|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
นายเจริญ ประกอบเลิศ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตเทศบาลตำบลดงลิง ในปีงบประมาณ 2560 แยกตามความสามารถในการดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันพบว่าจากผู้สูงอายุทั้งหมด 1,702 คน ได้รับการประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) ทั้งหมดจำนวน 1,702 คน เป็นผู้สูงอายุติดสังคมช่วยเหลือตัวเองได้ดี จำนวน 1,624 คน คิดเป็นร้อยละ 95.41 เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแล จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 4.5 บางรายเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นปัญหาเรื้อรังและพิการตามมา เป็นภาระของครอบครัวและชุมชน
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงลิง และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลดงลิง เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุและเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐ ที่มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลดงลิง มีความสุขและได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งทางด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น และเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจผู้สูงอายุที่มีทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า และปลูกฝังให้คนรุ่นหลังได้มีทัศนคติที่ดีและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุและช่วยกันดูแล |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
แกนนำผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุทั้ง 17 หมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลดงลิง จำนวน 200 คน |
|
เครื่องมือ : |
แบบประเมิน ADL การจำแนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตร
ประจำวัน ( Barthel Activities of Daily Living :ADL)
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพตำบล เพื่อกำหนดวาระตำบล
๒. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวตำบลดงลิง
2. สำรวจสถานการณ์ปัญหาผู้สูงอายุในพื้นที่โดยทีม FCT ระดับตำบล
3. คืนข้อมูลและจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุในระดับตำบล
4. กำหนดรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวตำบลดงลิง โดยยึดตามมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ๓ กลุ่ม คือ ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม
5. อบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ
ุ6. ทีมหมอครอบครัวพร้อมทีมดูแลผู้สูงอายุออกเยี่ยมบ้านตามแผนการดูแลผู้สูงอายุ ตามรายกรณี
7. สรุปผลการดำเนินงาน |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
จากการจัดโครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตตำบลดงลิง ทำให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแล ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัย การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต โดยมีครอบครัว ลูกหลานร่วมดูแลสุขภาพ พร้อมทั้งการออกดูแล ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ โดยทีมหมอครอบครัว เจ้าหน้าที่ ผู้ดูแล ( care manager , care giver ) ในชุมชนทั้ง ๑๗ หมู่บ้าน พร้อมทีมภาคีเครือข่ายในชุมชน โดยข้อคิดสำคัญของการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อยู่ที่ความเข้าใจ ความตระหนักในความสำคัญของผู้สูงอายุ และควรถือเป็นภารกิจของครอบครัวในการสืบทอดเจตนารมณ์ไปยังลูกหลาน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามในการดูแลผู้สูงอายุ ให้ท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขตามสมควร
สรุป จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ความสำเร็จของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน คือการที่ครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ครอบครัวจะต้องให้การดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแล ( care manager , care giver ) รวมทั้งภาคีเครือข่ายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือของ อสม. จิตอาสาในชุมชน รวมทั้งทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนงบประมาณมาโดยตลอด ทำให้การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุเกิดความต่อเนื่อง และสามารถนำไปสู่การดำเนินงานที่มีความยั่งยืนต่อไป
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ควรมีการมีประสานพูดคุย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งงบประมาณที่ได้รับจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากพัฒนาสังคมจังหวัด เพื่อจะลดความซับซ้อนของกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเกิดความยั่งยืนต่อไป |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง
|
|
|
|
|