่วน ดังนี้ (1) การวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จาการสัมภาษณ์ สอบถามและการสังเกต นำมาสรุปอธิบายเชิงพรรณนา ในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ (2) การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ เกี่ยวกับผลการประเมินการดำเนินงานตลอดช่วงการวิจัย  
     
ผลการศึกษา : กลุ่มผู้ผลิตผักปลอดสารพิษจำนวน 106 คน กลุ่มได้รับรองมาตรฐานคุณภาพ Q ส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ พร้อมทั้งมาตรฐาน KS มีการชักจูงผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกลุ่ม(เกษตรกรรายเดี่ยวที่ทำการผลิตผักปลอดสารพิษ)เข้าร่วมกลุ่ม และผู้ที่ใช้สารเคมีหันมาใช้ระบบการผลิตอาหารปลอดภัย เลิกใช้สารเคมีมากขึ้น ผลผลิตเพียงพอแก่การบริโภคในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ  
ข้อเสนอแนะ : ควรส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มผู้ผลิตผักปลอดสารพิษในพื้นที่ เพื่ออำนาจต่อรองด้านราคา คุณภาพการผลิต และขยายผลสู่พื้นที่อื่น  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ไม่มีเอกสารแนบ