|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : R2R |
สถานะ : จัดทำโครงร่าง |
บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุ แบบมีส่วนร่วมของลูกหลานในครัวเรือนด้วยระบบ UCCARE คปสอ.สามชัย ปี ๒๕๖๐ |
ผู้แต่ง : |
วัชราภรณ์ ยุระตา |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ระบุว่า ประเทศไทยได้ก้าวสู่การเป็นประเทศสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยมีจำนวนประชากรสูงอายุ ประมาณ ๙.๗ ล้านคนเศษหรือประมาณร้อยละ ๑๕.๐๔ ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ อันเนื่องจากอายุขัยเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้น อัตราตายลดลง ผลตามของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุข สำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังระบุอีกว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของประชากรของผู้สูงอายุที่ ๖๐ ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยในปี ๒๕๓๗ มีผู้สูงอายุ ๔.๐ ล้านคน ร้อยละ ๖.๘ ของประชากรปี ๒๕๕๐ มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น ๗ ล้านคนหรือร้อยละ ๑๐.๗ ของประชากรปี ๒๕๕๓ มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น ๗.๕ ล้านคนหรือร้อยละ ๑๑.๗ ของประชากร เมื่อแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น ๓ กลุ่มตามช่วงวัย พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ ๕๘.๘ เป็นผู้สูงอายุวัยต้น(๖๐-๖๙ปี) หนึ่งในสามหรือร้อยละ ๓๑.๗ เป็นผู้สูงอายุวัยกลาง(๗๐-๗๙ปี)และร้อยละ ๙.๕ เป็นผู้สูงอายุวัยปลาย(๘๐ ปีขึ้นไป) แต่ในอีก ๒๐ ปีต่อจากนี้ไปประเทศไทยเต็มไปด้วยประชากรผู้สูงอายุอย่างแท้จริง ในขณะที่การชราภาพเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ภาวการณ์เจ็บป่วยเรื้อรังที่ก่อให้เกิดทุพพลภาพสามารถป้องกันหรือชะลอให้เกิดขึ้นช้าลงได้ด้วยมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนมาตรการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้มีข้อมูลสภาวะทุพพลภาพผู้สูงอายุไทยรายงานว่าทุก๑ใน๔ ทุพพลภาพ ทุก ๑ใน ๔ ทุพพลภาพระยะยาวมากกว่า ๖ เดือน ร้อยละ ๗ พึ่งพาผู้อื่นเมื่อปฏิบัติกิจส่วนตัว ร้อยละ ๑๑.๕ พึ่งพาผู้อื่นเมื่อออกนอกบ้าน ร้อยละ ๔๕ พึ่งพาผู้อื่นเมื่อใช้ในการขนส่ง ร้อยละ ๒๘ ของเตียงผู้ป่วยคือผู้สูงอายุ
จากข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า ในปี ๒๕๕๓ จังหวัดกาฬสินธุ์มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด ๑๐๖,๖๒๘ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๐.๙๘ ในปี ๒๕๕๔ มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด ๑๑๑,๔๒๖ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๑.๔๓ ปี ๒๕๕๕ ประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด ๑๑๖,๓๓๐ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๑.๘๑ ในปี ๒๕๕๖ มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด ๑๒๗,๖๑๘ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๓.๐๐ จะเห็นได้ว่าจังหวัดกาฬสินธุ์ได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุมาแล้วสอดคล้องกับข้อมูลประชากรผู้สูงอายุระดับประเทศ และคาดว่าประชากรผู้สูงอายุในปี ๒๕๕๘ จะมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการในการใช้บริการทางสุขภาพที่เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการถดถอยของสมรรถภาพทางร่างกายร่วมกับภาวะเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ทำให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นและมีความต้องการใช้บริการด้านสุขภาพมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอายุอื่นๆ นอกจากนี้ผลจากความเจ็บป่วยยังทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้นอีกด้วยจากการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน จ.กาฬสินธุ์ ในปี ๒๕๕๕ พบว่า มีผู้สูงอายุประเภทติดสังคม ร้อยละ ๘๕ ประเภทติดบ้านร้อยละ ๑๓ และประเภทติดเตียง ร้อยละ ๒ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ได้พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยบูรณาการร่วมกับภาคีต่างๆเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์ สาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยจังหวัดกาฬสินธุ์ ในการดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ให้การสนับสนุนกองทุนฟื้นฟูสุขภาพ ศูนย์โฮมสุข ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาตำบลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ครอบคลุม ๑๘ อำเภอ โดยมีผลการพัฒนาและได้รับการประเมิน รับรองโดยทีมประเมิน ปี ๒๕๕๗ จำนวน ๔๘ ตำบล คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๕๖ โดยมีคลินิกให้บริการผู้สูงอายุเชื่อมโยงจากสถานบริการสู่ชุมชน จำนวน ๑๔ แห่ง มีตำบลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน มีการยกระดับพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ผู้สูงอายุจำนวน ๓ แห่ง ซึ่งมีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์กระทรวงสาธารณสุข
“ ภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน”โดยกำหนดผลกระทบระดับชาติ ๑๐ ปีไว้คือ ๑. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อยกว่า ๘๐ ปี และ ๒. อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า ๗๒ ปี แต่การดำเนินงานที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่เข้าถึงบริการเป็นกลุ่มที่ ๑ ติดสังคม มากกว่ากลุ่มติดบ้านและติดเตียงยังไม่สามารถทำให้ผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิงเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มวัยสูงอายุกลุ่มที่ต้องการการพึ่งพิงให้เข้าถึงบริการมากขึ้น ประกอบกับการมีนโยบายกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพ care giver
