ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : จัดทำรายงาน
   บทความ/วิจัย เรื่อง : รูปแบบการพัฒนาตำบลจัดการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : วาสนา ศิริรักษ์ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : จากการดำเนินงานการขับเคลื่อนตำบลจัดการสุขภาพ ตำบลธัญญา หนึ่งในวาระตำบลมีการแก้ปัญหาโรคใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2557 โดยได้เริ่มดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี จากการคัดกรอง ประชาชนผู้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี โดยจะคัดกรองในกลุ่มประชาชน กลุ่มอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป ทุกคน จำนวน 450 คน ในเขตบ้านสะอาดสมศรี โดยใช้แบบสอบถามด้วยวาจา คือ “แบบคัดกรองโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในโครงการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Cholangiocarcinoma careening and care program (CAPCAS) ซึ่งสามารถทราบถึงสถานการณ์กลุ่มเสี่ยง เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการคัดกรอง โดย อสม. และบันทึกข้อมูลในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ทุกแห่ง ในโปรแกรม มีการวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยาเพื่อใช้ในการวางแผน ด้านการสาธารณสุข เพื่อลดอัตราความชุก และอัตราตายของโรคมะเร็งท่อน้ำดีในระยะยาวต่อไป พบว่า ในการคัดกรองในครั้งนี้ มีกลุ่มเสี่ยงจำนวน 450 คน คิดเป็น ร้อยละ 73.0 ประกอบกับสภาพปัญหาในพื้นที่ ประชาชนส่วนใหญ่ยังนิยมบริโภคก้อยปลาดิบ เนื่องจากในพื้นที่ มีแหล่งน้ำคือกุดวังซอ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศที่ทำให้ปลาชุกชุมจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นแหล่งโรคของพยาธิใบไม้ในตับ และในส่วนของพื้นที่เองขาดการการรณรงค์ป้องการโรคพยาธิใบไม้ในตับ มาหลายปี ในปี 2558 กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลธัญญา ได้มีกิจกรรม สมัครใจโดยใช้หลักการร่วมจ่าย (Co-paying) กองทุนจ่าย 40 บาท ผู้สมัคใจ 30 บาท รวม 70 บาท เพื่อตรวจอุจจาระโดยรพ.ศรีณครินทร์ วิธี MFECT ผลดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ในชุมชน บ้านสะอาดสมศรี ตำบลธัญญา ได้มีผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 195 ตัวอย่าง พบไข่พยาธิใบไม้ตับจำนวน 145 ตัวอย่าง คิดเป็นอัตราการติดพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 74.35 เป็นอัตราการติดเชื้อที่สูงที่สุดในจังหวัดและประเทศ ซึ่งเป็นอัตราการพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ที่น่าตกใจ ทำให้อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้นำ หลักการวิเคราะห์ปัญหา การเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรค จึงนำข้อมูลปรึกษาหารือคณะกรรมการระดับตำบล และหมู่บ้าน เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน และประกอบกับคณะกรรมการตำบลได้มีภาคีเครือข่ายภายนอก คือมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นการสร้างกระแสการแก้ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในปี 2559 ชุมชน บ้านสะอาดสมศรี ตำบลธัญญา จึงได้ดำเนินการ ตรวจซ้ำ ในกลุ่มที่พบไข่ เก็บได้ 71 ตัวอย่าง พบไข่พยาธิใบไม้ตับจำนวน 10 ตัวอย่าง คิดเป็นอัตราการติดพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 14.08 ซึ่งยังเป็นอัตราการพบไข่พยาธิ ในกลุ่มที่เดิมที่ได้รับการดูแล ตามระบบ ในปี ¬2559 ตำบลธัญญา จึงได้ดำเนินกิจกรรม ตำบลต้นแบบกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ได้เข้าร่วมโครงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์รมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปีในพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตามยุทธศาสตร์ทศวรรษการกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559-2568 ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้บริหารโรงเรียน อสม. หาแนวทางการดำเนินงานและทำข้อตกลงเรื่องการกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี กำหนดจุดหมายปลายทาง “กุดวังซอโมเดล” ปี 2565 ชาวบ้านสะอาดฯจะลดการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับลงน้อยกว่าร้อยละ 5 โดยยึดหลักแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “กำจัดพยาธิใบไม้ตับ ลดมะเร็งท่อน้ำดี วาระคนอีสาน” ในการดำเนินงานในครั้งนี้ ทุกพื้นที่มีการบริหารจัดการ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ส่วนในชุมชนบ้านสะอาด ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดส่วนร่วมในการดำเนินงาน ควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี จึงเกิดนวัตกรรม “กุดวังซอโมเดล” ขึ้น  
