ประเภทบทความ/งานวิจัย : วิจัย สถานะ : วิเคราะห์ข้อมูล
   บทความ/วิจัย เรื่อง : ความสัมพันธ์ระหว่างการเล่น Play Card และการดื่มน้ำในกระติกร่วมกันต่อการเป็นแผลที่มุมปากของนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ในตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : เอกชัย ภูผาใจ , ดาวรุ่ง ฆารโสภณ ปี : 2560
     
หลักการและเหตุผล : รับแจ้งจากครูโรงเรียนระดับประถมศึกษาว่ามีนักเรียนเป็นปากเปื่อยจำนวน 40 คน จึงได้ออกสอบสวนโรค พบว่ามีนักเรียนชั้นประถมศึกษาตั้งแต่ปีที่ 1-6 จำนวน 54 คน ที่มีอาการดังกล่าว จากการตรวจร่างกายเบื้องต้นพบว่านักเรียนเป็นแผลที่มุมปากจริง ไม่มีไข้ และไม่มีตุ่มในปาก จึงให้การรักษาด้วยยาวิตามินบีรวมและให้การวินิจฉัยในเบื้องต้นว่าเป็น โรคปากนกกระจอก จึงได้ไปศึกษาเพิ่มเติมโดยการทบทวนความรู้จากตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องในเรื่องโรคปากนกกระจอกและการเกิดแผลที่มุมปากเพื่อหาสาเหตุการเกิดโรคที่น่าจะเป็นต่อไป จากการทบทวนความรู้พบว่าสาเหตุการเกิดโรคปากนกกระจอกมีได้หลายสาเหตุ ได้แก่ การขาดสารอาหาร ขาดวิตามินบี 2 การขาดธาตุเหล็ก ริมฝีปากแห้ง น้ำลายออกมากกว่าปกติ การแพ้ยาสีฟัน แพ้อาหาร ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อไวรัส และความเครียด มีอาการคือเป็นแผลเปื่อยที่มุมปาก 1 หรือ 2 ข้าง จึงนำมาสร้างแบบประเมินเพื่อใช้สัมภาษณ์นักเรียนทุกคนในโรงเรียน  
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มน้ำในกระติกร่วมกัน และการเล่น Play Card กับการเป็นแผลที่มุมปากของนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา  
กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 1-6 ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ในตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 169 คน  
เครื่องมือ : 1 แบบสอบสวนโรคมือ เท้า ปาก ของสำนักระบาดวิทยา 2 แบบบันทึกปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่มุมปากของนักเรียน (สร้างเอง)  
ขั้นตอนการดำเนินการ : เป็นการศึกษาระยะสั้นเชิงพรรณนา (Cross-sectional descriptive study) ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows version 20 โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 (p < 0.01) ปัจจัยส่วนบุคคลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความสัมพันธ์ วิเคราะห์ด้วยการทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) รายละเอียด ดังนี้ 1 ทีม SRRT รพ.ยางตลาดออกสอบสวนโรค 2 ทบทวนความรู้โรคปากนกระจอก มือเท้าปาก และปากนกกระจอก 3 ปรึกษากุมารแพทย์ 4 ตรวจสุขภาพกลุ่มเป้าหมายและรักษาโรคเบื้องต้น 5 ให้สุขศึกษาการป้องกันและควบคุมโรค  
     
ผลการศึกษา :  
ข้อเสนอแนะ :  
     
รางวัลที่ได้รับ : ยังไม่ได้รับรางวัล  
     
  ดาวน์โหลด : เอกสารฉบับโครงร่าง