อำเภอสามชัย ในปี ๒๕๕๖ มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด ๒,๗๑๑ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๐.๑๔ ปี ๒๕๕๗ มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด ๒,๘๒๙ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๑.๐๓ ปี ๒๕๕๘ มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด ๒,๙๗๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๖๔ และในปี ๒๕๕๙ มีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด ๓,๑๓๘ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๒.๓๖ จะเห็นได้ว่าอำเภอสามชัย ได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุมาแล้วสอดคล้องกับข้อมูลประชากรผู้สูงอายุระดับจังหวัดและระดับประเทศ และคาดว่าประชากรผู้สูงอายุในปี ๒๕๖๐ จะมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการในการใช้บริการทางสุขภาพที่เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการถดถอยของสมรรถภาพทางร่างกายร่วมกับภาวะเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ทำให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นและมีความต้องการใช้บริการด้านสุขภาพมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอายุอื่นๆ นอกจากนี้ผลจากความเจ็บป่วยยังทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้นอีกด้วย จากการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน จ.กาฬสินธุ์ ในปี ๒๕๕๙ พบว่า มีผู้สูงอายุประเภทติดสังคม ร้อยละ ๙๑ ประเภทติดบ้านร้อยละ ๘ และประเภทติดเตียง ร้อยละ ๑ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามชัย ได้พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยบูรณาการร่วมกับภาคีต่างๆเช่น องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์ ในการดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ให้การสนับสนุนกองทุนฟื้นฟูสุขภาพ ศูนย์โฮมสุข ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาตำบลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จำนวน ๑ ตำบล ได้แก่ตำบลคำสร้างเที่ยง และในขณะนี้มีตำบลอยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นตำบลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน จำนวน ๓ ตำบล ซึ่งมีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์กระทรวงสาธารณสุข “ ภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน”โดยกำหนดผลกระทบระดับชาติ ๑๐ ปีไว้คือ ๑. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ไม่น้อยกว่า ๘๐ ปี และ ๒. อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีไม่น้อยกว่า ๗๒ ปี แต่การดำเนินงานที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่เข้าถึงบริการเป็นกลุ่มที่ ๑ ติดสังคม มากกว่ากลุ่มติดบ้านและติดเตียง ยังไม่สามารถทำให้ผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิงเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสาชัย ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มวัยสูงอายุกลุ่มที่ต้องการการพึ่งพิงให้เข้าถึงบริการมากขึ้น ประกอบกับการมีนโยบายกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพ care giver
เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุดังกล่าวอำภอสามชัย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ มีสุขภาพดี ดูแลตนเองได้และมีคุณภาพที่ดี คปสอ.สามชัย เพื่อเตรียมการรองรับสู่สังคมสูงอายุ โดยบูรณาการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน วัดโรงเรียน เพื่อการดูแลผู้สูงอายุและคนพิการในศูนย์โฮมสุข ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป |
|
วัตถุประสงค์ : |
วัตถุประสงค์ทั่วไป
๑.เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ของ คปสอ.สามชัย
วัตถุประสงค์เฉพาะ
๑.พัฒนาศักยภาพระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยมีส่วนร่วม ครอบครัว ชุมชน อปท.เอกชน และหน่วยบริการของรัฐ
๒.พัฒนาชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ วัดส่งเสริมสุขภาพ
๓.พัฒนาระบบฐานข้อมูลอย่างครอบคลุม
๔.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมและ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
ผู้สูงอายุทุกคน (ผู้ที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป) |
|
เครื่องมือ : |
แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ |
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
๑.ทบทวน บทบาทหน้าที่ โครงสร้าง และแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆผู้รับผิดชอบงาน CM อำเภอ ตำบล
๒.ประชุมทบทวนแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ,จัดทำและนำเสนอแผนงาน/โครงการ แก่คณะทำงานระดับอำเภอและระดับ ตำบล
๓.พัฒนาชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียนผู้สูงอายุ
๔.พัฒนาเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
๕.พัฒนาเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน(ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงประจำครัวเรือน)
๖.พัฒนาฐานข้อมูลระดับอำเภอและมีศูนย์กลางข้อมูล
๗.พัฒนาระบบดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของลูกหลานในครัวเรือน ตำบล LTC นำร่อง
๘.ออกเยี่ยมกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยทีม FCT (Family Care Trem) พร้อมภาคีเครือข่าย อผส., อผส.น้อย, Care manager, Care giver
๙.ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโดยคณะกรรมการ ระดับอำเภอ
๑๐.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ
๑๑.สรุปผลงานวิชาการและนวัตกรรมฉบับสมบรูณ์และนำเสนอผลงานวิชาการ |
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
|
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ไม่มีเอกสารแนบ
|
|
|
|
|