วัตถุประสงค์ : 1. สร้างนวัตกรรม “กุดวังซอโมเดล”เพื่อแก้ไข้ปัญหาโรคใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในเขตชุมชนบ้านสะอาด ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสยจังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี 3. เพื่อลดอัตราความชุกโรคพยาธิใบไม้ตับ  
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนบ้านสะอาดสมศรีหมู่ 5และหมู่15 ตำบลธัญญา อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ จำนวน 602 คน  
เครื่องมือ : -แบบสำรวจประเมินพฤติกรรมสุขภาพด้วยวาจา( Verbral screening)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1.ประชุมคณะกรรมการการดำเนินงานเพื่อเตรียมการทำงานและประกาศวาระตำบล 2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรม 3.ประชาสัมพันธ์โครงการให้ความรู้ ทัศนคติ และแนวทางการปฏิบัติในการบริโภคปลาดิบ และการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคมะเร็งตับ และมะเร็งท่อน้ำดี 4. สำรวจประชาชนที่จะส่งตรวจอุจจาระ 5.ประกาศวาระตำบลและประกาศเจตนารมณ์จะลดละเลิกการบริโภคปลาดิบ 6.จัดเสวนาเวทีชาวบ้านต้านพยาธิใบไม้ตับ รับฟังข้อคิดเห็นในการควบคุมป้องกัน การติดพยาธิใบไม้ตับจากทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมประชุม ๗.เก็บอุจจาระส่งตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๘. อบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งตับ/มะเร็งท่อน้ำดี แก่กลุ่มที่ตรวจพยาธิใบไม้ตับ ๙. อบรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ ๑๐. สรุป ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงาน  
     
ผลการศึกษา : ก่อนเกิดนวัตกรรม “กุดวังซอโมเดล” ในชุมชน ประชาชนในชุมชน ยังมีพฤติกรรมในการกินปลาดิบ และ อัตราการตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ในกลุ่มตรวจซ้ำ ในอัตราที่สูง 1.ได้มีลงนามความร่วมจากภาคี เครือข่าย อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน อบต.และ คุณครูอนามัยโรงเรียน ครู ศพด.นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาสุขภาพตำบลธัญญา (THS) ในวันที่ 21 สิงหาคม 2558 เพื่อหาแนวทางร่วมกัน ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และการศึกษาดูงานในพื้นที่ต้นแบบ การแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ละว้าโมเดล อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ได้พบเครือข่ายในการพัฒนางานโรคพยาธิคือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2.จัดทำแผนงานโครงการ ขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน “Co paying & Co prevention OV CHCA ร่วมจ่าย ร่วมป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” ผลการตรวจอุจาระพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ปี 2558 เขตบ้านสะอาดสมศรี ตรวจอุจจาระ 195 คน พบติพยาธิใบไม้ตับ 145 คน ร้อยละ 74.35 และเนื่องจากอัตราการพบพยาธิใบไม้ตับสูงมากและใน ปี 2559 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการนำของ ศ.ดร.บรรจบ ศรีภา จึงนำงานวิจัยลงพื้นที่บ้านสะอาดสมศรี ตำบลธัญญา 3. ดำเนินการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปี ขึ้นไป ใน ปี 2557 จำนวน 161 ราย มีพฤติกรรมเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับ จำนวน 114 ราย ร้อยละ 70.81 แล้วบ้านสะอาดสมศรี หมู่ที่ 5 ใน ปี 2558 ได้ตรวจอุจจาระ 59 คน พบติพยาธิใบไม้ตับ 34 คน ร้อยละ 64.41 ส่งต่อโรงพยาบาลกมลาไสยเพื่ออัลตร้าซาวด์และรักษาผู้ติดไข่พยาธิ จำนวน 34 ราย และได้รับการดูแลต่อเนื่อง จำนวน 8 ราย ตารางแสดงผลการดำเนินงาน ผลการตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับ บ้านสะอาดสมศรี ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย กิจกรรม ปี พ.ศ 2558 ปี พ.ศ 2559 ปี พ.ศ 2560 จำนวนประชากรที่ตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับ 195 71 314 พบไข่พยาธิใบไม้ตับ 145 10 105 คิดเป็นร้อยละ 74.35 14.08 33.43  
ข้อเสนอแนะ : การทำงานเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติมองเป้าหมายแห่งความสำเร็จร่วมกันของภาคีเครือข่ายในพื้นที่แสวงหาความร่วมมือทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ มีการวางแผนการทำงาน ร่วมลงมือปฏิบัติตามแผนงาน บูรณาการงบประมาณจากทุกภาคส่วน  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)