|
ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย |
สถานะ : จัดทำรายงาน |
บทความ/วิจัย เรื่อง : ตำบลต้นแบบ การจัดการโรคพยาธิใบไม้ตับ ลดมะเร็งท่อน้ำดี “เจ้าท่าโมเดล” |
ผู้แต่ง : |
ประยัติ ศิริรักษ์ |
ปี : 2560 |
|
|
|
หลักการและเหตุผล : |
โรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 – 2557 และอัตราตายจากมะเร็งตับและท่อน้ำดี ปี 2557 คิดเป็น 50.9ต่อประชากรแสนคน โดยมีการพิสูจน์ชัดแล้วว่าการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งท่อน้ำดี และสามารถป้องกันได้โดยการไม่รับประทานปลาดิบจากแหล่งระบาด จากการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับใน ปี 2557 พบว่าจังหวัดกาฬสินธุ์มีอัตราความชุกโรคพยาธิใบไม้ตับร้อยละ 27.4 สูงเป็นอันดับ 1 ของพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 7 กาฬสินธุ์ ขอนแก่นพบร้อยละ 14.2 ร้อยเอ็ด พบ ร้อยละ11.8 มหาสารคาม พบ ร้อยละ11.6 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ท่าเพลิง ปี 2558 มีการตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 35.78 ซึ่งอัตราตรวจพบสูงกว่าค่าเฉลี่ของจังหวัด จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น รพ.สต.ท่าเพลิงร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เจ้าท่า จึงได้หารูปแบบการพัฒนาตำบลจัดการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยใช้แนวคิดทฤษฏีวงล้อเดมมิ่ง |
|
วัตถุประสงค์ : |
ศึกษารูปแบบการพัฒนาตำบลจัดการลดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี |
|
กลุ่มเป้าหมาย : |
1. ประชาชนพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าเพลิง ตำบลเจ้าท่า 8 หมู่บ้าน
2. โรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าเพลิง 2 โรงเรียน
|
|
เครื่องมือ : |
- แบบสำรวจประเมินพฤติกรรมสุขภาพการกินปลาดิบรายวัน
- แบบสำรวจประเมินพฤติกรรมสุขภาพด้วยวาจา ( Verbral screening)
|
|
ขั้นตอนการดำเนินการ : |
1. ประชุมคณะกรรมการการดำเนินงาน
2. ประกาศวาระตำบลเจ้าท่า โมเดล
3. ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรม (ผู้ที่ตรวจพบพยาธิใบไม้ตับปี 2558-2559)
4.สร้างองค์คามรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนทัศนะคติ แก่คณะกรรมการควบคุมโรคพยาธิ์ใบไม้ตับและมะเร็ง
ท่อน้ำดีในระดับตำบลและหมู่บ้านทัศนคติ และแนวทางการปฏิบัติในการบริโภคปลาดิบ และการป้องกันแก้ไข
ปัญหาโรคมะเร็งตับ และมะเร็งท่อน้ำดี
5.แกนนำในหมู่บ้านที่ผ่านการอบรม ให้ความรู้ ติดโปสเตอร์ ทุกครัวเรือน
6. ตรวจอุจจาระซ้ำ ผู้ที่ตรวจพบพยาธิใบไม้ตับปี 2558-2559 ผู้ที่ตรวจพบและยังมีความเสี่ยงสูง จะให้อบรมผู้ดูแล (คนในครัวเรือนเดียวกัน) สำหรับการตรวจอาหารทุกวัน
7.สร้างเป็นกติกาชุมชน มีงานบุญหรืองานศพ นอกจากปลอดเหล้าปลอดการพนันยังปลอดปลาดิบ โดยทีมกลุ่มแม่บ้าน
8. สรุป ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงาน
|
|
|
|
|
ผลการศึกษา : |
มีกติกาชุมชนใน 8 หมู่บ้าน 2 โรงเรียน และมีวาระตำบลเป็นตำบลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคพยาธิใบไม้ตับมะเร็งท่อน้ำดี ประชาชนได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยตัวแทนจากทุกครัวเรือน ๘๙๐ คน คิดเป็น ร้อยละ ๑๐๐ อสม.ออกให้ความรู้ Empowerment ประชาชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายครอบครัว และติดป้ายให้ความรู้รายครัวเรือน 890 ครัวเรือน คัดกรองด้วยวาจาพบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 50.2 ตรวจพบพยาธิใบไม้ตับในอุจจาระละลงจาก 35.8 เป็น 7.7 ในปี 2560 ส่งเข้ารับการตรวจอุลตร้าซาวน์ 206 คน พบ พังผืดระดับ1ร้อยละ 5.3 พังผืดระดับ 2 ร้อยละ 8.7 พังผืดระดับ3 ร้อยละ 3.9 ไขมันเกาะตับ ร้อยละ 13.6 นิ่วร้อยละ 3.9 ไตบวมน้ำ ร้อยละ 0.5 ทั้งหมดได้รับการรักษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก มหาวิทมยาลัยขอนแก่น พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคลในกลุ่มเสี่ยง พัฒนากลุ่มแม่บ้านที่ประกอบปรุงอาหารในหมู่บ้าน/งานบุญงานประเพณีในหมู่บ้าน และมีกฎกติกาในหมู่บ้าน งานศพและงานบุญประเพณีปลอดเหล้าและปลาดิบ งานศพในหมู่บ้านปี 2559 จำนวน 70 งาน ปี 2560 จำนวน 46 งาน มีหลักสูตรและกิจกรรมการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในนักเรียนระดับประถมศึกษาด้านการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี จำนวน 2 โรงเรียน เวทีถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพพยาธิใบไม้ตับมะเร็งท่อน้ำดี การติดตามการทำงานแบบบูรณาการ ของ DHS และ โดยทีม (Tumbol health system : THS )
|
|
ข้อเสนอแนะ : |
ข้อเสนอแนะ การทำงานเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติมองเป้าหมายแห่งความสำเร็จร่วมกันของภาคีเครือข่ายในพื้นที่แสวงหาความร่วมมือทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ มีการวางแผนการทำงาน ร่วมลงมือปฏิบัติตามแผนงาน บูรณาการงบประมาณจากทุกภาคส่วน |
|
|
|
|
รางวัลที่ได้รับ : |
ยังไม่ได้รับรางวัล |
|
|
|
|
|
ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)
|
|
|
|
|