ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : วาสนา ศิริรักษ์ และนงลักษณ์ สุริโย ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของชุมชน พบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องโรคเรื้อรัง มีผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะเกิดภาวะทุพพลภาพตามมา ทำให้เกิดปัญหาด้านสังคม จิตใจและร่างกายของผู้ป่วยและผู้ดูแลโดยตรง อาจทำให้ไม่สามารถไปรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญา ได้ไม่สะดวก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธัญญาร่วมกับทีมหมอครอบครัวตำบลธัญญา จึงได้จัดบริการดูแลสุขภาพต่อเนื่องที่บ้าน (Home Health Care) เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพที่ต้องดูแลต่อเนื่องเพื่อให้เข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง ทีมเยี่ยมบ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนโคก จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียงและเพื่อพัฒนาภาคีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุ ญาติและครอบครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนและครอบครัวรวมทั้งภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่องและสามารถดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ชุมชนและครอบครัวรวมทั้งภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน 2. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่องและสามารถดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 61 ราย  
เครื่องมือ : - แบบคัดกรองเพื่อจำแนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ(ADL) - แบบประเมินผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลระยะยาว  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพตำบล เพื่อกำหนดวาระตำบล ๒. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวตำบลธัญญา 2. สำรวจประเมินคัดกรอง จัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุ เพื่อค้นหาสถานการณ์ปัญหาผู้สูงอายุในพื้นที่โดยทีมดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ระดับตำบล 3. คืนข้อมูลและจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุในระดับตำบล 4. กำหนดรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวตำบลธัญญา โดยยึดตามมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ๓ กลุ่ม คือ ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม ๔.๑ วิเคราะห์ศักยภาพและความเป็นไปได้ ในการออกแบบที่เหมาะสมกับบริบท 4.2 จัดทำแผนการดูแลรายบุคค 4.3 จัดประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาปัญญาหารายกรณี 5. พัฒนาศักยภาพทีม FCT เพื่อจัดบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ๕.1 อบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (care Giver) ๖. เชื่อมประสานงานองค์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ๗. ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๘.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ๗.ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ๗.๑ ประเมินความครอบคลุมการได้รับการดูแลตามความจำเป็นในกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง  
     
ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่า หลังการดำเนินการออกติดตามเยี่ยม ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และติดเตียง มีพัฒนาการด้านความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำดีขึ้น ผู้สูงอายุกลุ่ม 3 ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องพึ่งพาคนอื่นลดลง จากร้อยละ 0.45 เป็นร้อยละ 0.34 และผลการเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง กับกลุ่มติดสังคม พบว่า ลดลงจากร้อยละ 3.50 เป็นร้อยละ 3.39 จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ความสำเร็จของการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long term Care) คือการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือจากญาติ อสม. จิตอาสาในชุมชน รวมทั้งทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนงบประมาณมาโดยตลอด ทำให้การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุเกิดความต่อเนื่อง และสามารถนำไปสู่การดำเนินงานที่มีความยั่งยืนต่อไป  
ข้อเสนอแนะ : 1.มีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแล ( care manager , care giver ) อย่างต่อเนื่อง 2.พัฒนาการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่ายในชุมชน ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)