ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic shock ในโรงพยาบาลห้วยผึ้ง
ผู้แต่ง : ดวงพร วิชัยโย 1460500033425 ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : : จากสถิติการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2557-2559) พบผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ ปี 2557,2558 และ 2559 มี 7 ราย, 9 ราย และ 25 ราย ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยงพบมากในผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มเบาหวาน และกลุ่มไตวายเรื้อรัง ซึ่งส่วนใหญ่จะมาด้วย ภาวะปอดอักเสบ (Pneumonia), ภาวะติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI) , ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร (AGE) ตามลำดับพบ การส่งผู้ป่วย Septic shock ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลจังหวัด ตั้งแต่ปี 2557-2559 จำนวน 2 ราย, 3 ราย, 7 รายตามลำดับ จากการทบทวนเวชระเบียนพบปัญหาการรักษาที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรักษา ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาล่าช้า การประเมินและเฝ้าระวังติดตามดูแลยังไม่เหมาะสม ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากบุคลากรขาดความรู้และทักษะ รวมทั้งการสื่อสารแนวทางปฏิบัติ CPG sepsis ที่ทีมนำด้านการดูแลผู้ป่วยกำหนด ยังไม่ถึงผู้ปฏิบัติอย่างแท้จริง ได้พัฒนามาตรฐานการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ Septic shock เริ่มด้วยการรักษาแบบ early goal directed therapy ซึ่งเน้นการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว การให้ยาปฏิชีวนะอย่างครอบคลุมและเหมาะสม การให้สารน้ำที่เหมาะสม ทันท่วงทีก่อนเกิดภาวะ multiple organ dysfunction และท้ายที่สุดคือ การประคับประคองระบบ hemodynamic ให้คงที่อย่างรวดเร็วภายใน 6 ชม. โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพของผู้ป่วย  
วัตถุประสงค์ : 1. ลดอัตราการเสียชีวิตจาก Severe Sepsis และ Septic shock 2. ผู้ป่วยวินิจฉัย Severe Sepsis และ Septic shock ได้รับการรักษาทันเวลา  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. ผู้ป่วยวินิจฉัย Severe Sepsis และ Septic shock 2. ทีม PCT  
เครื่องมือ :  
ขั้นตอนการดำเนินการ : 1. สร้างทีมและทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่รับการวินิจฉัย Sepsis/Septic shock 2. ส่งบุคลากรโรงพยาบาลเข้าร่วมทีม Service plan ของจังหวัดในการดูแลผู้ป่วย Sepsis 3. จัดทำแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย 4. พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการ โดยเพิ่มศักยภาพของบุคลากร ในการคัดกรอง (Triage) ผู้ป่วย Sepsis เบื้องต้น 5. นำ SIR score มาใช้ในการประเมินผู้ป่วยที่สงสัยมีภาวะ Sepsis 6. กำหนดระยะเวลารอผล Lab เพื่อการวินิจฉัย Sepsis ในการส่งตรวจ investigate ที่เหมาะสมและหาสาเหตุได้ทันเวลาตามแนวทางที่กำหนดภายใน 20 นาที 7. กำหนดระยะเวลาในการได้รับยา IV ATB ภายใน 1 ชั่วโมง หลังแพทย์วินิจฉัย 8. มีระบบการเฝ้าระวังและติดตามอาการผู้ป่วย Sepsis โดยใช้ Mews score ในการประเมินทุก 1-2 ชั่วโมงและป้องกันการเกิดภาวะ Severe sepsis /Septic shock ให้เร็วขึ้นเพื่อให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมและทันเวลา 9. พัฒนา Care map ทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย Sepsis 10. เน้นบุคลากรปฏิบัติตามแนวทาง IC เพื่อป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลต่อเนื่อง 11. มีการทบทวน case การดูแลผู้ป่วย Sepsis ทุกรายร่วมกับ ทีมสหวิชาชีพ ทุก 3 เดือน 12. นำเสนอข้อมูลที่พบปัญหาให้เจ้าหน้าที่ทุกคนในหน่วยงานได้รับทราบ และหาแนวทางการแก้ไขปัญหา  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง