|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ลดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
ผู้แต่ง : |
อัจฉราพรรณ ชั่งยนต์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคพยาธิใบไม้ตับที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิ Opisthorchis viverrini, Opisthorchis felineus และ Clonorchis sinenesis ยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก ยุโรปตอนกลางและตะวันออก พยาธิใบไม้ตับเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังทำให้เกิดพยาธิสภาพของตับและท่อทางเดินน้ำดีหลายอย่างรวมทั้งมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีด้วย โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini ซึ่งพบระบาดมากในประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มพยาธิก่อมะเร็ง (Group ๑, carcinogenic to human) เพราะมีหลักฐานทั้งทางระบาดวิทยาและการศึกษาในสัตว์ทดลองว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีมากที่สุดในบรรดาพยาธิใบไม้ตับที่กล่าวมาข้างต้น
พยาธิใบไม้ตับทำให้เกิดพยาธิสภาพในตับและท่อน้ำดีด้วยหลายกลไก เช่น จากการกัด-ดูดของ sucker พยาธิ และสารที่คัดหลั่งจากตัวพยาธิ มีหลักฐานชัดเจนว่าสารที่หลั่งจากตัวพยาธิทำให้นำไปสู่การเหนี่ยวนำให้มีเซลล์อักเสบมาตอบสนองในบริเวณที่มีพยาธิหรือโมเลกุลของพยาธิ นอกจากนี้ยังพบว่าสารที่ คัดหลั่งจากตัวพยาธินี้ยังสามารถกระตุ้นทำให้เซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น ในขณะที่มีการอักเสบจากการติดเชื้อนี้ก็จะมีการสร้างสารอนุมูลอิสสระจากเซลล์อักเสบออกมามากทั้งชนิดออกซิเจนและไนโตรเจน ซึ่งนำไปสู่การทำลายสารพันธุกรรมของเซลล์เยื่อบุท่อน้ำดีที่เรียกว่า oxidative and nitrative DNA damage มีข้อมูลที่น่าตกใจคือยิ่งได้รับการติดเชื้อซ้ำบ่อยๆ ยิ่งทำให้มีการทำลายสารพันธุกรรมมากขึ้น การที่สารพันธุกรรมของร่างกายที่ถูกทำลายไปนี้ตามปกติร่างกายจะมีการซ่อมแซมให้กลับมาดีดังเดิมได้ หรือหากซ่อมแซมไม่ได้ร่างกายก็จะมีระบบกำจัดออกด้วยการตายแบบ apoptosis แต่ในกรณีของ การทำลายสารพันธุกรรมจากการอักเสบนี้จะมีสารอนุมูลอิสสระชนิดหนึ่งคือ ไนตริคออกไซด์ ซึ่งจะไปยับยั้ง การซ่อมแซมสารพันธุกรรม
พยาธิใบไม้ตับเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทย โรคมะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ โรคมะเร็งของเซลล์ตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดี โดยเฉพาะมะเร็งท่อน้ำดีจะพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโรคที่คนอีสานคุ้นเคยกันมานาน และมีการรณรงค์ ลด ละ เลิก กินปลาดิบ กันมาหลายสิบปี แต่เพราะคนอีสานหาอยู่หากินกับท้องนาและลำน้ำ อาหารการกินหลักจึงหนีไม่พ้น ปลา ซึ่งมีการนำมาปรุงเป็นอาหารแซบหลายเมนู เช่น ก้อย ลาบ หรือจะเอาไปแปรรูปเป็นปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม เพื่อเก็บไว้กินนานๆ เมื่อนำมารับประทานหากไม่ผ่านการปรุงให้สุก โอกาสในการได้รับไข่พยาธิใบไม้ตับ ก็มากตามไปด้วย เมื่อไข่พยาธิจากปลาดิบถูกกินเข้าไป ไข่พยาธิจะเคลื่อนตัวจากในท้องไปอยู่ในท่อน้ำดี เติบโตเป็นตัวแก่ในท่อน้ำดี ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งตับและท่อน้ำดี ทั้งนี้มะเร็งตับและท่อน้ำดี ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วประเทศ ปีละประมาณ ๒๘,๐๐๐ คน หรือเฉลี่ยวันละ ๗๖ คน เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยการผ่าตัดประมาณ ๘๐,๐๐๐ บาทต่อราย หรือ ๒๒,๔๐๐ ล้านบาทต่อปี
จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยมะเร็งใหม่ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบว่า มะเร็งที่พบมากที่สุดคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี และแต่ละปีก็มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับในไทยจะพบมากในภาคเหนือ และภาคอีสาน ในเขต “ร้อยแก่นสารสินธุ์” พบมากตามลำดับ คือ กาฬสินธุ์ ๒๗.๔% ขอนแก่น ๑๔.๒% ร้อยเอ็ด ๑๑.๘% มหาสารคาม ๑๑.๖% ในขณะที่อัตราตายจากมะเร็งตับและท่อน้ำดีในเขตนี้ก็อยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศ คือ มีอัตราการตายจากมะเร็งท่อน้ำดีต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ในอัตราร้อยเอ็ด ๕๔.๘ คน กาฬสินธุ์ ๕๐.๙ คน และ มหาสารคาม ๔๔.๙ คน อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งมักพบในประชาชนที่มีอายุมากกว่า ๔๐ ปี ระดับความรุนแรงของโรคมะเร็งตับที่พบ คือ ระยะสุดท้าย (Stage ๔) ในเพศชายพบร้อยละ ๒๕ และในเพศหญิงพบร้อยละ ๒๑
อีกทั้งพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยทั่วประเทศ ป่วยพยาธิใบ ไม้ตับในภาพรวม ร้อยละ ๘.๗ หรือประมาณ ๖ ล้านคนทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดกาฬสินธุ์อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งตับและท่อน้ำดีคิดเป็น ๕๐.๙ /แสนประชากร อัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบการติดเชื้อ ๑๖.๘๔ /แสนประชากร
อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ติดกับเขื่อนแม่น้ำลำปาว ภูเขา และเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยปลาน้ำจืด ปู กุ้งหอย จากการวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการได้คัดกรองโรคพยาธิใบไม้ในตับ อัตราการตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับคิดเป็นร้อยละ ๒๑/แสนประชากร เป็นอันดับ ๕ ของจังหวัด และสถานการณ์การความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับ ในกลุ่มที่มีญาติป่วยด้วยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๔๕/แสนประชากร
ดังนั้นอำเภอสามชัย จึงได้จัดทำโครงการร่วมใจลดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี ๒๕๕๙ เพื่อลดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยการดำเนินงานการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน อายุตั้งแต่ ๔๐ ปีขึ้นไป และตรวจ Kato’ thick smear ซ้ำในรายที่พบไข่พยาธิในปีที่ผ่านมา รวมถึงการให้สุขศึกษารายครัวเรือน จัดให้มีบุคคล/หมู่บ้าน /โรงเรียนต้นแบบแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ประชาชนตระหนักในปัญหาสุขภาพเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และลดปัญหาสุขภาพจากโรคดังกล่าวได้ |
|
วัตถุประสงค์ : |
๑. เพื่อสร้างระบบการให้สุขศึกษาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ครอบคลุมในรายครัวเรือน
๒. เพื่อคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุครบ ๔๐ ปี (ในปี ๒๕๖๐) โดยใช้แบบคัดกรองด้วยวาจา (Verbal Screening) ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็น โรค และนำอุจจาระมาตรวจ โดยวิธี Kato’s thick smear ของประชาชนทั้งหมดในพื้นที่
๓. ประชาชนที่ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับในปี ๒๕๕๖ - ๒๕๖๐ ได้รับการตรวจอุจจาระ โดยวิธี Kato’s thick smear
๔. เพื่อทราบความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในพื้นที่
๕. เพื่อสร้างบุคคล หมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่กินปลาดิบ และโรงเรียนประถมศึกษาแห่งการเรียนรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย และชุมชน |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ประชาชนที่มีอายุครบ ๔๐ ปี (ในปี พ.ศ.๒๕๖๐) |
|
เครื่องมือ : |
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑.พัฒนารูปแบบการดำเนินงานในการลดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบ แบ่งบทบาทการหน้าที่ดำเนินงาน
๒.ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและ อสม. ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบในการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่กินปลาดิบ
๓.ตรวจคัดกรองหากลุ่มเสี่ยง ตามแบบคัดกรอง ด้วยวาจา (Verbal Screening)
๔.เก็บอุจาระของกลุ่มเสี่ยงที่ได้จากการคัดกรอง (Verbal Screening) ที่มีอายุครบ ๔๐ ปี(ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐)
๕.เจ้าหน้าที่ดำเนินงานตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับ
๖.ดำเนินการลงสู่พื้นที่ ให้สุขศึกษารายครัวเรือน พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สาธิตการประกอบอาหารที่ถูกหลักอนามัย ในหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่กินปลาดิบ และประกวดเมนูอาหารปรุงสุกจากปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด
๗.ให้สุขศึกษาในทุกรูปแบบทั้งแจกแผ่นพับให้ความรู้ ให้ความรู้ทางหอกระจายข่าว และติดป้ายรณรงค์หมู่บ้านไม่กินปลาดิบในหมู่บ้านต้นแบบ โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|