ประเภทบทความ/งานวิจัย : CQI สถานะ : จัดทำโครงร่าง
   บทความ/วิจัย เรื่อง : การพัฒนาแบบฟอร์ม OPD card เพื่อให้มีข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบที่ครบถ้วน สามารถตรวจตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้องและสมบูรณ์ได้
ผู้แต่ง : นิรัตน์ โมลาขาว 3460500291820 ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : การปฏิบัติงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ระบบข้อมูลข่าวสาร/ระบบสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการนำข้อมูลข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการกับองค์กร ข้อมูลที่ดีต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็วทันต่อเวลาและมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งข้อมูลที่จะได้ต้องได้รับความร่วมมือ ความเข้าใจ ประสบการณ์ตลอดจนทักษะที่ดีของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่จะจัดการ รวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์มากที่สุด กลุ่มงานหลักประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ ร่วมกับคณะกรรมการเวชระเบียน เล็งเห็นความสำคัญในการจัดบันทึกข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลที่ถูกบันทึกออกมาใช้ในรูป OPD card เพื่อความสะดวกในการดูประวัติการให้บริการโดยรวม รวมถึงใช้ตรวจสอบความครบถ้วน สมบูรณ์ของการบันทึกข้อมูลผู้รับบริการ จากการปฏิบัติงานพบว่าข้อมูลที่บันทึกที่สำคัญบางส่วนยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์และข้อมูลบางส่วนขาดการบันทึกที่ครบถ้วนสมบูรณ์ จากปัญหาข้างต้นกลุ่มงานหลักประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ ร่วมกับคณะกรรมการเวชระเบียนโรงพยาบาลห้วยผึ้ง จึงได้จัดทำกิจกรรมการพัฒนาปรับปรุงแบบฟอร์ม OPD card เพื่อให้ได้มาตรฐานสำหรับการตรวจสอบเวชระเบียนและสามารถใช้โยชน์จากเวชระเบียนที่ถูกต้อง ครบถ้วน อย่างคุ้มค่า ต่อไป  
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อปรับปรุงแบบฟอร์มOPD card ให้มีข้อมูลครบถ้วน สมบูรณ์ 2. เพื่อใช้ในการตรวจสอบเวชระเบียน  
กลุ่มเป้าหมาย : 1. เวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่มารับบริการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 เป็นต้นไป 2. ผลการตรวจสอบเวชระเบียนผู้ป่วยนอกได้มากกว่า 80  
เครื่องมือ : แบบประเมินมาตรฐานเวชระเบียนผู้ป่วยนอก  
ขั้นตอนการดำเนินการ : การดำเนินการ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์และวางแผน (Plan) • ทบทวนจากการตรวจสอบเวชระเบียน วิเคราะห์พบว่า 1. ข้อมูลใน OPD card ยังไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ ตามมาตรฐานเวชระเบียน ทั้งที่มีการบันทึกแล้วแต่ไม่ได้นำมาใช้/แสดง ใน OPD card 2. ผลการตรวจสอบเวชระเบียนผู้ป่วยนอกไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 3. ตรวจสอบความครบถ้วนการบันทึกของเจ้าหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ • วางแผนการทำงาน 1. ประชุมทำความเข้าใจถึงสภาพปัญหา แผนงาน ที่จะดำเนินการ 2. ทบทวนข้อมูลเวชระเบียนที่มีการตรวจสอบเวชระเบียนเทียบกับข้อมูลที่มีใน OPD card ที่แสดง 3. ปรับปรุงแบบฟอร์มOPD card ให้มีข้อมูลในการตรวจสอบครบถ้วน 4. ตรวจสอบเวชระเบียนเบื้องต้น โดยคณะกรรมการตรวจสอบเวชระเบียนโรงพยาบาล 5. ปรับปรุงแบบฟอร์มOPD card เพิ่มเติมในส่วนที่ยังขาดจากการตรวจสอบเบื้องต้น 6. ประเมินผลจากการตรวจสอบเวชระเบียน สปสช. 7. ปรับปรุงส่วนขาดจากการตรวจสอบเวชระเบียน สปสช. ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติงานตามแผน (DO) ปฏิบัติงานตามแผนการทำงานที่ได้วางไว้ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผล (Check) 1. ความสมบูรณ์ ครบถ้วน ของข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยนอก 2. การตรวจสอบเวชระเบียนผู้ป่วยนอก และ ปรับปรุงแบบฟอร์มOPD card เพิ่มเติมในส่วนที่ยังขาดจากการตรวจสอบเบื้อง 3. การตรวจสอบเวชระเบียน สปสช. • เกณฑ์การประเมินผล 1. ผลการตรวจสอบเวชระเบียนผู้ป่วยนอกได้มากกว่า 80 ขั้นตอนที่ 4 สะท้อนผลการปฏิบัติ (Act) สรุปผลการดำเนินงานทุก 3 เดือน เพื่อพัฒนาระบบการทำงานให้ดีขึ้น  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)